การติดเชื้อในอก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การติดเชื้อในอก

การติดเชื้อในอกเป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะหลังจากเป็นไข้หวัดในช่วงฤดูที่มีอากาศหนาว แม้ว่าส่วนมากแล้วการติดเชื้อในอกจะไม่รุนแรงและจะหายไปเอง แต่ก็มีบางกรณีที่ภาวะที่เกิดขึ้นรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สัญญาณและอาการของการติดเชื้อในอก

อาการทั่วไปของภาวะติดเชื้อในอกมีดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ไอ
  • ไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
  • หายใจไม่สะดวกหรือหายใจไม่ออก
  • มีเสียงวี้ดขณะหายใจ
  • มีไข้สูง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดหรือแน่นหน้าอก
  • รู้สึกสับสนงุนงง

อีกทั้งคุณก็สามารถประสบกับอาการอื่นของการติดเชื้อนอกจากข้างต้นได้อย่างเช่นปวดศีรษะ เหน็ดเหนื่อย เหงื่อออกมาก ไม่อยากอาหาร และปวดกล้ามเนื้อหรือตามข้อ

อะไรเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในอก

การติดเชื้อในอกคือการติดเชื้อที่ปอดหรือทางเดินหายใจ ประเภทการติดเชื้อในอกที่พบได้มากที่สุดคือภาวะหลอดลมอักเสบกับปอดบวม

ภาวะหลอดลมอักเสบส่วนมากจะเกิดมาจากเชื้อไวรัส ส่วนภาวะปอดบวมมักจะเกิดจากแบคทีเรีย

การติดเชื้อเหล่านี้มักจะแพร่กระจายได้จากการไอหรือจามของผู้ป่วย ซึ่งจะปล่อยละอองของเหลวและสารคัดหลั่งที่มีเชื้อเข้าสู่อากาศ ทำให้ผู้อื่นได้รับเชื้อเหล่านี้ได้จากการหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อเข้าไปนั่นเอง นอกจากนั้นเชื้อเหล่านี้ยังสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัส หยิบจับมือของผู้ป่วย หรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัสโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอกมีดังนี้:

  • ทารกและเด็กที่อายุน้อยมาก ๆ
  • เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักร่างกายมากเกิน
  • ผู้สูงอายุ
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพระยะยาวอย่างเช่นหอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน โรคไต โรคซิสติกไฟโบรซิส หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD)
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ (อาจจะเนื่องมาจากการเจ็บป่วยครั้งก่อน การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์ขนาดสูง การทำเคมีบำบัด หรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ อย่าง HIV)

การดูแลอาการเองที่บ้าน

การติดเชื้อในอกส่วนมากจะไม่ร้ายแรงและจะดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เว้นแต่คุณจะมีอาการรุนแรงที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อร้ายแรงกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในขณะที่พักรักษาตัวที่บ้าน คุณสามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ด้วย: พักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเลี่ยงภาวะขาดน้ำและลดเสมหะในปอดลงจนสามารถไอได้ง่ายขึ้น ทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไข้ และปวดกล้ามเนื้อ ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดคอที่เกิดจากการไอติดต่อกัน ยกศีรษะขึ้นสูงด้วยหมอนขณะนอนหลับเพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศหรือสูดไอน้ำร้อนเพื่อบรรเทาอาการไอ (ไม่ควรใช้น้ำร้อนกับเด็กเล็ก) หยุดสูบบุหรี่

เลี่ยงการใช้ยาแก้ไอเนื่องจากมีหลักฐานว่ายาเหล่านี้ได้ผลน้อยมาก และอาการไอมักจะช่วยทำให้การติดเชื้อของคุณหายเร็วขึ้นเพราะเป็นการกำจัดเสมหะออกกจากปอดของคุณ

การติดเชื้อในอกมักไม่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพราะยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ได้ดีกับการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่เชื้อไวรัส

แพทย์มักจะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก่อนหากคาดว่าคุณเป็นปอดบวม หรือคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีของเหลวรอบปอด

หากมีไข้หวัดระบาดในพื้นที่อยู่อาศัยของคุณ คุณจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายแรงได้ ดังนั้นแพทย์จะทำการจ่ายยาต้านไวรัสแก่คุณ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์หากว่า:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • คุณรู้สึกไม่สบายหรือมีอาการรุนแรง
  • อาการของคุณไม่ดีขึ้น
  • คุณรู้สึกสับสน งุนงง หรือง่วงนอน
  • คุณมีอาการหายใจลำบากหรือปวดหน้าอก
  • คุณไอเป็นเลือดหรือเสมหะที่ออกมาปนเลือด
  • ผิวหนังหรือริมฝีปากของคุณเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ
  • คุณกำลังตั้งครรภ์อยู่
  • คุณมีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • คุณมีน้ำหนักร่างกายสูงและหายใจลำบาก
  • คุณคาดว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีภาวะติดเชื้อในอก
  • คุณมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • คุณกำลังมีภาวะสุขภาพระยะยาวอยู่

แพทย์จะสามารถทำการวินิจฉัยร่างกายคุณโดยสังเกตจากอ่าการและฟังเสียงทรวงอกของคุณด้วยเครื่องมือสำหรับฟังเสียงหัวใจและปอด

ในบางกรณีอาจมีการทดสอบอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่นการเอกซเรย์หน้าอก การทดสอบลมหายใจ และการตรวจเสมหะหรือตัวอย่างเลือดตามความจำเป็น

การป้องกันภาวะติดเชื้อในอก

มีหลากหลายวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะติดเชื้อที่อกและหยุดการแพร่กระจายของโรคสู่ผู้อื่นดังนี้:

เลิกสูบบุหรี่ หากคุณเป็นคนสูบ วิธีการป้องกันการติดเชื้อในอกที่ดีที่สุดคือการเลิกบุหรี่เสีย เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำลายปอดและระบบภูมิต้านทานโรคต่อการติดเชื้อลง

รักษาความสะอาด แม้ว่าภาวะติดเชื้อในอกส่วนมากจะไม่นับเป็นโรคติดต่อเหมือนกับภาวะติดเชื้ออื่น ๆ อย่างไข้หวัด คุณก็สามารถแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นได้ด้วยการจามหรือไอ ดังนั้นในขณะที่คุณกำลังจะจามหรือไอ คุณควรทำการปิดปากและล้างมือให้สะอาด และนำกระดาษที่คุณจามใส่ทิ้งลงถังขยะทันที

อาหารและแอลกอฮอล์ การบริโภคแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ เป็นเวลานานจะทำให้ระบบภูมิต้านทานตามธรรมชาติของปอดอ่อนแอลงจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอกได้

ในการลดความเสี่ยงในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์นั้น คุณควร: ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์ หากคุณพยายามลดปริมาณการดื่มของตนเอง วิธีที่ดีที่สุดคือการปรับให้มีวันงดดื่มหลาย ๆ วันภายในหนึ่งสัปดาห์

การดื่มเป็นประจำหรือดื่มบ่อย ๆ ในช่วงหลาย ๆ สัปดาห์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณเท่ากับการดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันเป็นประจำในช่วงเวลาสั้น ๆ

การทานอาหารให้สมดุลและถูกหลักโภชนาการจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันได้

การฉีดวัคซีน หากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอกสูง แพทย์จะแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนต้านไข้หวัดและเชื้อนิวโมคอกคัส (เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดปอดบวม)

วัคซีนเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อในอกในอนาคตได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดกับเชื้อนิวโมคอกคัสมักจะแนะนำให้แก่:

  • ทารกและเด็กเล็ก
  • ผู้หญิงมีครรภ์ (วัคซีนป้องกันไข้หวัดเท่านั้น)
  • ผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพระยะยาวหรือมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, เมื่อคุณหมอบอกว่าเป็นหลอดลมอักเสบ (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/72), 6.04.2009
thaibreastcancer, การติดเชื้อที่เต้านม (http://www.thaibreastcancer.com/be-310/)
อ.นพ.ปราการ ตอวิเชียร, โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1333), 31 กรกฎาคม 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)