"คุณหมอลูกเป็ด"
เขียนโดย
"คุณหมอลูกเป็ด"
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?

รู้จักภาวะบกพร่องทางการอ่าน หรือ Dyslexia ภาวะหนึ่งซึ่งมีผลต่อการเรียนของเด็ก ไม่สามารถรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ยังมีวิธีช่วยลูกๆ ให้อยู่กับภาวะนี้ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • Dyslexia คือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่าน อาจมีหลายทักษะที่เสียไป เช่น การอ่านคำอย่างถูกต้อง ความคล่องในการอ่าน ความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน มักพบในช่วงปลายของประถมต้น
  • ภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับภาวะอื่นๆ ด้วย เช่น สมาธิสั้น ออทิสติก ซึมเศร้า และวิตกกังวล โดยอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือปัจจัยด้านการเลี้ยงดูก็ได้ 
  • อาการที่สังเกตได้คือ ไม่อยากไปโรงเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน ผลการเรียนไม่ดี (โดยเฉพาะวิชาที่ต้องอ่าน เช่น สังคม ภาษาไทย) ไม่สามารถเลื่อนชั้นตามเพื่อนได้
  • พ่อแม่อาจสอนทักษะที่บกพร่องด้วยความใจเย็น ฝึกให้เด็กหาคำที่มีฐานเสียงเดียวกัน ฝึกผสมคำ ครูควรเข้าใจภาวะที่เด็กเป็น อาจประเมินผลการเรียนด้วยเกณฑ์ต่ำกว่าเพื่อนในห้อง วิธีการสอบเด็กที่เป็น Dyslexia อาจแตกต่างจากเพื่อน
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 

สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการเรียนหนังสือมาก ในกลุ่มพ่อแม่ก็อยากจะให้ผลการเรียนของลูกออกมาดี แต่เด็กบางคนที่ดูน่าจะเข้าใจอะไรได้ง่าย บางครั้งกลับมีผลการเรียนตกต่ำอย่างน่าข้องใจ นั่นอาจเป็นผลมาจากภาวะที่เรียกว่า Dyslexia หรือภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน 

ภาวะ Dyslexia ทำให้สะกดคำไม่เป็นหรืออ่านหนังสือไม่ได้ ตามทักษะในระดับชั้นเรียนที่ควรจะเป็น ปัญหาดังกล่าวย่อมสร้างความกังวล ยิ่งถ้ามีคุณครูแนะนำให้ลองไปพบแพทย์ ในบางครอบครัวก็อาจยิ่งไม่สบายใจขึ้นอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Dyslexia คืออะไร?

Dyslexia เป็นภาษาในวงการแพทย์ (dys หมายถึง ความยากลำบาก ส่วน lexia หมายถึง การอ่าน) หมายถึงภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่าน Dyslexia เป็นหนึ่งในภาวะบกพร่องในการเรียนรู้(Learning disorder (LD)) 

ซึ่ง LD ทั้งหมดประกอบด้วย 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ 

  • การอ่าน (Dyslexia)
  • การเขียน (Dysgraphia) 
  • การคำนวนทางคณิตศาสตร์ (Dyscalcuria) 

สำหรับในประเทศไทย จากการรายงานของสำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักนโยบายยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ภาวะดังกล่าวสามารถพบได้ถึง 7 % ของเด็กวัยเรียน โดยภาวะ Dyslexia เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ทั้งหมด

Dyslexia มีหลายลักษณะตามทักษะที่เสียไป เช่น การอ่านคำอย่างถูกต้อง (accuracy) ความคล่องในการอ่าน (fluency) หรือความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน (comprehension) เป็นต้น 

ในเด็กคนหนึ่งๆ ที่มีภาวะ Dyslexia อาจเสียเพียง 1 ทักษะหรือหลายๆ ทักษะพร้อมกันก็ได้ นอกจากนี้แล้วยังอาจพบร่วมกับภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีกด้วย

เด็กที่เป็น Dyslexia อาจมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมหรือสติปัญญาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภาวะซนสมาธิสั้น (ADHD หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder) 
  • ภาวะออทิสติก (ASD หรือ Autistic Spectrum Disorder) 
  • ภาวะการมีปัญหาทางการสื่อสารและภาษา (Communication Disorder)
  • ภาวะซึมเศร้า (Depressive Disorder) 
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดภาวะ Dyslexia

Dyslexia เกิดได้จาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กเจริญเติบโตมา โดยทั้ง 2 ปัจจัยมักเกิดร่วมกัน

Dyslexia จากปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทหรือสมองส่วนที่ใช้ในการประเมินผลตัวอักษรเพื่อจดจำและแปลงเป็นความเข้าใจ 

รวมถึงความบกพร่องต่อการแยกเสียง ส่วน Dyslexia จากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบาดเจ็บหรือป่วยเป็นโรคที่มีผลต่อสมองหรือพัฒนาการ การเลี้ยงดูในบ้าน การอ่านหนังสือในบ้าน รวมถึงระดับการศึกษาของคนเลี้ยงดู มีส่วนในการส่งผลต่อการเกิดภาวะ Dyslexia ทั้งสิ้น

การสังเกตสัญญาณและอาการของ Dyslexia

อาการของภาวะ Dyslexia จะสังเกตได้ชัดขึ้นหลังจากที่เด็กเข้าเรียนแล้ว อาการส่วนใหญ่ที่ผู้ปกครองจะพาเด็กมาพบแพทย์ ได้แก่ เรียนไม่ทันเพื่อน ผลการเรียนไม่ดี ไม่สามารถเลื่อนชั้นตามเพื่อนได้ รวมถึงมีปัญหาทางด้านพฤติกรรม 

อาการในช่วงต้นของภาวะ Dyslexia อาจพบได้โดยอ้อม เช่น การไม่อยากไปโรงเรียน มีความพยายามหยุดเรียนบ่อยด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม การบ่นไม่ชอบเรียนหนังสือ การใช้เวลาทำงานหรือการบ้านที่ครูให้มากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 

อาการเหล่านี้จะเด่นชัดมากในวิชาที่ต้องใช้ทักษะการอ่านเป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้ เช่น วิชาภาษาไทย หรือวิชาสังคมศึกษา เด็กอาจสามารถเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี แต่มีปัญหาเมื่อต้องทำการบ้านเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้การอ่านเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่โจทย์ต้องการ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการที่กล่าวมาเหล่านี้มักพบในช่วงปลายของการศึกษาในระดับประถมต้น โดยอาจทำให้วินิจฉัยได้ล่าช้า ทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร

โดยทั่วไปแล้วสัญญาณอันตรายของภาวะ Dyslexia สามารถประเมินได้ง่ายๆ จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดเล่มสีชมพูหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สมุดวัคซีน”) ที่จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข 

ภายในสมุด มีส่วนของการแนะนำด้านพัฒนาการ ซึ่งในส่วนนี้เองที่สามารถใช้คัดกรองภาวะ Dyslexia รวมทั้งด้านอื่นๆด้วย โดยหากเด็กไม่สามารถทำตามพัฒนาการตามช่วงอายุที่ระบุไว้ในสมุดได้ผู้ปกครองควรตระหนักและปรึกษาแพทย์ทันที

นอกจากนี้ในบางโรงพยาบาลยังมีการแจกคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual หรือ DSPM) จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข ให้แก่ผู้ปกครอง 

ข้อแตกต่างจากสมุดเล่มสีชมพูคือคู่มือเล่มนี้จะเน้นการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก มีการแนะนำวิธีการกระตุ้นพัฒนาการที่ผู้ปกครองสามารถนำไปทำได้จริง เป็นขั้นตอนอ่านเข้าใจง่ายประกอบระดับพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ 

ซึ่งหากเด็กทำไม่ได้ตามที่คู่มือระบุ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคทางพัฒนาการต่อไป

ภาวะ Dyslexia เป็นอันตรายหรือไม่?

ภาวะ Dyslexia มีหลายระดับ เป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ การที่เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียนน้อยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน อาจทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปัญหาด้านการขาดความมั่นใจในตนเองตามมา และอาจนำไปสู่ปัญหาด้านจิตใจและพฤติกรรมในที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ภาวะ Dyslexia สามารถทำให้ดีขึ้นและใช้ชีวิตอยู่กับภาวะดังกล่าวได้ หากได้รับการรักษาและฝึกฝนอย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองควรดูแลเด็กที่มีภาวะ Dyslexia อย่างไร?

การดูแลเด็กที่มีภาวะ Dyslexia หรือบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่าน ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน โดยอาจแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ที่โรงพยาบาล ที่บ้าน และโรงเรียน ดังนี้

  • ที่โรงพยาบาล
    เป็นหน้าที่ของแพทย์ในการให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่ถึง Dyslexia หรือภาวะอื่นๆที่ลูกเป็น แนะนำการรักษาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ด้านอื่นๆ เช่น นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงรักษาภาวะที่อาจพบร่วมได้ เช่น ภาวะซนสมาธิสั้น และนัดติดตามประเมินอาการของเด็กเป็นระยะ
  • ที่บ้าน
    เป็นหน้าที่หลักของคุณพ่อคุณแม่ในการดูและและให้การสนับสนุนเด็ก เช่น ใช้เวลามากขึ้นในการสอนทักษะที่เด็กบกพร่อง Dyslexia ด้วยความใจเย็น ได้แก่ การฝึกแยกเสียง การฝึกให้เด็กหาคำที่ขึ้นต้นด้วยฐานเสียงเดียวกัน (เสียง /ก/ ตัวอย่างเช่น กา กิน กำ เป็นต้น) การฝึกประสมคำ การฝึกความคล่องในการอ่าน การสอนคำศัพท์ การฝึกความเข้าใจ เช่น ให้เล่าเรื่องตามความเข้าใจหลังการอ่าน โดยต้องให้เวลาเด็กมากขึ้นกับงานที่ต้องใช้ทักษะที่บกพร่อง

    การฝึกทักษะเหล่านี้ควรเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากเป็นคนที่เข้าใจเด็กดีที่สุด การเรียนพิเศษเพิ่มเติมในทักษะที่บกพร่องสามารถช่วยเพิ่มความสามารถการเรียนรู้ได้เช่นกัน โดยควรเป็นกลุ่มเล็กๆหรือตัวต่อตัว อาจเรียนต่ำกว่าระดับชั้นในทักษะนั้นๆ สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการให้กำลังใจ การช่วยเหลือหรือแนะนำการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ใช้การฟังแทนการอ่าน หรือการใช้เครื่องอัดเสียง ทั้งหมดนี้ต้องไม่อยู่ในความคาดหวังว่าเด็กจะต้องทำได้อย่างที่เราต้องการ แต่ประเมินจากพัฒนาการในการทำทักษะเหล่านั้นได้ดีมากขึ้น

    นอกจากเพิ่มเติมทักษะของเด็กที่เป็น Dyslexia แล้วควรส่งเสริมทักษะอื่นที่เด็กถนัด เช่น กีฬา หรือดนตรี เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
  • ที่โรงเรียน
    คุณครูต้องเข้าใจภาวะที่เด็กเป็น เด็กไม่ได้ขี้เกียจหรือไม่มีความสนใจในการเรียนหนังสือ แต่เด็กมีทักษะการเรียนรู้ที่บกพร่อง เป็นหน้าที่ของคุณครูที่ต้องช่วยสอนและเติมเต็มทักษะดังกล่าว เด็กที่เป็น Dyslexia ควรได้เรียนกับเพื่อนๆ ในระดับชั้นเดียวกัน แต่อาจได้รับการประเมินผลการเรียนโดยใช้เกณฑ์ที่ต่ำกว่าเพื่อนในห้อง รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบเด็กที่เป็น Dyslexia อาจมีความแตกต่างจากการใช้กับชั้นเรียนรวม เช่น ในเด็กที่มีปัญหาด้านการสะกดคำ ข้อสอบไม่ควรเป็นโจทย์ในกระดาษให้เด็กอ่านแล้วเขียนคำตอบ แต่ควรเปลี่ยนเป็นให้ครูอ่านคำถามให้ฟัง แล้วให้เด็กตอบคำถามเป็นคำพูด เป็นต้น

โดยสรุป ภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่าน หรือ Dyslexia เป็นโรคที่ติดตัว มีอาการนำคือ มีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เบื่อการเรียน หรือผลการเรียนตกต่ำ 

แม้ภาวะ Dyslexia จะไม่หายขาด แต่สามารถพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นและใช้ชีวิตร่วมกับภาวะนี้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลที่เหมาะสมจากคนหลายๆ ฝ่าย ทั้งที่โรงพยาบาล ที่บ้าน และที่โรงเรียน ที่สำคัญต้องทำให้เด็กมั่นใจในตนเอง มีความนับถือตนเอง และส่งเสริมทักษะที่เด็กถนัดในด้านอื่นๆ

อ่านคำแนะนำเรื่อง การอ่านและการเรียนสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภาสุรี แสงศุภวานิช และคณะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). รายงานวิจับการคัดกรองโรคสมาธิสั้นและความบกพร่องด้านเรียนในโรงเรียน. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2554.
เทอดพงศ์ ทองศรีราช. ความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning disorder). ใน ประยงค์ เวชวนิชสนอง และคณะ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2559. หน้า 205-14.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual หรือ DSPM). 2558.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?
ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?

ทำความรู้จัก เข้าใจเด็กสมาธิสั้น และตัวยาหลัก เพื่อการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก

ทำความเข้าใจภาวะ LD ภาวะที่ส่งผลต่อการเรียนของลูก และมารู้จัก LD ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงวิธีสังเกตอาการและสัญญาณ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่ม