สารปนเปื้อนในอาหาร อันตรายรู้ก่อนเลี่ยงก่อน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สารปนเปื้อนในอาหาร อันตรายรู้ก่อนเลี่ยงก่อน

อาหารรูปร่างดี รสชาติแสนอร่อย ใครจะรู้บ้างว่าอาหารเหล่านั้นอาจปนเปื้อนสารอันตรายที่อาจทำร้ายร่างกายได้ ซึ่งหากรู้ไว้แต่เนิ่นๆและหลีกเลี่ยงได้ก่อน ก็จะช่วยสุขภาพร่างกายให้ดีขึ้นไม่น้อย ซึ่งสารที่ว่านี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเตือนให้ระวังแล้ว!

4 สารปนเปื้อนในอาหาร ควรรับประทานแต่น้อย

1. สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)

ในหมูเนื้อแดงตามท้องตลาด ผู้บริโภคมักชอบมากกับหมูที่เป็นเนื้อล้วนๆมีมันติดน้อยๆหรือไม่มีมันติดเลย และเพื่อสนองเจตนารมณ์ของผู้ซื้อ ผู้เลี้ยงจึงใส่สารเคมีให้หมูกิน ซึ่งสารนี้มีชื่อว่า ซาลบูตามอล ที่โดยปกติจะ เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เพื่อช่วยในการขยายหลอดลม อีกทั้งมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารนี้กับหมู จึงตกค้างมาถึงผู้บริโภคได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับอาการของผู้ได้รับสารนี้เข้าไปจะมีผลข้างเคียงทำให้ เกิดอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย และบางคนอาจมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลมได้ ทั้งนี้จะเป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่สีไม่แดงมาก

2. สารบอแรกซ์ (Borax)

สำหรับผงบอแรกซ์ที่มีสีขาวๆนี้ อาจเรียกกันได้อีกหลายชื่อ ได้แก่ น้ำประสานทอง ผงกันบูด สารข้าวตอก เพ่งแซ หรือผงเนื้อนิ่ม ซึ่งสารบอแรกซ์มักใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว เพื่อให้แก้วทนความร้อน หรือใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง และบางที่จะใช้เพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว แต่แม่ค้าหัวใสบางคนกลับนำมาผสมในอาหารเพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงรูปได้นาน และไม่บูดเสียง่ายซึ่งอาหารเหล่านี้ได้แก่ ผลไม้ดอง ไส้กรอก ลอดช่อง ทับทิมกรอบ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เป็นต้น

ส่วนอาการเกิดพิษจะมี 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง และแบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย หน้าตาบวม ผิวแห้ง เยื่อตาบวม ตับไตอักเสบ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารบอแรกซ์ ก็ควรเลือกเนื้อหมูที่ไม่ผิดจากธรรมชาติ ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จ และไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานจนผิดสังเกต

3. สารฟอร์มาลิน

สารฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาที่ใช้ดองศพ นับว่าเป็นสารอันตรายที่แม่ค้า พ่อค้าบางคนนำเอามาราดอาหารสด เพื่อจะทำให้ คงความสดใหม่อยู่ได้นาน และไม่บูดเน่าง่าย เช่น ผักสด ผลไม้สด อาหารทะเล หรือเนื้อสัตว์ ซึ่งเมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจทำให้ตายได้หากได้รับเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก

4. สารกันบูด

สารกันบูด หรือสารกันรา นับว่าเป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ที่ผู้ผลิตอาหารบางรายนำเอามาใส่เพื่อเป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง และเพื่อป้องกันเชื้อราเกิดขึ้น ซึ่งอาหารที่พบว่ามีการใส่สารนี้ เช่น น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม และ หมูยอ เป็นต้น โดยหากสารนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตายได้ และหากกินเข้าไปมากๆก็จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ เกิดเป็นแผล หรือเกิดความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ แต่หากรับประทานเข้าไปไม่มากแต่แพ้ ก็อาจมีอาการผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ และมีไข้

ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดี จึงควรเลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่ควรกินอาหารหมักดอง หรืออาจเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีการรับรองคุณภาพ หรือมีเครื่องหมาย อย. ก็จะดีที่สุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Food Gets Contaminated - The Food Production Chain. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/foodsafety/production-chain.html)
The Sources of Chemical Contaminants in Food and Their Health Implications. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5699236/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป