ทองแดง แร่ธาตุมากประโยชน์ มีทั้งคุณและโทษที่ทุกคนควรรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทองแดง แร่ธาตุมากประโยชน์ มีทั้งคุณและโทษที่ทุกคนควรรู้

ทองแดง เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ไม่แพ้ไม่กว่าสารอาหารชนิดอื่นๆ แม้เราจะไม่ค่อยได้พูดถึงสารแร่ธาตุชนิดนี้เท่าใดนัก แต่มันมีหน้าที่หลากหลายที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ เป็นส่วนประกอบในเซลล์ต่างๆ ช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

สัดส่วนของ ทองแดง ร่างกายต้องการแค่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสารอาหารชนิดอื่น ดังนั้น จึงไม่ควรได้รับมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายตามมา แต่กระนั้นการที่เราละลายสารอาหารชนิดนี้ จนเกิดภาวะขาดแคลน ก็มีผลเสียต่อสุขภาพไม่แพ้กัน

ทองแดงคืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ทองแดง หรือ Copper เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในร่างกายราว 70-150 กรัมเท่านั้น พบได้ใน หัวใจ ไต และสมองเป็นหลัก ยังพบได้ที่ม้ามและไขกระดูกบ้างเล็กน้อย มีหน้าที่สำคัญคือช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ มีหน้าที่ช่วยขนส่งธาตุเหล็กเข้าสู่เลือด ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเลือดจาง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า Catalyst ของฮีโมโกลบิน แต่ไม่ได้เป็นส่วนประกอบ เพียงแค่ทำหน้าที่ในการช่วยสร้างให้ฮีโมโกลบินสมบูรณ์แบบ จึงถือว่าเป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ใกล้เคียงกับธาตุเหล็ก อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้นด้วย

ประโยชน์ของ ทองแดง ต่อร่างกาย

  1. เป็นส่วนประบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ หรือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจน เช่น  Ascosbic acid oxidase
  2. เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยไทโรซีเนส มีส่วนช่วยเปลี่ยนให้ไทโรซีนกลายเป็นเมลานิน ซึ่งเป็นสีผมและสีผิวของคน
  3. เป็นส่วนประกอบอยู่ในน้ำย่อยไซโตโคราม ซี ออกซิเดส และน้ำย่อยแคแทเลส ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ช่วยให้เกิดการปล่อยพลังงานออกมาในระดับเซลล์
  4. ช่วยกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเมตาบอลิซึมของธาตุเหล็ก, ทองแดง ที่อยู่ในรูปของเซรูโรพลาสมิน ซึ่งเป็นพลาสมาชนิดหนึ่ง จะเปลี่ยนเป็นธาตุเหล็กเฟอรัส เป็นเหล็กเฟอริค จากนั้นจะรวมตัวกับอะโพทรานส์เฟอริน กลายเป็น "ทรานส์เฟอร์ริน" ซึ่งมีหน้าที่ขนถ่ายธาตุเหล็กในร่างกายให้ถูกนำไปใช้งานในส่วนต่างๆ

แหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุ ทองแดง สูง

แหล่งอาหารที่มี แร่ธาตุทองแดง สูง จะพบได้จากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่ไม่ผ่านการขัดขาว ขนมปังโฮลวีต ผักใบเขียวเข้ม ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา อาหารทะเล ลูกพรุน และธัญพืชชนิดต่างๆ เป็นต้น

โทษของการได้รับ ทองแดง มากเกินไป

ทองแดง เมื่อได้รับมากเกินไปจะกลายเป็นสารพิษ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายขึ้นมาทันที แสดงอาการออกมาเป็นความรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้จากการที่เม็ดเลือดแดงแตกตัว การสะสมในระยะยาวยังไปทำให้ตับทำงานหนักและมีปัญหาตามมา

โทษของการได้รับ ทองแดง น้อยเกินไป

แม้ทองแดงจะเป็นธาตุที่ร่างกายต้องการไม่มากนัก ทว่าภาวะขาดทองแดงสามารถเกิดขึ้นได้ ผลกระทบที่ตามมาจะทำให้การเจริเติบโตของร่างกายช้าลง มีการสลายกระบวนการสร้าเม็ดเลือดขั้นรุนแรง จนเกิดเป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้บางส่วนของเอนไซม์ที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ ก็จะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความผิดปกติ เจ็บป่วยได้ง่ายตามมา

ธาตุทองแดงกับธาตุเหล็ก

ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุทองแดงกับเหล็ก แร่ธาตุสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ร่วมกัน กล่าวคือ การสร้างฮีโมโกลบินจะมีทองแดงเป็นหนึ่งในตัวช่วยสร้าง ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนธาตุเหล็กให้กลายเป็นเลือด เราจึงเห็นได้ว่าสีแดงของเลือดนั้นคือสีของธาตุเหล็ก ดังนั้นเมื่อธาตุเหล็กเป็นส่วนสำคัญของเลือด และการเปลี่ยนเหล็กให้เป็นเลือดจะต้องใช้ธาตุทองแดง การทำหน้าที่ร่วมกันระหว่างแร่ธาตุทั้งสองชนิดนี้จึงขาดกันไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ร่างกายขาดการสร้างฮีโมโกลบิน ตามมาด้วยภาวะเลือดจางนั่นเอง

ทองแดง เป็นธาตุอาหารสำคัญในร่างกาย พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ มีส่วนสำคัญในการผลิตเม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ ทองแดงจะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย กรณีเกิดการขาดสารอาหาร และการบริโภคเกินที่ร่างกายต้องการต่อวัน


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Health Benefits of Copper. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/copper-benefits-4178854)
Why Heavy Metal Is Good for You. Healthline. (https://www.healthline.com/health/heavy-metal-good-for-you-copper)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป