กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ดื่มชา กาแฟ มีผลร้ายกับทารกในครรภ์อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ดื่มชา กาแฟ มีผลร้ายกับทารกในครรภ์อย่างไร

คุณแม่หลายท่านที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะกังวลว่าการดื่มชา หรือ กาแฟ จะมีผลกระทบกับทารกในครรภ์หรือไม่ วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มชา หรือกาแฟค่ะ

มีรายงานทางการแพทย์พบว่า สารคาเฟอีนสามารถ่ายทอดผ่านสายรกเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้ แต่ยังไม่มีรายงานวว่าส่งผลอันตรายต่อทารกอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์แนะนำให้งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ ชา กาแฟ เป็นต้นเมื่อคุณแม่เริ่มรู้ว่าตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลของคาเฟอีนที่มีต่อแม่และทารกในครรภ์ได้แก่

  1. คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ โดยขับน้ำและแคลเซียมออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดน้ำและ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ซึ่งจะมีผลเสียต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์
  2. ในการดื่ม ชา กาแฟ มักจะผสมครีมเทียมและน้ำตาล ซึ่งครีมเทียมและน้ำตาลนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของแม่ เนื่องจากทำให้แม่มีน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์น้ำหนักเกิน 
  3. คาเฟอีนจะทำให้นอนหลับยากขึ้น ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนที่พอเพียงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเติบโตของทารกในครรภ์
  4. คาเฟอีนจะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กที่เป็นสารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  5. งานวิจัยพบว่า การดื่มคาเฟอีนที่มากเกินขนาดมีผลให้หัวใจของทารกในครรภ์เต้นเร็วผิดปกติ และอาจมีการชักกระตุก และมีภาวะโรคเบาหวานในเวลาต่อมา

ดังนั้นคนที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ควรหาเครื่องดื่มอย่างอื่นทดแทน เช่น น้ำผลไม้สด หรือน้ำเปล่า (อุณหภูมิปกติ) ก้ได้ หากมีอาการติดคาเฟอีน  ควรหาอย่างอื่นทำที่กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตแทนสารคาเฟอีน เช่น เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น 

นอกจากนี้ เรายังสามารถลดอาการหงุดหงิดจากการติดคาเฟอีนได้โดยในช่วงเริ่มต้น ควรลดปริมาณลงทีละน้อย จนไม่ต้องดื่มเลย หรืออาจจะใช้วิธีดื่มกาแฟที่สกัดคาเฟอีนออกแทนการดื่มกาแฟปกติ นอกจากนี้ควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ด้วยการกินอาหารบ่อยขึ้น เลือกกินโปรตีนเพิ่มขึ้น ทานอาหารพวกแป้งและน้ำตาลให้มากพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนลงได้ค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food and nutrition. Caffeine in foods. Ottawa, ON: Health Canada; 2012. Available from: (www.hc-sc.gc.ca/fn-an/securit/addit/caf/index-eng.php.)
Sara Morgan, RPh, Is caffeine consumption safe during pregnancy?(https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), April 2003

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม