ภาวะแทรกซ้อนของภาวะบวมน้ำเหลือง

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะบวมน้ำเหลือง

การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ (cellulitis) คือภาวะแทรกซ้อนของภาวะบวมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อยที่สุด และสามารถพบปัญหาทางสภาพจิตใจตามมาหลังจากเกิดภาวะนี้ได้ด้วย

การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ (cellulitis)

คนจำนวนมากที่มีภาวะบวมน้ำเหลืองจะมีการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อซ้ำหลายครั้ง ภาวะนี้คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชั้นหนังแท้ (ผิวหนังชั้นลึก) และที่ชั้นของไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน (เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง) การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออาจเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะบวมน้ำเหลือง หรืออาจเกิดก่อนและเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ มีดังนี้:

  • แดง และรู้สึกร้อนที่ผิวหนัง
  • ปวดที่บริเวณที่มีอาการ
  • มีไข้
  • หนาวสั่น

การรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อนี้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) อย่างไรก็ตามหากมีอาการรุนแรงจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจสั่งยาฆ่าเชื้อให้คุณติดตัวไว้ที่บ้าน และให้รับประทานทันทีหากมีอาการของการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ สำหรับทางเลือกอื่น คุณอาจได้รับยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการติดเชื้อก็ได้

ผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

การป่วยเป็นโรคนี้เรื้อรังซึ่งส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอก เช่น มองเห็นการบวมของน้ำเหลืองที่ร่างกาย จะทำให้คุณรู้สึกทุกข์และนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้

หากคุณรู้สึกแย่ ไม่สบายใจในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และคุณไม่รู้สึกดีกับสิ่งที่เคยชอบอีกต่อไป นั่นอาจหมายถึงคุณมีอาการซึมเศร้า ถ้าเกิดอาการดังกล่าวขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลคุณ เนื่องจากมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาวะซึมเศร้าซึ่งสามารถช่วยคุณได้

การพูดคุยกับคนอื่นที่มีภาวะบวมน้ำเหลืองเหมือนจะ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยว ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โปรดจำไว้ว่า: หากคุณอดทนกับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอาการของคุณก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การป้องกันภาวะบวมน้ำเหลือง

ไม่มีทางที่จะป้องกันภาวะบวมน้ำเหลืองได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่การปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยลดโอกาสของการเป็นภาวะบวมน้ำเหลืองได้

ถ้าคุณมีภาวะบวมน้ำเหลืองอยู่แล้ว คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้

การดูแลผิวหนัง

ส่วนของร่างกายที่มีการคั่งของน้ำเหลือง จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้มากขึ้น บาดแผลที่บริเวณใดๆ ของผิวหนังจะเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและอาจพัฒนาสู่การติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว

การติดเชื้อที่ผิวหนังจะทำลายระบบน้ำเหลืองและเป็นสาเหตุของภาวะบวมน้ำเหลืองได้

คุณสามารถลดโอกาสของการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ด้วยวิธีดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ไม่ฉีดยาหรือวัดความดันโลหิตที่แขนข้างที่บวม หากเป็นไปได้
  • รักษาบาดแผลหรือแผลถลอกทันทีด้วยยาครีมฆ่าเชื้อ (antiseptic cream)
  • ใช้ยาป้องกันแมลง เพื่อป้องกันแมลงกัดต่อย
  • ทาครีมบำรุงผิวทุกวันเพื่อให้ผิวอ่อนนุ่ม โดยแพทย์อาจจ่ายครีมที่เหมาะสมให้กับคุณ
  • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อนหรืออาบน้ำร้อนเกินไป รวมถึงความร้อนจากการอบเซาว์น่า ห้องไอน้ำ (ห้องสตรีม) และการนอนเตียงอาบแดด เพราะอาจเพิ่มการบวมขึ้นได้
  • ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า sun protection factor (SPF) สูงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดด
  • สวมถุงมือเมื่อต้องทำสวนหรือทำงานบ้านเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล หากคุณมีอาการบวมน้ำเหลืองที่แขน
  • ใช้ผงป้องกันการติดเชื้อราเพื่อป้องกันการติดเชื้อราที่ผิวหนังหรือเท้า หากคุณมีอาการบวมน้ำเหลืองที่ขาและเท้า
  • ตัดเล็บด้วยที่ตัดเล็บ แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดบาดแผล
  • พบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลเท้าและเล็บ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าคุณกำลังเป็นภาวะบวมน้ำเหลือง
  • สวมใส่รองเท้าที่พอดีและรองรับน้ำหนักตัวคุณได้ หากคุณมีอาการบวมน้ำเหลืองที่ขาและเท้า
  • ใช้เครื่องโกนขนไฟฟ้า หากคุณต้องการโกนขวด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดบาดแผล
  • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่คับแน่นเกินไป

หากคุณมีอาการของการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น แดง และรู้สึกร้อนที่ผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

วิถีการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการมีภาวะบวมน้ำเหลือง และอาจช่วยควบคุมอาการหากคุณมีอาการบวมน้ำเหลืองอยู่แล้ว

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#complications 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/lymphoedema#prevention


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Edema: Types, Causes, Symptoms, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/heart-disease/heart-failure/edema-overview)
Edema: Types, causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159111)
Causes and signs of edema. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279409/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)