กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไปในระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 41 นาที
ปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไปในระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด

การมีเลือดออกทางช่องคลอดในระหว่างตั้งครรภ์ค่อนข้างเป็นเรื่องปกติ แต่มันก็สามารถเป็นสัญญาณที่อันตราย และคุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังกล่าว

ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ คุณอาจพบว่ามีเลือดออกเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า “Spotting” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนที่กำลังเติบโตฝังตัวภายในผนังของมดลูก โดยมักเกิดขึ้นประมาณช่วงรอบเดือนแรกหลังจากที่คุณเริ่มตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

ในระหว่าง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ การมีเลือดออกทางช่องคลอดสามารถเป็นสัญญาณของการแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก อย่างไรก็ตาม มีผู้หญิงหลายคนที่มีเลือดออกในระยะนี้ที่ยังคงตั้งครรภ์ได้ตามปกติและประสบความสำเร็จ

การแท้งบุตร

หากการตั้งครรภ์ยุติก่อนมีอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ มันก็บ่งบอกได้ถึงการแท้งบุตร อย่างไรก็ตาม การแท้งบุตรในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นับว่าเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป และมีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 5 ที่ยืนยันว่าการตั้งครรภ์ยุติลงเนื่องจากสาเหตุดังกล่าว

การแท้งบุตรที่เกิดขึ้นก่อน 14 สัปดาห์นั้นมีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับทารก นอกจากนี้มันก็สามารถเกิดขึ้นเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน หรือการแข็งตัวของเลือด

อย่างไรก็ตาม การแท้งบุตรส่วนมากเกิดขึ้นในระหว่าง 12 สัปดาห์แรก หรือเมื่อมีอายุครรภ์ 3 เดือน และโดยมากแล้วเราไม่สามารถป้องกันได้

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการที่ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวนอกมดลูกสามารถทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด แต่พบได้น้อยกว่าการแท้งบุตร

อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์นอกมดลูกนับว่าเป็นภาวะที่อันตราย เพราะไข่เกิดการปฏิสนธิแล้วไม่สามารถพัฒนาต่ออย่างเหมาะสมที่ด้านนอกของมดลูก ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดหรือทานยาเพื่อนำไข่ออกมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของการมีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากตั้งครรภ์สักพัก

  • การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกสามารถทำให้เลือดไหลออกทางช่องคลอด โดยเฉพาะหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • การติดเชื้อในช่องคลอด
  • มูก: เมื่อก้อนมูกที่อยู่ในปากมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ไหลออกมา มันก็เป็นสัญญาณที่บอกว่าปากมดลูกพร้อมสำหรับการคลอดลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนมดลูกเริ่มหดตัว หรือในระหว่างการคลอดลูก
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด: เป็นภาวะที่ร้ายแรงซึ่งรกเริ่มออกมาจากผนังมดลูก โดยทั่วไปแล้วภาวะดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง และอาจเกิดขึ้นแม้ว่าไม่มีเลือดไหลออกมา
  • ภาวะรกเกาะต่ำ: เป็นภาวะที่รกติดอยู่ที่ส่วนล่างของมดลูก และใกล้หรือคลุมปากมดลูก การตกอยู่ในภาวะดังกล่าวสามารถทำให้เลือดไหลออกมาเป็นจำนวนมาก และทำให้คุณและลูกตกอยู่ในความเสี่ยง คุณจำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉิน และโดยทั่วไปแล้วมักใช้วิธีผ่าคลอด
  • ภาวะหลอดเลือดสายสะดือห้อยต่ำ: ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งหลอดเลือดดำของทารกวิ่งผ่านเนื้อเยื่อที่ปกคลุมปากมดลูก โดยปกติแล้ว เส้นเลือดจะถูกคุ้มกันอยู่ภายในสายสะดือและรก เมื่อน้ำคร่ำแตก เส้นเลือดเหล่านี้ก็อาจฉีกขาด และทำให้มีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งทารกสามารถสูญเสียเลือดในปริมาณที่เป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยภาวะนี้เป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ในบางครั้งเราอาจพบก่อนคลอดโดยใช้วิธีอัลตราซาวด์ หากมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด และอัตราการเต้นของหัวใจของทารกเปลี่ยนแบบฉับพลันหลังจากเนื้อเยื่อฉีกขาด ให้สันนิษฐานได้เลยว่าคุณอาจตกอยู่ในภาวะหลอดเลือดสายสะดือห้อยต่ำ

การหาสาเหตุของการมีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์

คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจช่องคลอดหรือเชิงกราน การตรวจอัลตราซาวด์ หรือการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของฮอร์โมน นอกจากนี้แพทย์จะถามคุณเกี่ยวกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้องเกร็ง เจ็บท้อง และเวียนศีรษะ แต่ในบางครั้งเราก็ไม่พบสาเหตุของการมีเลือดออกทางช่องคลอด

หากอาการของคุณไม่ร้ายแรง และทารกยังไม่ถึงกำหนดคลอด แพทย์ก็จะติดตามอาการ และในบางกรณีคุณอาจต้องอยู่ภายในโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์สังเกตอาการ ซึ่งระยะเวลาที่คุณจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการมีเลือดออก และจำนวนสัปดาห์ของการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ดี การอยู่ในโรงพยาบาลจะทำให้พยาบาลช่วยจับตามองคุณและทารก และสามารถช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติม

อาการอ่อนเพลียและการนอน

การรู้สึกเหนื่อย หรือแม้แต่รู้สึกหมดแรงนับว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงเวลานี้สามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย คลื่นไส้ หรือมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งมีทางเดียวที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ นั่นก็คือ ให้คุณพยายามพักผ่อนให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ นอกจากนี้ให้คุณหาเวลานั่งยกขาในระหว่างวัน และยอมรับการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและครอบครัว

อย่างไรก็ตาม การรู้สึกเหนื่อยสามารถทำให้คุณรู้สึกเศร้า ดังนั้นให้คุณพยายามดูแลสุขภาพกายของตัวเอง คุณจำเป็นต้องทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ

หลังจากตั้งครรภ์ไปได้สักพัก คุณอาจรู้สึกเหนื่อยเพราะว่าคุณต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นคุณต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อท้องของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น การนอนหลับได้สนิทตลอดคืนสามารถเป็นเรื่องที่ยาก คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อนอน หรือคุณจำเป็นต้องลุกไปเข้าห้องน้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรู้สึกเหนื่อยไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อคุณหรือลูก แต่มันสามารถทำให้คุณใช้ชีวิตได้ยากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงก่อนที่คุณบอกคนอื่นว่าตัวเองตั้งครรภ์

การฝันแปลกๆ ในระหว่างตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางคนพบว่าตัวเองฝันแปลกๆ หรือฝันร้ายเกี่ยวกับทารก กระบวนการในการคลอดลูก และการคลอดลูก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้การพูดคุยกับคนรัก หรือแพทย์สามารถช่วยคุณได้ นอกจากนี้การใช้เทคนิคผ่อนคลายและเทคนิคการหายใจอาจช่วยลดความวิตกกังวล

ท่านอนที่ทำให้รู้สึกสบายตัว

ในระหว่างตั้งครรภ์ ให้คุณนอนท่าที่ทำให้รู้สึกสบายตัว ทั้งนี้การนอนหงายหลังๆ จากที่มีอายุครรภ์ 16 สัปดาห์สามารถทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว และทำให้มดลูกกดบริเวณหนึ่งในเส้นเลือดที่มีความสำคัญในภายหลัง ส่งผลให้คุณรู้สึกหน้ามืด

อย่างไรก็ตาม การนอนตะแคงข้างอาจทำให้คุณรู้สึกสบายตัวมากกว่า คุณสามารถใช้หมอนเพื่อหนุนก้น และวางหมอนระหว่างหัวเข่า ในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากก้นของคุณหนักขึ้น การใช้หมอนช่วยพยุงตัวเพื่อให้คุณเกือบอยู่ในท่านั่งอาจเป็นวิธีที่ช่วยอำนวยความสะดวก

ในบางครั้งการใช้หมอนมาช่วยหนุนลำตัวสามารถช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

การรักษาโรคนอนไม่หลับในระหว่างตั้งครรภ์

แม้ว่าการนอนไม่หลับไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่คุณก็ไม่ควรปล่อยให้มันเกิดขึ้น หากเป็นไปได้ ให้คุณนอนงีบระหว่างวัน และเข้านอนเร็วในช่วงวันธรรมดา และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมในตอนกลางคืน เพราะคาเฟอีนสามารถทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ให้คุณพยายามทำให้ตัวเองผ่อนคลายก่อนเข้านอนเพื่อที่คุณจะได้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ซึ่งการใช้เทคนิคการผ่อนคลายอาจช่วยคุณได้ คุณสามารถฝึกเทคนิคดังกล่าวจากการดูสื่อต่างๆ หรือคุณจะไปเข้าคลาสโยคะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือพิลาทีส แต่คุณต้องแจ้งผู้ฝึกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณรู้สึกเหนื่อยน้อยลง ถึงแม้ว่าคุณรู้สึกเหนื่อยในระหว่างวัน ให้คุณลองทำกิจกรรม เช่น เดินหลังทานอาหารกลางวัน หรือว่ายน้ำ หากการนอนไม่เพียงพอรบกวนชีวิตของคุณ ให้คุณลองปรึกษาคนรัก เพื่อน แพทย์ หรือสูติแพทย์ ออกกำลังกายในตอนกลางวัน และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ก่อนนอน

สาเหตุทางการแพทย์ของการเป็นโรคนอนไม่หลับในขณะตั้งครรภ์

ในบางครั้งการมีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ สามารถเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้า หากคุณมีอาการอื่นๆ ของโรคซึมเศร้า เช่น รู้สึกสิ้นหวัง ขาดความสนใจในสิ่งที่คุณเคยเพลิดเพลิน ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ หรือสูติแพทย์

อาการแพ้ท้อง

การมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนในระหว่างตั้งครรภ์เป็นที่รู้จักในชื่อของอาการแพ้ท้อง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในระยะแรกของการตั้งครรภ์ แม้ว่าการมีอาการดังกล่าวทำให้คุณรู้สึกไม่ดี แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ทารกตกอยู่ในความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และอาการมักหายไปเองในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) และจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง

ผู้หญิงที่แพ้ท้องบางคนอาจอาเจียน ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้โดยไม่ได้ป่วย ทั้งนี้อาการแพ้ท้องสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน และผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกไม่สบายตลอดวัน ซึ่งเชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีอาการแพ้ท้อง

อาการเหล่านี้ควรจะบรรเทาลงเมื่อเวลาผ่านไป ผู้หญิงบางคนพบว่าอาการเหล่านี้หายไปเมื่อมีอายุครรภ์ 3 เดือน แต่ก็มีผู้หญิงบางคนที่มีอาการนานกว่านี้ และมีผู้หญิงประมาณ 1 ใน 10 ที่ป่วยต่อเนื่องหลังจากผ่านไป 20 สัปดาห์

อาการแพ้ท้องที่อยู่ในระดับปกติเป็นอย่างไร?

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ การมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลียนับว่าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งนี้มีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณครึ่งหนึ่งที่มีอาการอาเจียน และผู้หญิงมากกว่า 80% มีอาการคลื่นไส้ในช่วง 12 สัปดาห์แรก

อย่างไรก็ดี ในบางครั้ง อาการแพ้ท้องทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายเพียงเล็กน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำกิจกรรมและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงบางคน

การรักษาอาการแพ้ท้อง

หากคุณมีอาการแพ้ท้อง ในช่วงแรกแพทย์หรือสูติแพทย์จะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนการทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อบรรเทาอาการ โดยประกอบไปด้วย

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะความเหนื่อยล้าสามารถทำให้อาการอาเจียนแย่ลง
  • หากอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ให้คุณค่อยๆ ลุกจากเตียงอย่างช้าๆ หากเป็นไปได้ให้คุณทานขนมปังที่ปิ้งแล้ว หรือคุกกี้รสธรรมดาก่อนลุกจากที่นอน
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น และจิบน้ำทีละนิดและบ่อยครั้งแทนที่จะดื่มน้ำปริมาณมากในครั้งเดียว ซึ่งการทำเช่นนี้อาจช่วยป้องกันการอาเจียน
  • ทานอาหารต่อมื้อเพียงเล็กน้อย แต่ให้ทานถี่ขึ้น อาหารที่ทานนั้นจะต้องมีคาร์โบไฮเดรตสูงและมีไขมันต่ำ ผู้หญิงส่วนมากสามารถทานอาหารที่มีรสออกเค็มอย่างขนมปัง แครกเกอร์ หรือขนมปังกรอบได้มากกว่าอาหารที่มีรสหวานหรืออาหารที่มีรสเผ็ด
  • ทานอาหารเย็นแทนอาหารร้อน เพราะอาหารชนิดนี้ไม่ส่งกลิ่นแบบอาหารร้อน ซึ่งอาจทำให้คุณมีอาการแพ้ท้อง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือการสูดกลิ่นที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดี
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มชนิดเย็น มีรสจัด หรือหวาน
  • ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากคนใกล้ตัว
  • เบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ เพราะอาการคลื่นไส้สามารถแย่ลงเมื่อคุณหมกมุ่นกับมัน
  • สวมเสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกสบายตัว และแถบบริเวณเอวจะต้องไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • หากคุณมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง แพทย์ หรือสูติแพทย์อาจจ่ายยาให้คุณ

การทานยาเพื่อรักษาอาการแพ้ท้อง

หากคุณมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง และการปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์ก็ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้คุณทานยารักษาอาการแพ้ท้อง ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์

ยาชนิดนี้มีชื่อว่า Antiemetic หรือยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง หนึ่งในอาการที่พบได้ไม่บ่อยก็คือ อาการกล้ามเนื้อกระตุก อย่างไรก็ตาม ยาต้านฮีสตามีนบางชนิดก็สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งแพทย์อาจจ่ายยาต้านฮีสตามีนที่ปลอดภัยสำหรับใช้ตอนตั้งครรภ์

การใช้ขิงบรรเทาอาการแพ้ท้อง

มีบางหลักฐานพบว่าขิงที่อยู่ในรูปแบบของอาหารเสริมอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการทานขิงในระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนพบว่าการทานคุกกี้รสขิง หรือน้ำขิงสามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้  คุณสามารถลองทานขิงหลายๆ รูปแบบเพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ใดที่ให้ผลดีที่สุดสำหรับคุณ

การกดจุดอาจช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง

การกดจุดบริเวณข้อมืออาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งคุณอาจต้องใส่แถบรัดพิเศษหรือสร้อยข้อมือที่แขนท่อนปลาย มีนักวิจัยบางคนแนะนำว่าการทำให้เกิดแรงกดบางบริเวณของร่างกายอาจทำให้สมองหลั่งสารเคมีบางชนิดที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้และอาเจียน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากการกดจุดในระหว่างตั้งครรภ์แม้ว่ามีผู้หญิงบางคนมีอาการชา ปวด และบวมที่มือ

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากคุณอาเจียน และไม่สามารถทานอาหารหรือดื่มน้ำ คุณมีโอกาสตกอยู่ในภาวะขาดน้ำหรือขาดสารอาหาร ทั้งนี้ให้คุณติดต่อแพทย์ หรือสูติแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังนี้

  • ปัสสาวะมีสีเข้มมาก หรือไม่ได้ขับปัสสาวะมากกว่า 8 ชั่วโมง
  • ไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • รู้สึกอ่อนเพลียอย่างรุนแรง เวียนศีรษะ หรือเป็นลมเมื่อยืน
  • ปวดท้อง
  • มีอุณหภูมิของร่างกาย 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) หรือมากกว่านี้
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะสามารถทำให้คุณมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน โดยทั่วไปแล้วโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะ แต่มันก็สามารถแพร่กระจายมายังไต
  • หากคุณรู้สึกเจ็บเมื่อขับปัสสาวะ หรือมีเลือดปนออกมาด้วย คุณก็อาจเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัว นอกจากนี้ให้คุณดื่มน้ำเพื่อทำให้ปัสสาวะเจือจางและลดอาการเจ็บ คุณควรติดต่อแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการแพ้ท้อง

มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณมีแนวโน้มว่าจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • เคยมีอาการอาเจียนและคลื่นไส้ตอนตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • มีประวัติคนในครอบครัวที่มีอาการแพ้ท้องในขณะตั้งครรภ์
  • เคยมีประวัติการป่วยจากการเคลื่อนไหว เช่น เมารถ
  • เคยมีอาการคลื่นไส้ในขณะที่ทานยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจน
  • โรคอ้วน ซึ่งร่างกายมีดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือมากกว่านี้
  • ความเครียด
  • การตั้งครรภ์แฝด เช่น แฝดสอง หรือแฝดสาม
  • การตั้งครรภ์ครั้งแรก

อาการแสบร้อนกลางอก

อาการอาหารไม่ย่อย หรือที่รู้จักในชื่อของ Dyspepsia ที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และเกิดจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกดทับกระเพาะอาหารเมื่อตั้งครรภ์ไปสักพัก

มีผู้หญิงมากถึง 8 ใน 10 ที่มีอาการอาหารไม่ย่อยสักช่วงหนึ่งในระหว่างตั้งครรภ์ คนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยจะรู้สึกอิ่ม รู้สึกไม่สบายตัว คลื่นไส้ และเรอ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังทานอาหาร

อาการแสบร้อนกลางอกเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บและแสบร้อนภายในหน้าอกอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลมายังหลอดอาหาร

คุณสามารถบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอกโดยปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์  และมีวิธีรักษาที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ ให้คุณลองปรึกษาสูติแพทย์ แพทย์ หรือเภสัชกร

อาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดในขณะตั้งครรภ์

อาการอาหารไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอกที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์มีลักษณะเหมือนคนอื่นๆ ที่ประสบภาวะดังกล่าว โดยมีอาการสำคัญคือ การรู้สึกเจ็บหรือรู้สึกไม่สบายภายในหน้าอกหรือกระเพาะอาหาร ซึ่งมักเกิดขึ้นทันทีหลังทานอาหารหรือดื่มน้ำ แต่ในบางครั้งมันก็สามารถเกิดขึ้นล่าช้าโดยเกิดในระหว่างทานอาหารและช่วงที่มีอาการอาหารไม่ย่อย

คุณอาจประสบอาการอาหารไม่ย่อย ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ แต่อาการของคุณอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงในระหว่างที่ตั้งครรภ์ไปสักพัก หรือตั้งแต่ 27 สัปดาห์เป็นต้นไป ทั้งนี้อาการอาหารไม่ย่อยสามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ตามมา

  • อาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งเกิดจากการที่กรดไหลจากกระเพาะอาหารมายังหลอดอาหาร
  • รู้สึกไม่สบายตัวหรือหนัก
  • เรอ
  • อาเจียน
  • ท้องอืด
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน

สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดในขณะตั้งครรภ์

อาการของภาวะอาหารไม่ย่อยประกอบไปด้วยการมีอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลออกมาจนสัมผัสกับเยื่อเมือกของระบบทางเดินอาหาร กรดดังกล่าวทำให้เยื่อเมือกสลาย ซึ่งสามารถทำให้เกิดการระคายเคือง และนำไปสู่การมีอาการอาหารไม่ย่อย

ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ คุณมีโอกาสที่จะมีอาการอาหารไม่ย่อยเนื่องจาก

  • มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกดทับกระเพาะอาหาร
  • หูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูกั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารเกิดการคลายตัว ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร

นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการอาหารไม่ย่อยในระหว่างตั้งครรภ์หาก

  • คุณมีอาการอาหารไม่ย่อยก่อนตั้งครรภ์
  • คุณเคยตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้
  • คุณอยู่ในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์

แพทย์ หรือสูติแพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อยหรือแสบร้อนกลางอกจากอาการของคุณ และอาจถามบางคำถาม เช่น

  • นิสัยการทานอาหารตามปกติของคุณเป็นอย่างไร?
  • คุณเคยเข้ารับการรักษาตัวหรือไม่?
  • คุณเคยประสบอาการอาหารไม่ย่อย หรือภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารก่อนตั้งครรภ์หรือไม่?

นอกจากนี้แพทย์หรือสูติแพทย์อาจตรวจหน้าอกและกระเพาะอาหาร พวกเขาอาจออกแรงกดเบาๆ ที่หน้าอกและกระเพาะอาหารเพื่อดูว่าคุณรู้สึกเจ็บหรือไม่

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยและแสบร้อนกลางอกในระหว่างตั้งครรภ์

ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาหารและไลฟ์สไตล์อาจเพียงพอที่จะควบคุมอาการอาหารไม่ย่อยโดยเฉพาะหากอาการอยู่ในระดับเบา

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง หรือหากการเปลี่ยนแปลงอาหารหรือไลฟ์สไตล์ไม่ทำให้อาการดีขึ้น แพทย์หรือสูติแพทย์อาจแนะนำให้คุณทานยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ทั้งนี้มียารักษาอาการอาหารไม่ย่อยหลายชนิดที่ปลอดภัยสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ให้คุณสอบถามแพทย์ สูติแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานสิ่งใดก็ตามที่เขาไม่ได้แนะนำ

 สำหรับยาที่พวกเขาอาจจ่ายให้คุณเพื่อรักษาอาการอาหารไม่ย่อยและอาการแสบร้อนกลางอกในระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้

ยาลดกรด

ยาลดกรดเป็นยาชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยในทันที ซึ่งยาชนิดนี้ทำงานโดยทำให้กรดในกระเพาะอาหารมีความเป็นกลางมากขึ้นเพื่อไม่ให้กรดก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่เยื่อเมือกในทางเดินอาหาร

ยาแอลจิเนต

ยาลดกรดบางชนิดที่ถูกนำไปผสมผสานกับยาชนิดอื่นๆ จะเรียกอีกชื่อว่า แอลจิเนต อย่างไรก็ดี ยาชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดจากกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร และทำให้เยื่อบุเกิดการระคายเคือง

ยาแอลจิเนตทำงานโดยสร้างชั้นโฟม ซึ่งจะลอยอยู่บนพื้นผิวของกระเพาะอาหาร โดยช่วยป้องกันกรดในกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลเข้ามาในหลอดอาหาร ในกรณีส่วนมาก ยาลดกรดและยาแอลจิเนตสามารถควบคุมอาการของโรคอาหารไม่ย่อยได้อย่างมีประสิทธิผลในระหว่างตั้งครรภ์

ทางเลือกและขนาดยา

มียาลดกรดหลายชนิดให้คุณเลือกซื้อที่ร้านขายยาโดยไม่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ให้คุณขอคำแนะนำจากเภสัชกรว่ายาชนิดใดที่เหมาะสำหรับคุณ ซึ่งคุณจำเป็นต้องทานยาลดกรดและยาแอลจิเนตเมื่อคุณเริ่มมีอาการ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้คุณทานยาเหล่านี้ก่อนที่คุณจะมีอาการ เช่น ทานยาก่อนอาหาร หรือก่อนนอน

การใช้ยาลดกรดและยาแอลจิเนตในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ปลอดภัยตราบใดที่คุณไม่ได้ทานยาเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ และให้คุณทำตามคำแนะนำที่มาพร้อมกับยาเพื่อให้มั่นใจว่าคุณทานยาถูกวิธี ผลข้างเคียงของการทานยาลดกรดนั้นพบได้ไม่บ่อย แต่ยาชนิดนี้ก็สามารถทำให้คุณมีอาการท้องเสียและท้องผูก

ธาตุเหล็กแบบอาหารเสริม

หากแพทย์สั่งจ่ายยาลดกรด และคุณอยู่ในช่วงทานธาตุเหล็กแบบอาหารเสริม คุณไม่ควรทานสิ่งเหล่านี้พร้อมกัน เพราะยาลดกรดสามารถป้องกันไม่ให้ธาตุเหล็กดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ให้คุณทานยาลดกรดอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนและหลังทานธาตุเหล็กแบบอาหารเสริม

ยายับยั้งการหลั่งกรด

หากยาลดกรดและยาแอลจิเนตไม่ทำให้อาการอาหารไม่ย่อยดีขึ้น แพทย์อาจจ่ายยาชนิดอื่นๆ ที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งมียาที่ยับยั้งการหลั่งกรด 2 ชนิดที่ปลอดภัยสำหรับใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ ยาแรนิทิดีน และยาโอเม พราโซล ทั้งนี้ให้คุณทานยาโดยทำตามคำแนะนำที่ระบุในผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับตอนทานยาลดกรดและยาแอลจิเนต

ยาแรนิทิดีน

โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งจ่ายยาแรนิทิดีนในรูปแบบของยาเม็ด โดยให้ผู้ป่วยทานวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ให้คุณทานยาตามคำแนะนำ เพราะยาอาจไม่ทำงานหากคุณทานยาเมื่อมีอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยาแรนิทิดีนแทบจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง

โอเมพราโซล

แพทย์มักสั่งจ่ายยาโอเมพราโซลชนิดเม็ดให้ผู้ป่วยทานวันละ 1 ครั้ง หลังจากผ่านไป 5 วัน อาการของคุณจะดีขึ้น หากไม่เป็นเช่นนี้ คุณจำเป็นต้องทานยาเพิ่มขึ้น ในบางกรณียาโอเมพราโซลทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน

เคล็ดลับการช่วยเหลือตัวเองเมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อยในขณะตั้งครรภ์

คุณอาจไม่จำเป็นต้องทานยาเพื่อควบคุมอาการ ทั้งนี้แพทย์ หรือสูติแพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์ ซึ่งมีหลายกรณีที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการ

  1. หยุดสูบบุหรี่
    การสูบบุหรี่ในขณะที่คุณตั้งครรภ์นั้นสามารถทำให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย และส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งของคุณและเด็กในครรภ์อย่างร้ายแรง การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงให้
    • เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
    • เด็กมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ
    • เด็กเสียชีวิตจากการเป็นโรคไหลตาย
      ในขณะที่คุณสูบบุหรี่ สารเคมีที่คุณสูดเข้าไปในร่างกายสามารถทำให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย สารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัว ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหารง่ายขึ้น หรือที่เรียกว่า กรดไหลย้อน
      หากคุณสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำเพื่อสุขภาพของตัวเองและทารก คุณสามารถปรึกษาแพทย์ หรือสูติแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลเพิ่มเติม หรือคุณจะโทรไปที่สายด่วน 1600 ซึ่งเป็นศูนย์บริการเลิกบุหรี่ที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  3. การดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย อีกทั้งยังทำให้เด็กในครรภ์เสี่ยงต่อการมีร่างกายที่พิการตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ดี The Department of Health แนะนำว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างสิ้นเชิงในระหว่างตั้งครรภ์ แต่หากคุณเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ คุณไม่ควรดื่มเกินกว่า 1-2 หน่วยต่อหนึ่งสัปดาห์ หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ดื่มจนมีอาการเมา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์
    The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) แนะนำว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะมันอาจทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้งเพิ่มขึ้น
    หากคุณรู้สึกว่าการเลิกแอลกอฮอล์เป็นเรื่องยาก ให้คุณปรึกษาสูติแพทย์ แพทย์ หรือเภสัชกร หรือคุณจะโทรไปที่สายด่วน 1413 ซึ่งมีบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ต้องการเลิกดื่มสุรา

  4. ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    คุณมีความเสี่ยงที่จะมีอาการอาหารไม่ย่อยหากคุณทานอาหารอิ่มมากเกินไป ดังนั้นการทานอาหารปริมาณมากเป็นประจำอาจทำให้อาการแย่ลง หากคุณตั้งครรภ์ คุณมีโอกาสทานอาหารมากกว่าปกติ แต่การทำเช่นนี้อาจไม่ส่งผลดีต่อทั้งตัวคุณและลูก
    ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณไม่จำเป็นต้องทานอาหารชนิดพิเศษ แต่การทานอาหารให้หลากหลายทุกวันเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างสมดุลที่ทั้งคุณและลูกจำเป็นต้องได้รับนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
  5. เปลี่ยนนิสัยการทานอาหาร
  6. ในบางกรณีคุณสามารถควบคุมอาการอาหารไม่ย่อยโดยปรับเปลี่ยนวิธีการทานอาหาร ตัวอย่างเช่น

    • แทนที่คุณจะทานอาหารมื้อใหญ่ 3 ครั้งต่อวัน ให้คุณทานอาหารทีละน้อย แต่ให้ทานถี่ขึ้น
    • หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอนตอนกลางคืน 3 ชั่วโมง
    • นั่งตัวตรงในขณะที่ทานอาหารเพราะมันจะช่วยลดแรงดันที่กระเพาะอาหาร
    • การดื่มนม 1 แก้วอาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก คุณอาจเตรียมนม 1 แก้วไว้ข้างๆ เตียงเพื่อดื่มเมื่อคุณรู้สึกแสบร้อนกลางอกตอนกลางคืน
  7. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น

    คุณอาจพบว่าอาการอาหารไม่ย่อยแย่ลงเพราะตัวกระตุ้นบางชนิด เช่น การดื่มน้ำผลไม้ การทานช็อกโกแลต การงอตัว ฯลฯ ทั้งนี้ให้คุณจดว่ามีอาหาร เครื่องดื่ม หรือกิจกรรมใดบ้างที่ดูเหมือนว่าทำให้อาการอาหารไม่ย่อยแย่ลง และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้หากเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น การทานอาหารที่มีรสจัด เผ็ด หรือมีไขมันสูงลดลง ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และโคลา

  8. ยกศีรษะให้สูง
    เมื่อคุณเข้านอน ให้คุณใช้หมอนสองใบหนุนที่ศีรษะและหัวไหล่ให้ตั้งขึ้น หรือทำให้หัวเตียงสูงขึ้น 2-3 นิ้ว โดยใส่บางสิ่งภายใต้ฟูกนอน ซึ่งการทำให้ร่างกายเอียงลงเล็กน้อยสามารถช่วยป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลมายังหลอดอาหารในขณะที่คุณนอน

  9. ทานยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์

  10. หากคุณกำลังอยู่ในช่วงทานยาเพื่อรักษาโรคอื่นๆ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่     สเตียรอยด์ และคุณคิดว่ายาเหล่านี้อาจเป็นตัวการที่ทำให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ ซึ่งเขาอาจให้ยาชนิดอื่นแทน อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรหยุดทานยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เว้นเสียแต่ว่าแพทย์เป็นคนสั่ง

อาการปวดหลัง

ในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ เส้นเอ็นในร่างกายของคุณจะนุ่มลงและยืดเพื่อให้พร้อมสำหรับการคลอดลูกโดยธรรมชาติ ซึ่งมันสามารถทำให้ข้อต่อบริเวณหลังส่วนล่างและเชิงกรานบาดเจ็บ ส่งผลให้คุณมีอาการปวดหลังได้นั่นเอง

การป้องกันอาการปวดหลังในขณะตั้งครรภ์

มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการปวดหลัง และช่วยให้คุณรับมือกับอาการดังกล่าว อย่างไรก็ดี การใช้วิธีที่เรากำลังจะแนะนำหลังจากนี้ทุกวันสามารถช่วยปกป้องแผ่นหลังของคุณได้ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • งอเข่าและยืดหลังตรงเมื่อยกหรือหยิบสิ่งของจากพื้น
  • เคลื่อนฝ่าเท้าเมื่อหันตัวเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังบิด
  • สวมรองเท้าส้นเตี้ยเพราะมันช่วยให้น้ำหนักกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำงานบนพื้นที่สูงมากพอเพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องโน้มตัวลง
  • พยายามรักษาความสมดุลของน้ำหนักกระเป๋า 2 ใบเมื่อต้องถือขณะไปซื้อของ
  • นั่งยืดหลังตรงและนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ไปสักพัก
  • การนอนบนฟูกนอนที่แข็งแรงสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง หากฟูกนอนนิ่มเกินไป ให้คุณสอด    กระดานแข็งๆ เข้าไปใต้ฟูกนอนเพื่อให้มันแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้การนวดก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

การออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์

การออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อท้อง และช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณสามารถทำได้ดังนี้

  • ตั้งท่าโดยใช้มือทั้งสองข้างยันพื้น ซึ่งหัวเข่าจะต้องอยู่ใต้สะโพก มืออยู่ใต้หัวไหล่  นิ้วชี้ไปด้านหน้า ยกท้องขึ้น และยืดหลังให้ตรง
  • หดกล้ามเนื้อท้อง และยกหลังขึ้นไปทางเพดาน ม้วนลำตัว และปล่อยให้ศีรษะผ่อนคลาย
  • ทำท่าข้างต้นค้างไว้ 3-4 วินาที และค่อยๆ กลับมาทำท่าเริ่มต้นอย่างช้าๆ
  • ระวังอย่าให้หลังแอ่น ซึ่งหลังควรกลับมาเป็นแนวตรง
  • ทำเช่นนี้ช้าๆ และเป็นจังหวะ 10 ครั้ง ทั้งนี้ให้คุณปล่อยให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก และให้คุณเคลื่อนแผ่นหลังอย่างระมัดระวัง
  • เคลื่อนแผ่นหลังในระดับที่คุณคิดว่าสามารถทำได้เท่านั้น

อย่างไรก็ดี The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) แนะนำว่าการออกกำลังกายในน้ำ การนวด และการเข้าร่วมคลาสออกกำลังกายที่เน้นแผ่นหลังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลังในขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้การออกกำลังกายในน้ำเหมาะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะมันสามารถช่วยพยุงร่างกายที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากอาการปวดหลังทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดมาก ให้คุณไปพบแพทย์ ซึ่งเขาสามารถให้คำปรึกษา และแนะนำวิธีออกกำลังกายที่สามารถเป็นประโยชน์แก่คุณ

ผิวแตกลาย

ผิวแตกลายมีลักษณะเป็นเส้นสีชมพูแคบๆ หรือเป็นเส้นที่ดูเหมือนเป็นริ้วสีม่วง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นบนพื้นผิวของผิวหนัง และมักปรากฏบริเวณท้อง หรือในบางครั้งก็พบได้ที่สะโพกและหน้าอกในขณะที่ตั้งครรภ์ และเมื่อท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม สัญญาณเตือนแรกที่คุณสามารถสังเกตได้ก็คือ การมีอาการคันรอบๆ บริเวณที่ผิวบางและเป็นสีชมพู ทั้งนี้การมีผิวแตกลายไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย ไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง

หลังจากที่ทารกเกิด รอยแตกควรจะค่อยๆ จางจนเป็นรอยแผลเป็นสีขาว และสุดท้ายก็จะจางลงจนแทบมองไม่เห็น แต่มันก็จะไม่หายไปอย่างสมบูรณ์

สาเหตุของการมีผิวแตกลาย

การมีผิวแตกลายเป็นเรื่องที่ปกติมาก นอกจากจะพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์แล้ว คนทั่วไปก็สามารถมีผิวแตกลายได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผิวแตกลายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อที่ผิวมีการขยายตัว ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเติบโตในระหว่างที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือช่วงลดน้ำหนัก ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ก็สามารถส่งผลต่อผิวหนังและทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีผิวแตกลายมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผิวแตกลายเกิดขึ้นเมื่อชั้นหนังแท้ยืดตัวและเกิดการฉีกขาด ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การเกิดผิวแตกลายนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของผิว เนื่องจากผิวของบางคนมีความยืดหยุ่นมากกว่า

การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์

คุณมีแนวโน้มที่จะมีผิวแตกลายหากคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่ามาตรฐาน ผู้หญิงส่วนมากที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 10 กิโลกรัม-12.5 กิโลกรัม แม้ว่าผู้หญิงแต่ละคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นต่างกัน แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักเมื่อคุณตั้งครรภ์ แต่ให้คุณหันมาทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และทานอาหารอย่างสมดุล หากคุณกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตัวเอง ให้คุณปรึกษาสูติแพทย์หรือแพทย์ ซึ่งเขาอาจให้คำแนะนำหากคุณมีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือน้อยกว่า 50 กิโลกรัม

การป้องกันผิวแตกลาย

มีครีมหลายยี่ห้อที่อ้างว่าสามารถลบรอยแตกลายที่ผิว แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามันสามารถช่วยได้ นอกจากนี้หลักฐานที่ยืนยันว่าน้ำมันหรือออยล์ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยแตกลายตั้งแต่ต้นนั้นก็มีอย่างจำกัด

อย่างไรก็ตาม มีผลงานวิจัยเชิงสังเคราะห์พบว่า การนวดครีมสองชนิดที่วางขายอยู่ในท้องตลาดช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยแตกลายระหว่างตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้เราจำเป็นต้องรองานวิจัยชิ้นอื่นๆ เพื่อที่จะได้ตัดสินว่าการทาครีมหรือการนวดผิวสามารถช่วยป้องกันรอยแตกลายได้จริงหรือไม่

การตกขาว

ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่นั้นมีตกขาวเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปีแรกหรือสองปีก่อนเข้าวัยหนุ่มสาว และหมดลงหลังจากเข้าสู่วัยทอง ซึ่งปริมาณของตกขาวที่เกิดขึ้นนั้นจะเปลี่ยนเป็นระยะๆ  และมักมีมากขึ้นก่อนที่คุณมีประจำเดือน

การมีตกขาวในขณะตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ปกติหรือไม่?

ผู้หญิงเกือบทุกคนมีตกขาวขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นจากไม่กี่สาเหตุ ในระหว่างตั้งครรภ์ ปากมดลูก และผนังของช่องคลอดจะนุ่มลง และมีตกขาวเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อแพร่จากช่องคลอดมายังมดลูก เมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ปริมาณของตกขาวก็จะเพิ่มขึ้น และสามารถทำให้เราสับสนกับปัสสาวะ

ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย หรือช่วงเวลาราวๆ นี้ของการตั้งครรภ์ ตกขาวอาจมีมูกหนาๆ และเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมูกที่อยู่ในปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ไหลออกมา โดยเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายพร้อมสำหรับการให้กำเนิดทารก และคุณอาจพบเมือกดังกล่าวก่อนวันคลอดลูก

อย่างไรก็ตาม การตกขาวนับว่าเป็นส่วนสำคัญของการตั้งครรภ์ แต่คุณควรจับตามองให้ดี และบอกแพทย์ หรือสูติแพทย์หากพบสิ่งผิดปกติ

เมื่อไรที่คุณควรไปพบสูติแพทย์หรือแพทย์?

ให้คุณบอกสูติแพทย์ หรือแพทย์หากตกขาวมีสี มีกลิ่นแปลกๆ และรู้สึกคันหรือเจ็บ ทั้งนี้ตกขาวที่มีสุขภาพดีควรมีลักษณะใสและเป็นสีขาว รวมถึงไม่มีกลิ่นเหม็น หากตกขาวมีลักษณะตามที่เรากล่าวไป มันก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ามีการติดเชื้อภายในช่องคลอด

เชื้อราที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์

การติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ การติดเชื้อรา ซึ่งแพทย์สามารถรักษาได้อย่างง่ายดาย แต่คุณไม่ควรทานยารักษาเชื้อราขณะตั้งครรภ์

อย่างไรก็ดี ให้คุณปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือสูติแพทย์หากคุณติดเชื้อรา คุณสามารถป้องกันเชื้อราโดยใส่กางเกงในผ้าฝ้ายหลวมๆ และผู้หญิงบางคนพบว่าการไม่ใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมสามารถช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้คุณควรบอกสูติแพทย์ หรือแพทย์หากตกขาวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหลังจากตั้งครรภ์ไปได้สักระยะ

การมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์

หากมีเลือดออกมาจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ คุณควรติดต่อสูติแพทย์หรือแพทย์ เพราะมีผู้หญิงจำนวนมากที่มีเลือดออกเล็กน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ และโดยปกติแล้วไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่ในบางครั้งมันก็สามารถเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ร้ายแรง เช่น การแท้งบุตร หรือปัญหาเกี่ยวกับรก

การมีข้อเท้าบวม

ข้อเท้า ฝ่าเท้า และนิ้วของผู้หญิงตั้งครรภ์มักบวมขึ้นเล็กน้อย เพราะร่างกายกักเก็บน้ำมากกว่าปกติ เมื่อหมดวัน น้ำส่วนเกินมีแนวโน้มที่จะสะสมบริเวณที่ต่ำที่สุดของร่างกาย โดยเฉพาะหากสภาพอากาศร้อนหรือหากคุณยืนเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม การมีอวัยวะต่างๆ ที่ค่อยๆ บวมขึ้นนั้นไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคุณหรือเด็กในครรภ์ แต่มันสามารถทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว

การป้องกันและรักษาอาการข้อเท้าบวม

มีหลายวิธีที่ช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการฝ่าเท้าและข้อเท้าบวม ตัวอย่างเช่น

  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน
  • สวมรองเท้าที่ทำให้รู้สึกสบาย และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่มีสายรัดแน่น หรือสิ่งใดก็ตามที่บีบเท้า
  • ยกเท้าขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ให้พยายามพักวันละ 1 ชั่วโมงเพื่อยกฝ่าเท้าให้สูงขึ้นกว่าหัวใจ โดยให้นำเบาะมารองขณะที่คุณอยู่บนโซฟา

นอกจากนี้ให้คุณออกกำลังกายฝ่าเท้าโดยทำตามวิธีที่เราจะกล่าวหลังจากนี้

การออกกำลังกายฝ่าเท้า

คุณสามารถออกกำลังกายฝ่าเท้าตอนนั่งหรือยืน ซึ่งมันสามารถช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดอาการบวมที่ข้อเท้า และป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวบริเวณน่อง สำหรับวิธีการทำมีดังนี้

  • งอและยืดฝ่าเท้าขึ้นลง 30 ครั้ง
  • หมุนฝ่าเท้าเป็นวงกลม 8 ครั้งเป็นทางเดียวกัน และทำซ้ำโดยเปลี่ยนฝั่งหมุน และให้ทำเช่นนี้กับฝ่าเท้าอีกข้าง

เมื่อไรที่อาการบวมอยู่ในระดับร้ายแรง?

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากใบหน้า ฝ่าเท้า หรือมือบวมแบบฉับพลัน อย่างไรก็ตาม การตกอยู่ในภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถทำให้เกิดการบวมแบบฉับพลัน แต่ผู้หญิงส่วนมากที่มีอาการบวมก็ไม่ได้ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ให้คุณรีบติดต่อสูติแพทย์ แพทย์ หรือโรงพยาบาลทันที

หากคุณตกอยู่ในภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์จำเป็นต้องติดตามอาการของคุณอย่างระมัดระวัง เพราะภาวะกล่าวสามารถส่งผลร้ายแรงต่อทั้งคุณและลูกในครรภ์

สำหรับสัญญาณอื่นๆ ของภาวะครรภ์เป็นพิษประกอบไปด้วย

  • การปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมอง เช่น ภาพไม่ชัด หรือเห็นแสงแวบวับ
  • มีอาการเจ็บอย่างรุนแรงใต้ซี่โครง
  • อาเจียน

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • มีอายุ 40 ปี หรือมากกว่านี้
  • ไม่เคยมีลูก
  • เคยตั้งครรภ์ล่าสุดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • มีคนในครอบครัวที่เคยตกอยู่ในภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • เคยตกอยู่ในภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • มีดัชนีมวลกาย 30 หรือมากกว่านี้
  • มีความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคไต
  • ตั้งครรภ์แฝด

อาการปวดศีรษะ

การมีอาการปวดศีรษะในผู้หญิงมักเกิดจากฮอร์โมน และมีผู้หญิงหลายคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์พบความเชื่อมโยงระหว่างอาการปวดศีรษะและประจำเดือน นอกจากนี้วัยทองและการตั้งครรภ์ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หญิงมีอาการปวดศีรษะเช่นกัน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์บางคนพบว่าตัวเองรู้สึกปวดศีรษะมาก

อาการปวดศีรษะสามารถแย่ลงในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่อาการมักดีขึ้น หรือหายไปอย่างสมบูรณ์ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม้ว่าอาการปวดศีรษะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารก แต่มันก็สามารถทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว

การรับมือกับอาการปวดศีรษะในขณะตั้งครรภ์

  • การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะ ให้คุณพยายามพักผ่อนให้เพียงพอและทำตัวให้ผ่อนคลาย ตัวอย่างเช่น คุณอาจลองไปเข้าคลาสโยคะสำหรับผู้หญิง
  • โดยทั่วไปแล้วการทานยาพาราเซตามอลในปริมาณที่แนะนำนับว่าเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ให้คุณหลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนผสมของโคเดอีน เว้นเสียแต่ว่าแพทย์เป็นผู้จ่ายยา
  • ปรึกษาเภสัชกร สูติแพทย์ หรือแพทย์เกี่ยวกับปริมาณของยาพาราเซตามอลที่คุณต้องทานและระยะเวลาการใช้ยา

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

หากคุณมักมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ให้คุณไปพบแพทย์ เพราะการมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงนั้นสามารถเป็นสัญญาณของภาวะความดันโลหิตสูง และคุณควรรีบเข้ารับการรักษา เพราะมันสามารถบ่งชี้ได้ถึงภาวะที่อันตรายอย่างภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์บางคนในระหว่างครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือทันทีหลังจากคลอดลูก

ผู้หญิงที่ตกอยู่ในภาวะครรภ์เป็นพิษมีอาการดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง
  • บวมน้ำ
  • มีโปรตีนในปัสสาวะ

หากไม่ได้รับการรักษา มันก็สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และภาวะดังกล่าวสามารถทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของทารกในครรภ์

อาการคัน

 อาการคันเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากการที่ระดับของสารเคมีบางชนิดในเลือดสูงขึ้น เช่น ฮอร์โมน หลังจากที่ท้องของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้น ผิวบริเวณท้องจะยืดออก และอาจทำให้คุณรู้สึกคันเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อาการคันสามารถเป็นอาการของภาวะที่เกี่ยวกับโรคตับอย่างภาวะน้ำดีคั่งในตับ (Intrahepatic Cholestasis of Pregnancy (ICP) หรือที่รู้จักในชื่อของ Obstetric Cholestasis (OC)

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะ ICP จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อ 1 ใน 4 ของผู้หญิงในประเทศอังกฤษ หรือประมาณ 5,500 คนต่อปี

อาการคันระดับเบา

การสวมเสื้อผ้าที่หลวมอาจช่วยป้องกันอาการคัน เพราะเสื้อผ้ามีแนวโน้มที่จะเสียดสีกับผิว และทำให้เกิดการระคายเคืองน้อยลง นอกจากนี้ให้คุณหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุสังเคราะห์ และเลือกผ้าที่มาจากธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าที่ช่วยระบายอากาศได้เป็นอย่างดี และช่วยให้อากาศหมุนเวียนใกล้กับผิว

การแช่น้ำเย็น และการทาโลชั่นหรือมอยส์เจอไรเซอร์สามารถช่วยบรรเทาอาการคัน ทั้งนี้มีผู้หญิงบางคนพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมเข้มข้นสามารถทำให้ผิวระคายเคือง ดังนั้นให้คุณใช้โลชั่นหรือสบู่ที่ไม่มีน้ำหอม

อย่างไรก็ตาม การมีอาการคันระดับเบามักไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งคุณและทารก แต่ในบางครั้งมันสามารถเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรงโดยเฉพาะหากคุณสังเกตว่าตัวเองมีอาการหนักขึ้นในช่วงหัวค่ำหรือตอนกลางคืน

คุณควรบอกสูติแพทย์ หรือแพทย์หากมีอาการคันเพื่อที่พวกเขาจะได้ตัดสินใจว่าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมหรือไม่

ภาวะน้ำดีคั่งในตับ (Intrahepatic cholestasis of pregnancy (ICP))

ภาวะน้ำดีคั่งในตับเป็นความผิดปกติของตับที่ร้ายแรงซึ่งสามารถพบได้ในขณะตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว กรดน้ำดีไหลจากตับมายังลำไส้เพื่อช่วยย่อยอาหาร แต่หากน้ำดีคั่งในตับ น้ำดีจะไม่ไหลมายังลำไส้ตามปกติ และสะสมอยู่ภายในร่างกายแทน

ทั้งนี้ภาวะน้ำดีคั่งในตับพบได้ทั้งในครอบครัวที่มีสมาชิกเคยเป็นหรือไม่เคยเป็นภาวะดังกล่าว แต่พบได้มากในผู้หญิงที่เป็นชาวอเมริกาใต้ อินเดีย และปากีสถาน หากคุณตกอยู่ในภาวะดังกล่าวก่อนตั้งครรภ์ คุณมีโอกาสมากขึ้นที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งในภายหลัง

มีหลายงานวิจัยพบว่า ทารกที่แม่มีน้ำดีคั่งในตับมีโอกาสเกิดก่อนกำหนดสูงขึ้น หรือเสียชีวิตตั้งแต่เกิด ซึ่งมีงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการเสียชีวิตตั้งแต่เกิดของทารกว่ามีค่าระหว่าง 1 และ 2 ในผู้หญิง 100 คนที่ระดับของกรดน้ำดีมีค่ามากกว่า 40 µmol/L.

ความเสี่ยงของการเสียชีวิตตั้งแต่เกิดจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 4 และ 5 ในผู้หญิง 100 คนที่มีค่ากรดน้ำดี 80µmol/L. เนื่องจากภาวะดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตตั้งแต่เกิดของทารก แพทย์อาจต้องกระตุ้นให้คุณคลอดเร็วกว่ากำหนด ซึ่งทำประมาณสัปดาห์ที่ 37-38 ของการตั้งครรภ์ แต่แพทย์บางคนอาจกระตุ้นให้คุณคลอดลูกเร็วกว่านี้หากภาวะน้ำดีคั่งในตับอยู่ในระดับรุนแรง

อาการของภาวะน้ำดีคั่งในตับ

โดยทั่วไปแล้ว อาการของภาวะน้ำดีคั่งในตับเริ่มต้นประมาณสัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาการเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ อาการที่สำคัญคือ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันโดยไม่มีผื่นเกิดขึ้น และอาการคันมักเกิดขึ้นบริเวณมือและเท้า แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย

ผู้หญิงหลายคนที่มีน้ำดีคั่งในตับมีอาการคันชนิดที่ไม่สามารถทนได้ และอาการสามารถแย่ลงตอนกลางคืน ซึ่งส่งผลต่อการนอน ในขณะที่ผู้ป่วยคนอื่นๆ มีอาการคันระดับเบา

สำหรับอาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้นั้นประกอบไปด้วยการมีปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีอ่อน และผิวกับตาขาวเป็นสีเหลือง แต่พบได้ไม่บ่อยเท่ากับสองอาการที่กล่าวไป

การวินิจฉัยและการรักษาภาวะน้ำดีคั่งในตับ

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะน้ำดีคั่งในตับโดยไม่รวมสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการคัน และอาจสอบถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของคุณและครอบครัว รวมถึงให้คุณตรวจเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และการวัดระดับของกรดน้ำดี

การเฝ้าสังเกตภาวะน้ำดีคั่งในตับ

หากคุณถูกวินิจฉัยว่ามีน้ำดีคั่งในตับ คุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แพทย์สามารถเฝ้าสังเกตภาวะดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวทางที่เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับความถี่ของการตรวจเลือด แต่ Royal College of Obstetricians and Gynaecologists (RCOG) และ British Liver Trust แนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเลือดสัปดาห์ละครั้ง

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชิ้นใหญ่ที่สุดของประเทศอังกฤษที่ทำเกี่ยวกับภาวะน้ำดีคั่งในตับแนะนำให้วัดกรดน้ำดีทุกสัปดาห์ ซึ่งค่าที่ได้นั้นสามารถช่วยให้แพทย์แนะนำได้ว่าเมื่อไรที่ทารกควรเกิด

หากค่าการทำงานของตับและกรดน้ำดีอยู่ในระดับปกติ และคุณยังคงมีอาการคันระดับรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คุณจำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำทุกหนึ่งหรือสองสัปดาห์เพื่อเฝ้าสังเกตอาการต่อไป

ครีมและยาที่ใช้รักษาภาวะน้ำดีคั่งในตับ

ครีมอย่าง Aqueous Cream ที่มีส่วนผสมของเมนทอลนั้นนับว่าปลอดภัยสำหรับใช้ขณะตั้งครรภ์ และสามารถช่วยบรรเทาอาการคัน อย่างไรก็ตาม มียาบางชนิด เช่น Ursodeoxycholic Acid หรือ UDCA ที่ช่วยลดกรดน้ำดีและช่วยบรรเทาอาการคัน

UDCA ถือเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับใช้ในขณะตั้งครรภ์แม้ว่ายังไม่มีการทดสอบอย่างเหมาะสม นอกจากนี้แพทย์อาจจ่ายวิตามินเคแบบอาหารเสริมให้ผู้ป่วย เพราะว่าภาวะน้ำดีคั่งในตับสามารถส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินเค ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด

แพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรักษาภาวะน้ำดีคั่งในตับส่วนมากจะให้วิตามินเคแก่ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอุจจาระสีซีด มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือตกอยู่ในภาวะน้ำดีคั่งในตับระดับรุนแรงตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์

หากมีการตรวจพบว่าคุณตกอยู่ในภาวะน้ำดีคั่งในตับ สูติแพทย์และแพทย์ก็จะพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพและทางเลือกในการรักษากับคุณ

ปวดท้องน้อย

ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ ในบางครั้งเราเรียกอาการดังกล่าวว่า Pregnancyrelated Pelvic Girdle Pain (PPGP) หรือ Symphysis Pubis Dysfunction (SPD)

อาการของ PPGP

PPGP เกิดจากการมีข้อต่อเชิงกรานที่ฝืด หรือข้อต่อเคลื่อนที่แบบติดขัดที่ด้านหลังหรือด้านหน้ากระดูกเชิงกราน อย่างไรก็ตาม PPGP ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็ก แต่มันก็สามารถทำให้คุณมีอาการปวดรอบๆ เชิงกรานอย่างรุนแรง และทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน และบางคนก็อาจมีอาการแย่กว่าคนอื่นๆ สำหรับอาการที่พบได้นั้นประกอบไปด้วย

  • มีอาการปวดเหนือกระดูกหัวหน่าว ซึ่งอยู่ด้านหน้าและอยู่กึ่งกลาง
  • มีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างหนึ่งฝั่งหรือทั้งสองฝั่ง
  • มีอาการปวดบริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและรูทวาร

อย่างไรก็ตาม อาการปวดสามารถกระจายไปยังต้นขา และผู้หญิงบางคนรู้สึกหรือได้ยินเสียงแก๊กหรือเสียงบดบริเวณเชิงกราน ซึ่งคุณสามารถรับรู้ถึงอาการปวดได้ชัดขึ้นเมื่อคุณเดิน ขึ้นบันได ยืนขาเดียว (ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณแต่งตัวหรือเดินขึ้นบันได) หรือพลิกตัวบนเตียง นอกจากนี้การแยกขาออกจากกันก็สามารถเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณ (ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณก้าวลงจากรถ)

เราสามารถรักษา PPGP  ซึ่งมีหลายเทคนิคที่สามารถใช้จัดการกับอาการปวดและความรู้สึกไม่สบายตัว หากคุณได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง และได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถจัดการกับ PPGP และบรรเทาอาการ ในบางครั้ง อาการก็จะหายไปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้หญิงส่วนมากที่เป็น PPGP สามารถคลอดลูกทางช่องคลอดได้ตามปกติ

ใครที่มีอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์?

มีการประมาณว่า PPGP ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 1/5  ซึ่งยังไม่รู้อย่างแน่ชัดว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงมีอาการปวดท้องน้อย แต่เชื่อว่ามันเชื่อมโยงกับหลายประเด็น ซึ่งประกอบไปด้วยการที่เชิงกรานเคยเสียหาย ข้อต่อเชิงกรานฝืด และน้ำหนักตัวหรือตำแหน่งของเด็กในครรภ์

สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็น PPGP ประกอบไปด้วย

  • มีประวัติการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดรอบๆ เชิงกราน
  • เชิงกรานเคยได้รับบาดเจ็บ ตัวอย่างเช่น การล้ม หรือการเกิดอุบัติเหตุ
  • เคยเป็น PPGP เมื่อตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • ทำงานที่ต้องใช้ร่างกาย

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์?

การให้แพทย์วินิจฉัยอาการตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดให้เหลือน้อยลงมากที่สุด และป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวในระยะยาว การรักษาที่ทำโดยนักกายภาพบำบัดมักเกี่ยวข้องกับการให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวข้อต่อที่มีปัญหา ซึ่งช่วยให้มันสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้อีกครั้ง

หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการปวดรอบๆ บริเวณเชิงกราน ให้คุณไปพบสูติแพทย์หรือแพทย์ ปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นจนกระทั่งทารกเกิด แต่การรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างตั้งครรภ์

การรักษาอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์

การทำกายภาพบำบัดมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทา หรือลดอาการปวด ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานดีขึ้น และช่วยปรับปรุงตำแหน่งและช่วยสร้างความแข็งแรงให้ข้อต่อบริเวณเชิงกราน ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การบำบัดโดยใช้มือเพื่อมั่นใจว่าข้อต่อของกระดูกเชิงกราน สะโพก และไขสันหลังเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้อุ้งเชิงกราน ท้อง แผ่นหลัง และกล้ามเนื้อสะโพก
  • ออกกำลังกายในน้ำ
  • การให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ซึ่งประกอบไปด้วยท่าคลอดลูก การดูแลทารก และท่าร่วมรัก
  • การบรรเทาอาการปวด
  • การใช้อุปกรณ์ (ถ้าจำเป็น) เช่น ไม้เท้า หรือเข็มขัดช่วยพยุงเชิงกราน

การรับมือกับอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์

นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำให้คุณใช้เข็มขัดช่วยพยุงเชิงกรานเพื่อลดอาการปวด หรือไม้เท้าเพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้การวางแผนกิจกรรมในแต่ละวันสามารถช่วยได้ เพื่อที่คุณจะได้เลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้คุณมีอาการปวด ตัวอย่างเช่น การไม่เดินขึ้นลงบันไดเกินกว่าความจำเป็น

The Pelvic Obstetric & Gynaecological Physiotherapy (POGP) แนะนำวิธีปฏิบัติตัวดังนี้

  • เคลื่อนไหวให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้โดยอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความปวดของตัวเอง และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดแย่ลง
  • พักผ่อนเมื่อคุณสามารถทำได้
  • ให้คนรักหรือครอบครัวช่วยทำงานบ้าน
  •  สวมรองเท้าส้นเตี้ยและช่วยพยุงฝ่าเท้า
  • นั่งแต่งตัว ตัวอย่างเช่น ไม่ยืนโดยใช้ขาข้างเดียวในขณะที่สวมกางเกงยีนส์
  • หุบหัวเข่าเข้าด้วยกันเมื่อก้าวขึ้นและก้าวลงจากรถ
  • นอนท่าที่ทำให้รู้สึกสบาย ตัวอย่างเช่น นอนตะแคงข้างโดยวางหมอนที่ระหว่างขา
  • พยายามใช้วิธีต่างๆ ในการพลิกตัวบนเตียง ตัวอย่างเช่น พลิกตัวโดยที่เข่าสองข้างยังคงชิดกันและหดก้น
  • เดินขึ้นลงบันไดทีละขั้น หรือขึ้นบันไดถอยหลังโดยใช้ก้น
  • หากคุณใช้ไม้เท้า ให้คุณใช้กระเป๋าสะพายอันเล็กๆ เพื่อเก็บสิ่งของ
  • หากคุณต้องการมีเพศสัมพันธ์ ให้คุณใช้ท่าที่ต่างจากเดิม เช่น ท่าที่ใช้มือและหัวเข่ายันพื้น
  • การยืนขาเดียว
  • ย่อตัวและหมุนตัวเพื่อยกหรืออุ้มทารกที่สะโพกข้างเดียว
  • นั่งไขว่ห้าง
  • นั่งบนพื้น หรือนั่งบิดตัว
  • นั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
  • ถือของหนัก เช่น ถุงช็อปปิ้ง ตะกร้าผ้า หรือเครื่องดูดฝุ่นของเด็กวัยเตาะแตะ
  • ดันสิ่งของที่หนัก เช่น รถเข็นในซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • ถือสิ่งของโดยใช้มือข้างเดียว

นอกจากนี้ POGP ยังแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยง

การคลอดลูกขณะที่มีอาการเจ็บท้องน้อย

มีผู้หญิงหลายคนที่มีอาการเจ็บท้องน้อยที่สามารถคลอดลูกทางช่องคลอดได้ตามปกติ ทั้งนี้ให้คุณวางแผนล่วงหน้า และคุยเกี่ยวกับเรื่องแผนการคลอด (Birth Plan) กับสูติแพทย์ นอกจากนี้ให้คุณเขียนในแผนการคลอดว่าคุณมีอาการเจ็บท้องน้อยเพื่อที่คนที่มีส่วนช่วยในระหว่างคลอดจะได้ตระหนักถึงภาวะดังกล่าว รวมถึงคิดเกี่ยวกับท่าคลอดลูกที่ทำให้คุณรู้สึกสบายมากที่สุด และให้คุณเขียนลงในแผนการคลอด

อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกในน้ำสามารถช่วยลดแรงกดที่ข้อต่อ และช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้สะดวกมากขึ้น หากคุณสนใจวิธีการคลอดดังกล่าว คุณสามารถปรึกษาสูติแพทย์

พิสัยการเคลื่อนไหวที่ไม่ทำให้คุณมีอาการปวด

หากคุณมีอาการปวดเมื่ออ้าขา ให้คุณลองหาพิสัยการเคลื่อนไหวที่ไม่ทำให้รู้สึกปวด อย่างไรก็ดี คุณสามารถทำเช่นนี้โดยให้คุณหงายหลัง หรือนั่งที่มุมของเก้าอี้ และอ้าขาให้กว้างที่สุดเท่าที่สามารถทำได้โดยที่คุณไม่รู้สึกปวด ซึ่งระยะห่างระหว่างหัวเข่าคือ พิสัยที่ทำให้คุณไม่รู้สึกปวด

คุณสามารถปกป้องข้อต่อโดยไม่อ้าขากว้างกว่าพิสัยดังกล่าวในระหว่างที่คลอดลูก ซึ่งจะยิ่งสำคัญหากแพทย์ให้ยาระงับปวดทางช่องเหนือไขสันหลัง เพราะคุณจะไม่รู้สึกปวด ทำให้ไม่รู้ว่าคุณอ้าขากว้างเกินไปหรือไม่ ดังนั้นคุณควรแจ้งให้สูติแพทย์ทราบเกี่ยวกับพิสัยการเคลื่อนไหวของขาก่อน

เมื่ออยู่ในระยะที่ 2 ของการคลอด การนอนตะแคงข้างสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ขาแยกออกจากกันมากเกินไป คุณสามารถให้กำเนิดทารกโดยใช้ท่านี้หากคุณต้องการ

ในบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องอ้าขาให้กว้างกว่าพิสัยการเคลื่อนไหวที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บเพื่อให้คลอดลูกได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะหากคุณต้องใช้อุปกรณ์สำหรับช่วยคลอด ในกรณีนี้คุณก็ยังสามารถจำกัดการอ้าขา แต่คุณควรแจ้งสูติแพทย์ให้ทราบว่าคุณมีอาการปวดท้องน้อย

หากคุณอ้าขาเกินกว่าพิสัยการเคลื่อนไหว นักกายภาพบำบัดควรประเมินร่างกายของคุณหลังจากคลอดลูก ทั้งนี้ให้คุณดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษจนกระทั่งพวกเขาประเมินและให้คำแนะนำแก่คุณ

ปัญหาอื่นๆ ที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์

ร่างกายของคุณต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายในระหว่างตั้งครรภ์ ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงอาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวล สำหรับปัญหาสุขภาพทั่วไปที่พบได้ในขณะตั้งครรภ์มีดังนี้

  1. อาการท้องผูก

    คุณอาจมีอาการท้องผูกในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

    มีหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูก ตัวอย่างเช่น

    • ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ขนมปังโฮลวีท ซีเรียล ผลไม้ ผัก ถั่วชนิดต่างๆ ฯลฯ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
    • ดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องทานธาตุเหล็กแบบอาหารเสริมในภายหลัง เพราะมันสามารถทำให้คุณมีอาการท้องผูก ให้คุณลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือเปลี่ยนชนิดของอาหารเสริม
  2. ตะคริว

    ตะคริวเป็นอาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันและทำให้เรารู้สึกเจ็บแปลบ โดยมักเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อน่องหรือฝ่าเท้า และมักเกิดขึ้นตอนกลางคืน

    การป้องกัน

    ให้คุณออกกำลังกายแบบเบาๆ ขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวข้อเท้าและขาที่จะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะคริว คุณสามารถออกกำลังกายฝ่าเท้าโดยทำตามวิธีดังนี้

    • งอและยืดฝ่าเท้าขึ้นลงอย่างแข็งขัน 30 ครั้ง
    • หมุนฝ่าเท้า 8 ครั้งไปในทางเดียวกัน และทำเช่นนี้อีกครั้งแต่ให้หมุนไปคนละฝั่ง
    • ทำเช่นนี้อีกครั้งแต่ให้เปลี่ยนไปใช้ฝ่าเท้าอีกข้าง

    วิธีบรรเทาอาการ

    การดึงนิ้วเท้าขึ้นและชี้ไปทางข้อเท้า หรือการถูกล้ามเนื้ออย่างแรงมักช่วยบรรเทาความเจ็บปวดขณะเป็นตะคริวได้ แต่คุณควรปรึกษาสูติแพทย์ แพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานยาแก้ปวดในขณะตั้งครรภ์อยู่เสมอ

  3. หน้ามืด

    ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มักมีอาการหน้ามืด เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งนี้อาการหน้ามืดเกิดขึ้นเมื่อสมองของคุณไม่ได้รับเลือดอย่างเพียงพอ ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนตามไปด้วย

    คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการหน้ามืดหากคุณยืนขึ้นหรือลุกออกจากอ่างอาบน้ำเร็วเกินไป แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นเมื่อคุณนอนหงายหลังเช่นกัน

    การป้องกัน

    สำหรับวิธีการป้องกันอาการหน้ามืดมีดังนี้

    • ลุกขึ้นยืนอย่างช้าๆ หลังจากนั่งหรือนอน
    • หากคุณรู้สึกหน้ามืดเมื่อยืนนิ่งๆ ให้คุณรีบหาที่นั่ง และอาการดังกล่าวควรจะหายไป แต่หากไม่เป็นเช่นนี้ ให้คุณนอนตะแคงข้าง
    • หากคุณรู้สึกหน้ามืดในขณะนอนหงายหลัง ให้คุณเปลี่ยนมานอนตะแคงข้าง
    • หลีกเลี่ยงการนอนหงายหลังแบบราบไปกับพื้นตอนตั้งครรภ์ช่วงท้ายหรือในระหว่างคลอดลูก

    สำหรับอาการที่บอกว่าคุณกำลังจะหน้ามืดประกอบไปด้วยการมีเหงื่อออกจนร่างกายชื้นแบบฉับพลัน การได้ยินเสียงกังวานในหู และการหายใจเร็วและลึก

  4. รู้สึกร้อน

    ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณมีแนวโน้มที่จะรู้สึกอุ่นมากกว่าปกติเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และมีการไหลเวียนของเลือดที่ผิวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณมีแนวโน้มที่จะมีเหงื่อออกมากขึ้นเช่นกัน

    วิธีบรรเทาอาการ

    สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เพราะมันสามารถดูดซับและช่วยให้ผิวหายใจได้มากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์
    รักษาอุณหภูมิห้องให้เย็น คุณสามารถนำพัดลมไฟฟ้ามาช่วยอีกแรง
    อาบน้ำบ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกสดชื่น

  5. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

    ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ในระหว่างและหลังตั้งครรภ์ ในบางครั้งผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะเมื่อไอ หัวเราะ จาม เมื่อเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว หรือเมื่อลุกขึ้นยืนหลังจากนั่ง

    อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นชั่วคราว เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ กระเพาะปัสสาวะคลายตัวเล็กน้อยเพื่อให้พร้อมสำหรับการคลอด

    การป้องกัน

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว

    • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม: การมีน้ำหนักเกินมาตรฐานสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คุณอาจลดความเสี่ยงโดยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยออกกำลังกายเป็นประจำและทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่มน้ำ: แพทย์สามารถแนะนำปริมาณของน้ำที่คุณควรดื่ม หากคุณตกอยู่ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้คุณลดการดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และโคลา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้สามารถทำให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะออกมามากขึ้นและทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง อย่างไรก็ตาม หากคุณปัสสาวะบ่อยในระหว่างคืน ให้คุณดื่มน้ำให้น้อยลงก่อนเข้านอน แต่ทั้งนี้คุณยังจำเป็นต้องดื่มน้ำให้เพียงพอในระหว่างวัน
    • ออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน: การตั้งครรภ์และคลอดลูกสามารถทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการไหลของปัสสาวะที่มาจากกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ หากคุณตั้งครรภ์ การเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  6. ปัสสาวะเป็นจำนวนมาก

    การรู้สึกอยากปัสสาวะอาจเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ ในบางครั้งอาการดังกล่าวจะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ เมื่อคุณตั้งครรภ์ไปสักพัก การที่คุณปัสสาวะบ่อยกว่าปกตินั้นก็เป็นเพราะว่าศีรษะของทารกกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ

    วิธีบรรเทาอาการ

    หากคุณจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะ ให้คุณพยายามลดการดื่มน้ำในช่วงหัวค่ำ และดื่มเครื่องดื่มที่ปลอดแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในระหว่างวัน

    นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนพบว่าการโยกตัวไปด้านหน้าและด้านหลังในขณะที่อยู่บนโถส้วมสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เพราะมันจะช่วยลดแรงกดของมดลูกบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณสามารถขับปัสสาวะได้อย่างเต็มที่

    หากคุณรู้สึกเจ็บในขณะที่ขับปัสสาวะหรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ คุณอาจติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ทั้งนี้ให้คุณดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อเจือจางน้ำปัสสาวะและบรรเทาอาการเจ็บ รวมถึงไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่พบอาการเหล่านี้ครั้งแรก

    อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรทานยาชนิดใดๆ ก็ตามโดยไม่ได้ปรึกษาสูติแพทย์ แพทย์ หรือเภสัชกรแม้ว่ายาเหล่านั้นปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

  7. ผิวและเส้นผมเกิดการเปลี่ยนแปลง

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์จะทำให้หัวนมและบริเวณรอบๆ มีสีเข้มขึ้น นอกจากนี้สีผิวของคุณอาจมีสีเข้มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปื้นหรือทั่วทั้งบริเวณ

    ยิ่งไปกว่านั้น สีของปาน ไฝ และกระอาจมีสีเข้มขึ้นเช่นกัน ผู้หญิงบางคนพบว่าตัวเองมีเส้นสีดำที่กึ่งกลางหน้าท้อง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะค่อยๆ จางลงหลังคลอดลูก แต่หัวนมของคุณอาจยังคงมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย

    หากคุณอาบแดดขณะตั้งครรภ์ คุณอาจพบว่าผิวของตัวเองไหม้อย่างง่ายดาย ดังนั้นให้คุณปกป้องผิวของคุณโดยใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง และไม่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน

    นอกจากนี้คุณอาจพบว่าตัวเองมีขนดกมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และเส้นขนอาจมีความมันมากขึ้น หลังจากคลอดลูก คุณอาจรู้สึกว่ามีเส้นขนร่วงเป็นจำนวนมาก แต่ความจริงแล้วคุณสูญเสียเส้นขนส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์

  8. เส้นเลือดขอด

    เส้นเลือดขอด คือ เส้นเลือดดำที่โป่งพอง ซึ่งมักเกิดขึ้นที่เส้นเลือดดำของขา นอกจากนี้ปากช่องคลอดของคุณก็สามารถมีเส้นเลือดขอด แต่เส้นเลือดดังกล่าวมักมีสภาพดีขึ้นหลังจากที่คุณคลอดลูก หากคุณมีเส้นเลือดขอด คุณควร

    • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน
    • พยายามไม่นั่งไขว่ห้าง
    • ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะมันจะทำให้แรงกดเพิ่มขึ้น
    • นั่งโดยยกขาขึ้นให้บ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายตัว
    • ใส่กางเกงที่ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ
    • พยายามนอนโดยยกขาให้สูงกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ให้คุณใช้หมอนวางไว้ที่ใต้ข้อเท้า หรือนำหนังสือมารองที่ขาเตียง
    • ออกกำลังกายฝ่าเท้าและออกกำลังกายชนิดอื่นๆ ที่ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถทำได้ เช่น การเดิน และการว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

    สำหรับวิธีออกกำลังกายฝ่าเท้ามีดังนี้

    • ให้งอและยืดฝ่าเท้าขึ้นลงเป็นจำนวน 30 ครั้ง
    • หมุนฝ่าเท้า 8 ครั้งไปในทางเดียวกัน และทำซ้ำโดยให้เปลี่ยนทิศทาง
    • ทำซ้ำอีกรอบแต่ให้เปลี่ยนฝ่าเท้า
  9. โรคริดสีดวงทวาร

    การเป็นโรคริดสีดวงทวารทำให้ผู้ป่วยมีหลอดเลือดดำใหญ่ขึ้นและโป่งพองภายในหรือรอบๆ ไส้ตรงส่วนล่างและรูทวาร ซึ่งทุกคนสามารถเป็นโรคดังกล่าว แต่เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณสามารถเป็นโรคริดสีดวงทวารเพราะว่าฮอร์โมนทำให้หลอดเลือดดำคลายตัว

    หากคุณเป็นโรคดังกล่าว คุณอาจมีอาการคัน ปวด หรือรู้สึกเจ็บ นอกจากนี้คุณสามารถรู้สึกได้ถึงก้อนเนื้อที่ยื่นออกมารอบๆ รูทวาร รวมถึงมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย และสามารถทำให้รู้สึกรำคาญใจหรือเจ็บปวดเมื่อเข้าห้องน้ำ

    คุณอาจรู้สึกเจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ และมีเมือกเหลวไหลออกมาในภายหลัง บางครั้งคุณอาจรู้สึกราวกับว่าลำไส้เต็มไปด้วยอุจจาระและจำเป็นต้องปลดปล่อย อย่างไรก็ตาม โรคริดสีดวงมักหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากคลอดลูก

    วิธีบรรเทาอาการ

    อาการท้องผูกสามารถทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หากเป็นเช่นนี้ ให้คุณพยายามทำให้อุจจาระนุ่มลงและขับถ่ายเป็นประจำ คุณสามารถบรรเทาอาการและป้องกันโรคริดสีดวงโดยปรับเปลี่ยนในเรื่องของอาหารการกินและไลฟ์สไตล์ เช่น

    • ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ขนมปังธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ ผัก ฯลฯ และดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน
    • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
    • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยให้คุณนำผ้ามาวางบริเวณที่เป็นริดสีดวงอย่างอ่อนโยน หากมีก้อนเนื้อยื่นออกมา ให้คุณดันมันเข้าไปอย่างเบามือโดยใช้เจลหล่อลื่น
    • หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระแรงเกินไป เพราะมันจะทำให้อาการแย่ลง
    • หลังจากที่ถ่ายอุจจาระ ให้คุณทำความสะอาดรูทวารโดยใช้กระดาษชำระที่ชุ่มน้ำแทนการใช้กระดาษชำระที่แห้ง
    • ใช้วิธีการซับแทนการถู

    มียาหลายชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบรอบๆ รูทวาร ซึ่งยาเหล่านี้สามารถช่วยรักษาอาการของโรค แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ทั้งนี้ให้คุณสอบถามแพทย์ สูติแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อให้เขาแนะนำออยท์เมนท์ที่ช่วยบรรเทาอาการปวด และคุณไม่ควรใช้ครีมหรือยาโดยไม่ได้ปรึกษาพวกเขาก่อน

  10. เลือดออกที่เหงือก

    ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์บางคนมีเหงือกบวมและเจ็บเหงือกซึ่งอาจทำให้เลือดไหล โดยเกิดจากการมีคราบพลัคสะสมอยู่บนฟัน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์สามารถทำให้เหงือกของคุณเสี่ยงต่อการมีคราบพลัค ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและการมีเลือดออก นอกจากนี้เรายังเรียกภาวะดังกล่าวว่าโรคเหงือกอักเสบ

    การรักษาสุขภาพฟันและเหงือกขณะตั้งครรภ์

    การรักษาฟันและเหงือกให้สะอาดและสุขภาพดีมากที่สุดเท่าที่สามารถเป็นไปได้ในขณะตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งวิธีป้องกันหรือรับมือกับปัญหาโรคเหงือกที่ดีที่สุดคือ การดูสุขอนามัยของช่องปากเป็นกิจวัตร

    นอกจากนี้ให้คุณไปพบทันตแพทย์เพื่อที่พวกเขาจะได้ช่วยตรวจสภาพฟันและทำความสะอาด รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดฟันที่บ้าน สำหรับวิธีดูแลฟันและเหงือกที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้านมีดังนี้

    • ทำความสะอาดฟันอย่างระมัดระวัง 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 นาทีโดยใช้ยาสีฟันสูตรฟลูออไรด์ คุณอาจสอบถาม  ทันตแพทย์เกี่ยวกับวิธีแปรงฟันที่ถูกต้องที่สามารถกำจัดคราบพลัคได้ทั้งหมด
    • ใช้แปรงสีฟันที่มีหัวขนาดเล็กและมีขนแปรงที่นุ่ม รวมถึงมีด้านจับที่สะดวกต่อการถือ
    • จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม หรือชาที่มีรสหวาน และอาหารที่มีน้ำตาลสูงไม่ให้บ่อยเกินไป และพยายามทานอาหารเหล่านี้เมื่อถึงเวลาทานอาหาร
    • หากคุณรู้สึกหิวในระหว่างมื้ออาหาร ให้คุณทานผัก และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรืออาหารที่มีกรดสูง
    • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
    • เลิกสูบบุหรี่ เพราะมันสามารถทำให้อาการของโรคเหงือกแย่ลง
    • หากคุณมีอาการแพ้ท้อง ให้คุณล้างปากโดยใช้น้ำเปล่าหลังจากอาเจียนแต่ละครั้ง การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้กรดในอาเจียนทำร้ายฟัน
    • ไม่แปรงฟันทันทีหลังทานอาหาร แต่ให้รอประมาณ 1 ชั่วโมง เนื่องจากเคลือบฟันอาจถูกทำลายโดยเฉพาะหากทานอาหารที่มีสภาพเป็นกรด

    การรักษาฟันที่ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์

    เมื่อคุณไปพบทันตแพทย์ คุณต้องแจ้งให้เขาทราบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ และให้แจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับการเลื่อนอุดฟันจนกระทั่งคุณคลอดลูก ทั้งนี้ The Department of Health แนะนำว่าทันตแพทย์ไม่ควรนำสารอมัลกัมออกจากฟันในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์

    ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องเอ็กซ์เรย์ฟัน โดยทั่วไปแล้ว ทันตแพทย์จะรอจนกระทั่งคุณคลอดลูก แม้ว่าการเอ็กซ์เรย์ช่องปากส่วนมากไม่ได้ส่งผลกระทบต่อท้องหรือบริเวณเชิงกราน

  11. อาเจียนขั้นรุนแรง

    การมีอาการคลื่นไส้อาเจียนขณะตั้งครรภ์นับว่าเป็นเรื่องปกติ มีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ประมาณ 7 ใน 10 ที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน หรือไม่ก็มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาการไม่ได้เกิดขึ้นในตอนเช้าเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงส่วนมากพบว่าอาการเหล่านี้หายไปอย่างสมบูรณ์ หรือมีอาการดีขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์ แต่ผู้หญิงบางคนกลับมีอาการเกิดขึ้นนานกว่านั้น

    ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์บางคนมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากกว่าปกติ รวมถึงอาจมีอาการดังกล่าวหลายครั้งต่อวัน และไม่สามารถทานอาหารหรือดื่มน้ำ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

    การมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากกว่าปกตินั้นเรียกว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) หรือภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรง และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดของจำนวนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ที่ตกอยู่ในภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรง แต่คาดว่ามีผู้หญิง 1 ใน 100 คนที่ประสบภาวะดังกล่าว

    หากคุณมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยครั้งและไม่สามารถทานอาหาร ให้คุณแจ้งสูติแพทย์หรือแพทย์ และรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถเป็นไปได้ เพราะร่างกายของคุณมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะขาดน้ำ และทีมแพทย์จะได้หาวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคุณต่อไป

    อาการ

    สัญญาณและอาการของภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงมีดังนี้

    • คลื่นไส้และอาเจียนขั้นรุนแรงและกินเวลานาน ซึ่งมีการรายงานว่าผู้หญิงบางคนมีอาการดังกล่าว 50 ครั้งต่อวัน
    • ร่างกายขาดน้ำ เพราะคุณไม่สามารถดื่มน้ำ หากคุณดื่มน้ำน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร คุณจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
    • เกิดภาวะคีโตซิส ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงที่จะนำไปสู่การมีกรดในเลือดและน้ำปัสสาวะ
    • น้ำหนักลด
    • มีความดันโลหิตต่ำเมื่อยืน

    อย่างไรก็ตาม ภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงแตกต่างจากการมีอาการแพ้ท้องทั่วไปตรงที่อาการอาจไม่ดีขึ้นภายใน 14 สัปดาห์ และอาจไม่หายไปอย่างสมบูรณ์จนกระทั่งคลอดลูก แต่บางอาการก็อาจดีขึ้นในช่วงที่มีอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์

    หากคุณรู้ตัวว่ามีอาการคลื่นไส้และอาเจียนขั้นรุนแรง ให้คุณไปพบแพทย์หรือสูติแพทย์ ถ้าจะให้ดี คุณควรรีบไปก่อนที่ร่างกายจะตกอยู่ในภาวะขาดน้ำและก่อนที่น้ำหนักตัวจะลดลง

    สาเหตุ

    ยังไม่มีใครรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรง หรือทำไมผู้หญิงบางคนถึงมีอาการดังกล่าวในขณะที่ผู้หญิงบางคนกลับไม่เป็น ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์

    นอกจากนี้มีบางหลักฐานระบุว่าภาวะดังกล่าวถ่ายทอดภายในครอบครัว ดังนั้นหากคุณมีแม่หรือพี่สาวที่มีภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงขณะตั้งครรภ์ คุณอาจมีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะดังกล่าวเช่นกัน

    หากคุณเคยแพ้ท้องขั้นรุนแรงในช่วงการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการที่ว่าอีกครั้งในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไปมากกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยมีอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรง

    การรักษา

    มียาหลายชนิดที่คุณสามารถใช้ขณะตั้งครรภ์ซึ่งหมายความรวมถึงช่วง 12 สัปดาห์แรก ซึ่งยาสามารถช่วยให้อาการบรรเทาลง โดยประกอบไปด้วยยาแก้คลื่นไส้อาเจียน วิตามิน (บี6 และบี12) และสเตียรอยด์ หรือใช้ยาเหล่านี้ควบคู่กันไป

    มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่ายิ่งคุณเริ่มรักษาตัวเร็วเท่าไร ยาก็จะมีประสิทธิผลมากเท่านั้น คุณอาจจำเป็นต้องลองยาหลายชนิดจนกว่าจะเจอยาที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

    หากไม่สามารถควบคุมอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ คุณอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์จะได้ประเมินอาการและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมเพื่อปกป้องสุขภาพของทั้งคุณและเด็กในครรภ์

    สำหรับการรักษานั้นประกอบไปด้วยการให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง หากคุณอาเจียนขั้นรุนแรง คุณอาจจำเป็นต้องได้รับยาแก้อาเจียนและคลื่นไส้ผ่านทางเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ

ภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงทำให้เกิดอันตรายต่อทารกหรือไม่?

ภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงไม่มีแนวโน้มว่าจะทำอันตรายต่อเด็กในครรภ์หากได้รับการรักษาที่มีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม หากภาวะดังกล่าวทำให้คุณมีน้ำหนักตัวลดลงในระหว่างตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดมามีขนาดตัวเล็กกว่าที่คาดไว้ก็จะสูงขึ้น หรือมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยลงนั่นเอง

อาการอื่นๆ ที่คุณอาจประสบ

นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ผู้หญิงบางคนก็อาจมีอาการดังนี้

  • จมูกมีความไวต่อกลิ่นมากขึ้น
  • น้ำลายถูกผลิตออกมามากกว่าปกติ
  • ปวดศีรษะและท้องผูกจากการขาดน้ำ
  • มีแผลกดทับจากการที่ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการอาเจียนประกอบกับมีการหลั่งฮอร์โมนรีแลกซินขณะตั้งครรภ์

หากคุณประสบอาการเหล่านี้ คุณไม่ต้องกังวลเพราะมีผู้หญิงหลายคนที่มีอาการดังกล่าวเช่นกัน แม้ว่ามันสามารถทำให้คุณรู้สึกเป็นทุกข์ แต่อาการข้างต้นจะหายไปเมื่อคุณไม่มีอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรงหรือหลังจากคลอดลูก

ความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่มีอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรง

คุณอาจรู้สึกว่าอาการคลื่นไส้และอาเจียนขั้นรุนแรงสามารถส่งผลต่อชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งมันสามารถส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้คุณเดือดร้อนเท่านั้น แต่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น โรคซึมเศร้า หรือการฉีกขาดภายในหลอดอาหาร

การอาเจียนและคลื่นไส้ขั้นรุนแรงสามารถทำให้คุณอ่อนเพลีย และขัดขวางการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การไปทำงาน หรือแม้แต่การเข้านอน นอกจากการรู้สึกไม่สบายและเหนื่อยแล้ว คุณอาจรู้สึกดังนี้

  • วิตกกังวลเกี่ยวกับการออกไปนอกบ้าน หรือการเดินทางไปยังสถานที่ๆ ไกลจากบ้านมากเกินไป เพราะในบางกรณีคุณจำเป็นต้องอาเจียน
  • รู้สึกโดดเดี่ยวเพราะคนที่คุณรู้จักอาจไม่เข้าใจความรู้สึกเมื่อมีอาการอาเจียนและคลื่นไส้ขั้นรุนแรง
  • สับสนว่าทำไมตัวเองถึงมีอาการเช่นนี้
  • ไม่แน่ใจว่าคุณสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หลังจากนี้หากคุณยังคงมีอาการป่วยอย่างต่อเนื่อง

หากคุณรู้สึกตามที่เรากล่าวไปไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คุณไม่ควรเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเอง แต่ให้ลองปรึกษาสูติแพทย์ หรือแพทย์ โดยให้อธิบายเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงที่มีต่อชีวิตของคุณ นอกจากนี้คุณสามารถพูดคุยกับคนรัก ครอบครัว หรือเพื่อนหากคุณต้องการ

อย่างไรก็ตาม ให้คุณจำไว้ว่าภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรงทำให้คุณรู้สึกแย่ได้มากกว่าอาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นตามปกติ และคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาและการช่วยเหลือ

การตั้งครรภ์อีกครั้ง

หากคุณตั้งครรภ์อีกครั้งโดยที่เคยมีอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรงเมื่อตั้งครรภ์ครั้งก่อน มันก็มีแนวโน้มว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ดังนั้นคุณควรวางแผนล่วงหน้า เช่น การเตรียมเรื่องการดูแลลูกเพื่อที่คุณจะได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ

นอกจากนี้ให้คุณลองนึกว่ามีสิ่งใดที่ช่วยให้อาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เมื่อรู้แล้วว่าสิ่งใดที่ช่วยให้คุณรู้สึกดี คุณก็นำมาปรับใช้กับการตั้งครรภ์ ณ ปัจจุบัน รวมถึงให้คุณปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเริ่มทานยาตั้งแต่เนิ่นๆ

การแข็งตัวของเลือดและอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรง

เนื่องจากอาการแพ้ท้องขั้นรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ความเสี่ยงที่เลือดเกิดการแข็งตัวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยก็ตาม หากคุณตกอยู่ในภาวะขาดน้ำและไม่สามารถเคลื่อนไหว คุณจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Problems in Pregnancy. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/pregnancy-health-problems)
Health Problems in Pregnancy | Gestational Diabetes. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/healthproblemsinpregnancy.html)
Common health problems in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/common-pregnancy-problems/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม