กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Controloc (ตัวยา Pantoprazole)

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

Pantoprazole (controloc) อยู่ในกลุ่มยาที่ชื่อ proton-pump inhibitors (PPIs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร รักษาอาการที่เกี่ยวกับกรดในกระเพาะ เช่น อาการแสบร้อนกลางอกจากโรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ภาวะหลอดอาหารอักเสบหรือภาวะที่กระเพาะอาหารสร้างกรดมากผิดปกติ (Zollinger-Ellison syndrome) และสามารถใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะะรักษาภาวะติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้ เป็นต้น 

มักใช้รักษาอาการเป็นระยะเวลาสั้นๆ 4 - 8 สัปดาห์ หรือหากจำเป็นต้องใช้ระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง แต่โดยปกติแล้วยานี้มักถูกสั่งจ่ายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยานี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อร่างกายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คำเตือนในการใช้ยา pantoprazole(controloc)

  • ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแพนโทพราโซล หรือยาที่มีลักษณะใกล้เคียง เช่น แลนโซพราโซล (Lansoprazole) โอมีพราโซล (Omeprazole) เอสโอมีพราโซล (Esomeprazole) หรือราบีพราโซล (Rabeprazole)
  • ผู้ป่วยโรคตับร้ายแรง
  • ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือโรคกระดูกบาง (Osteopenia) การใช้ยาแพนโทพราโซล อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเปราะแตกของกระดูกในบริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ หรือสะโพกได้ ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยรองรับแน่นอนว่ายาแพนโทพราโซลคือสาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกเปราะแตกหรือไม่ แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ใช้ยาในปริมาณมากๆ หรือระยะเวลายาว รวมถึงผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย
  • ระวังการใช้ยาแพนโทพราโซลในผู้ที่มีภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) เนื่องจากยานี้ทำให้ระดับแมกนีเซียมในกระแสเลือดลดลงมากกว่าปกติ
  • ห้ามใช้ยาแพนโทพราโซลในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนมีบุตรในอนาคต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแพนโทพราโซล
  • ห้ามให้นมเด็กทารกหากมารดากำลังใช้ยาแพนโทพราโซล เนื่องจากยาชนิดนี้อาจปะปนออกมากับน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกได้
  • การใช้ยาแพนโทพราโซล เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ลดลงและทำให้ขาดวิตามินบี 12 ได้
  • ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบทุกครั้ง หากมีการใช้ยาชนิดอื่นๆ ร่วมกับการใช้ยาแพนโทพราโซล โดยเฉพาะยาต่อไปนี้
    • ยาแอมพิซิลลิน(Ampicillin
    • ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole
    • ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) 
    • ยาไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล (Mycophenolate Mofetil) 
    • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือยาคูมาดิน (Coumadin
    • ยาอะทาซานาเวียร์ (Atazanavir) หรือยาเนลฟินาเวียร์ (Nelfinavir) เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือรักษาโรคเอดส์ 
    • ยาที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กอย่าง เฟอรัสฟูมาเรต (Ferrous Fumarate) เฟอรัสซัลเฟต (Ferrous Sulfate) หรือเฟอรัสกลูโคเนต (Ferrrous Gluconate)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา pantoprazole(controloc)

ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้

และควรมาพบแพทย์ทันทีหากมีอาการระดับรุนแรง ต่อไปนี้

  • เกิดภาวะพร่องแมกนีเซียมในเลือด อาจแสดงอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหดตัวเรื้อรัง หรืออาการชัก (Seizures)
  • อาการท้องร่วง (Clostridium Difficile-Associated Diarrhea) ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง หากพบว่าอาการท้องเสียยังไม่หายไป ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดบริเวณท้องหรือกระเพาะอาหาร มีไข้ และมีเลือดหรือมูกในอุจจาระ ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที
  • ปวดกระดูก หรือ กล้ามเนื้อ
  • เกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 อาจแสดงอาการ เช่น อาการเจ็บปวดที่ลิ้น รู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ รวมทั้งรู้สึกชาหรือเป็นเหน็บที่มือและเท้า
  • อาการภูมิแพ้รุนแรง หากพบว่ามีผื่นลมพิษขึ้นที่ผิวหนัง รู้สึกคันโดยเฉพาะที่ใบหน้า ลำคอ และลิ้น เวียนหัวอย่างรุนแรง รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไต เช่น ปริมาณของปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อรับคำปรึกษากับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด

ขนาดของยา pantoprazole(controloc) ที่ใช้ในการรักษา

Pantoprazole มีในรูปแบบยาเม็ดที่ออกฤทธิ์ได้นานขนาด 20 และ 40 มิลลิกรัม และรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำสำหรับใช้ในโรงพยาบาล โดยทั่วไป แพทย์จะสั่งจ่ายยาขนาด 40 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 4-8 สัปดาห์ในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและโรคที่เป็นด้วย ยานี้ควรรับประทานในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน ควรรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งแม้ว่าอาการของคุณอาจจะดีขึ้นก่อนหน้านั้นก็ตาม

รูปแบบยาและการออกฤทธิ์ของยา pantoprazole(controloc) 

ยา pantoprazole ในรูปแบบเม็ดนั้นเคลือบด้วยสารที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร (Gastro-resistant Tablet) ทำให้ยาแตกตัวและดูดซึมได้ที่บริเวณลำไส้เล็ก แล้วจึงไปออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดที่กระเพาะอาหาร จึงแนะนำให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ขณะท้องว่าง  ที่สำคัญ คือ ห้ามเคี้ยว แบ่งยาหรือบดยา เพราะจะทำให้สารที่เคลือบเม็ดยาเสียคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ได้

การได้รับยา pantoprazole(controloc) เกินขนาด

ปัจจุบัน มีข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับยา pantoprazole เกินขนาดค่อนข้างจำกัด ซึ่งในการศึกษาผลของการได้รับยานี้เกินขนาดในหนูและสุนัขพบว่า จะมีอาการซึม เดินเซ และมือสั่น หากคุณสงสัยว่าคุณ หรือคนใกล้ตัวได้รับยาเกินขนาด ควรไปพบแพทย์ทันทีหรือติดต่อศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 1367

หากลืมรับประทานยา pantoprazole(controloc) ควรทำอย่างไร?

หากคุณลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากกำลังจะถึงเวลาที่ต้องรับประทานยาครั้งถัดไป ให้ข้ามยาที่ลืมเม็ดนั้นได้เลย และไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าที่แพทย์สั่ง


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stacey Boudreaux, PharmD, Pantoprazole, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/pantoprazole-oral-tablet), July 16, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)