กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ชิลเบลนส์

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ชิลเบลนส์

ภาวะชิลเบลนส์คือปฏิกิริยาบนผิวหนังที่มีต่ออุณหภูมิหนาวเย็น จนมีอาการคันและผิวหนังบวม

โดยมากแล้วมักจะแสดงอาการบนอวัยวะที่ยื่นออกจากร่างกาย เช่นบนนิ้วเท้า นิ้วมือ ส้นเท้า ใบหู และจมูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชิลเบลนส์ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว มักไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแบบถาวร และจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์เมื่อพยายามเลี่ยงการออกไปเจอสภาพอากาศหนาว

อาการและสัญญาณของชิลเบลนส์

 ภาวะชิลเบลนส์มักจะเกิดขึ้นภายหลังสัมผัสกับความหนาวเย็นหลายชั่วโมง โดยมักจะก่อให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน ณ บริเวณที่เป็นก่อน ซึ่งจะรุนแรงขึ้นหากคุณเข้าไปในห้องที่อบอุ่น

ผิวหนังที่ได้รับผลกระทบอาจมีอาการบวมและเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียวเข้มก็ได้

สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรง พื้นผิวอาจแตกออกและมีอาการปวดเมื่อยหรือมีตุ่มหนองได้ด้วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้ามเกาผิวหนังที่มีอาการเด็ดขาดเนื่องจากจะทำให้ผิวหนังแตกและติดเชื้อได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ผู้ป่วยภาวะชิลเบลนส์ส่วนมากไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ เนื่องจากภาวะจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์และมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาถาวร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณควรไปพบแพทย์เมื่อคุณมี: มีอาการของชิลเบลนส์รุนแรงหรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อาการของชิลเบลนส์ไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปหลายสัปดาห์

คุณควรรีบไปพบแพทย์หากว่าคุณคาดว่าผิวหนังของคุณติดเชื้อ

โดยสัญญาณของการติดเชื้อมีดังนี้: บริเวณที่เป็นมีอาการบวมและมีหนองก่อตัวขึ้น คุณรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ต่อมต่าง ๆ โตขึ้น

อะไรเป็นสาเหตุของชิลเบลนส์?

ชิลเบลนส์เป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่ผิดปรกติของผิวหนังที่สัมผัสกับความเย็น มักเกิดได้บ่อยกับประเทศที่มีความชื้นและมีฤดูหนาวที่หนาวเย็นจัด ๆ

บางคนอาจมีอาการชิลเบลนส์ยาวนานหลายเดือนในช่วงฤดูหนาวก็ได้

เมื่อผิวหนังโดนความเย็น หลอดเลือดใกล้กับพื้นผิวหนังจะรับไม่ได้และเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตขึ้น จนทำให้หลอดเลือดเกิดรั่วไหลไปสู่เนื้อเยื่อใกล้เคียงและก่อให้เกิดอาการบวมและคัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางคนอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะชิลเบลนส์มากกว่าผู้อื่นเช่น: ผู้ที่มีการไหลเวียนโลหิตไม่ดี ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่มีประวัติเคยเป็นชิลเบลนส์ มักต้องสัมผัสกับอาการเย็นชื้น มีน้ำหนักร่างกายน้อยหรือทานอาหารไม่ถูกสุขภาพ เป็นโรคลูปัส: ภาวะระยะยาวที่ทำให้เนื้อเยื่อร่างกายบวมขึ้น เลือดลมไม่ดี: ภาวะทั่วไปที่ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้วมือและนิ้วเท้า

ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อชิลเบลนส์มากขึ้นเพราะสารนิโคตินเข้าไปบีบรัดหลอดเลือด

ชิลเบลนส์สามารถเกิดกับผิวหนังเท้าที่โดนกดทับได้ อย่างเช่นภาวะหัวแม่เท้าเอียง หรือนิ้วเท้าที่ถูกกบีบรัดจากการใส่รองเท้าคับเกินไป

การรักษาชิลเบลนส์

ชิลเบลนส์มักจะดีขึ้นเองภายหลังแสดงอาการครั้งแรกประมาณหนึ่งหรือสองสัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษาใด ๆ

คุณสามารถบรรเทาอาการคันที่เกิดขึ้นด้วยโลชั่นดูแลผิวอย่างเช่นคาลาไมน์ โดยทางเภสัชกรสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อผิวหนังที่เหมาะสมกับคุณได้

หากคุณประสบกับภาวะชิลเบลนส์รุนแรงและเป็นซ้ำ ๆ ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์จ่ายยาเม็ดหรือแคปซูลที่เรียกว่าไนเฟดิพินมาให้ ซึ่งมีฤทธิ์ผ่อนคลายหลอดเลือดและเพิ่มการไหลเวียนเลือดของคุณขึ้น

ยาไนเฟดิพินสามารถใช้ในการฟื้นตัวจากชิลเบลนส์ หรือใช้ระหว่างหน้าหนาวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะชิลเบลนส์ก็ได้

การป้องกันชิลเบลนส์

หากคุณมีความอ่อนไหวต่อภาวะชิลเบลนส์ คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้ด้วย: จำกัดเวลาที่ต้องออกไปสัมผัสกับความหนาวเย็น ดูแลเท้าให้ดี ทำทุกวิธีเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต

หากผิวหนังของคุณเย็น ควรค่อย ๆ ทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากการทำความร้อนที่ผิวหนังเร็วเกินไปอย่างการนำเท้าจุ่มน้ำร้อนหรือเข้าใกล้เครื่องทำความร้อนจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นชิลเบลนส์

คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

  • เลิกสูบบุหรี่: สารนิโคตินจะทำให้หลอดเลือดบีบตัวจนอาจทำให้อาการของชิลเบลนส์ทรุดลง
  • ทำตัวให้กระฉับกระเฉง: เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
  • สวมใส่เท้าผ้าอุ่น ๆ และปิดมือ เท้า และขาของคุณไว้: สวมกางเกงขายาว รองเท้าบู๊ตยาว ถุงเท้าหนา ๆ และสวมถุงเท้าสะอาดขณะนอนหลับเพื่อไม่ให้เท้าเย็น
  • เลี่ยงการใส่รองเท้าแน่นหรือคับเกินไป: เนื่องจากจะทำให้การไหลเวียนโลหิตไปยังเท้าและนิ้วเท้าลดน้อยลง
  • ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ: เพื่อไม่ให้ผิวหนังแห้งและแตก
  • ทานอาหารร้อนอย่างน้อยหนึ่งมื้อระหว่างวัน: จะช่วยทำให้ร่างกายของคุณอุ่นขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น
  • ทำให้เท้าอบอุ่นก่อนสวมรองเท้า: และพยายามเช็ดเท้าที่เปียกชื้นให้แห้งก่อนสวมรองเท้า เพราะหากเท้าเย็น ก็ไม่ควรสวมรองเท้าร้อน ๆ เพื่อป้องกันการเกิดชิลเบลนส์
  • ทำให้บ้านที่อยู่อาศัยอบอุ่น
  • หากคุณเป็นเบาหวาน ควรตรวจสภาพเท้าของคุณเป็นประจำ (หรือให้ผู้อื่นตรวจให้): เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานจะไม่มีความรู้สึกที่เท้า และอาจทำให้เกิดชิลเบลนส์ติดเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว

ภาวะแทรกซ้อนของชิลเบลนส์

หากคุณเป็นภาวะชิลเบลนส์รุนแรงหรือเป็นซ้ำซาก จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาต่อไปนี้:

  • การติดเชื้อจากตุ่มหนองหรือจากการเกาผิวหนัง
  • เกิดแผลบนผิวหนัง
  • ผิวหนังเปลี่ยนสีถาวร
  • รอยแผลเป็น

คุณสามารถเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ด้วย: ไม่เกาหรือขยี้ผิวหนังที่มีอาการ ไม่ประคบร้อนที่ผิวหนังที่มีภาวะชิลเบลนส์โดยตรง (อย่างการใช้น้ำร้อนราด)

คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ด้วยทำความสะอาดผิวหนังที่แตกออกด้วยยาฆ่าเชื้อ และปิดด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งควรทำการเปลี่ยนผ้าทุกวันจนกว่าผิวหนังจะหายดี

หากผิวหนังเกิดติดเชื้อ คุณก็สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
By the way, doctor: What can I do about chilblains?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/what-can-i-do-about-chilblains)
Chilblains. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chilblains/)
Chilblains: Symptoms, complications, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172191)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)