อาการผมร่วง ถือเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งอาการผมร่วงนั้นมักจะเกิดขึ้นหลังจากเริ่มให้ยาหลายสัปดาห์ และโดยทั่วไปเส้นผมเหล่านี้สามารถขึ้นมาใหม่ได้หลังจากที่เสร็จสิ้นการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการผมร่วงจากการให้ยาเคมีบำบัด
ทำไมยาเคมีบำบัดจึงทำให้ผมร่วง?
เซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว โดยจะแบ่งเซลล์ในอัตราที่สูงกว่าเซลล์ภายในร่างกายทุกชนิด ซึ่งตัวยาเคมีบำบัดจึงทำงาน โดยการพุ่งเป้าไปยังเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว และจะส่งผลให้เซลล์บางชนิดในร่างกาย เช่น เซลล์รากผม เซลล์เยื่อบุกระเพาะและทางเดินอาหารที่สามารถแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะเนื่องจากยาเคมีบำบัดโดยทั่วไปไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติที่สามารถแบ่งตัวได้รวดเร็วกับเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งยาเคมีบำบัดจะเข้าได้จัดการกับเซลลปกติเหล่านี้เช่นกัน แต่ยาเคมีบำบัดบางตัวสามารถพุ่งเป้าเจาะจงไปยังที่เซลล์มะเร็งได้ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางคนที่ได้รับยาเคมีบำบัดไม่มีภาวะผมร่วง โดยอาการผมร่วงนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับที่ไม่ขึ้นกับชนิดและสูตรของยาเตมีบำบัดที่ใช้ บางคนอาจมีแค่ผมร่วงแบบบางๆ แต่ในขณะที่บางคนมีผมร่วงหมดทั้งศีรษะ อาจจะเกี่ยวกับยาเคมีบำบัดที่ใช้ด้วย หากใช้ในปริมาณน้อยก็อาจได้รับผลข้างเคียงในปริมาณที่น้อยเช่นกัน และอาจจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคนที่สามารถตอบสนองยาเคมีบำบัดได้แตกต่างกัน
ทำไมผมถึงร่วงหลังการเริ่มยาเคมีบำบัด?
อาการผมร่วงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้ยาเคมีบำบัด แต่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้ยาเคมีบำบัดไปแล้วหลายครั้งก็ได้ โดยผมจะค่อย ๆ ร่วงเป็นกระจุกหรือเป็นหย่อม ๆ ที่จะทำให้เริ่มเห็นว่าผมบางลง ซึ่งบางคนอาจเลือกโกนศีรษะไปเลย เพราะว่าผมที่เหลืออยู่มีลักษณะที่แห้งมากหลังจากใช้ยาเคมีบำบัด และนอกจากเส้นผมแล้วยาเคมีบำบัดอาจทำให้ขนบริเวณอื่นๆร่วงได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนตา ขนคิ้ว หรือที่แขน ขา รักแร้และหัวหน่าว ผมที่ร่วงเหล่านี้มักสามารถขึ้นมาใหม่ได้หลังการหยุดเคมีบำบัด แต่ผมที่ขึ้นมาใหม่นี้อาจมีสีหรือลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิม
จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อช่วยลดอาการดังกล่าว?
นอกจากภาวะผมร่วงแล้ว ยาเคมีบำบัดยังอาจทำให้หนังศีรษะและผิวหนังมีอาการแสบ คัน หรือเจ็บได้ คุณอาจใช้วิธีการเหล่านี้เพื่อช่วยป้องกันหรือลดการระคายเคืองของผิวหนัง
- ทำให้ความสะอาดหนังศีรษะโดยใช้แชมพูและครีมนวดผมแบบอ่อน
- แปรงผลที่เหลืออยู่ด้วยแปรงที่มีขนแปรงแบบนุ่ม
- หากต้องใช้เครื่องเป่าผม ควรปรับให้อยู่ในระดับความร้อนต่ำ
- พิจารณาใช้ครีมหรือโลชั่นแบบอ่อนที่หนังศีรษะหากจำเป็นต้องใช้
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดัดผม
- ไม่ควรย้อมผมหรือใช้สารเคมี เช่น ยาย้อมผมที่ทำให้ผมเสียได้ (ถึงแม้จะไม่มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการใช้ยาย้อมผมทำให้ผมเสีย แพทย์ก็มักจะยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการย้อมผมจนถึงประมาณ 6 เดือนหลังจากผมเริ่มขึ้นตามปกติ)
- อาจพิจารณาตัดผมสั้น เนื่องจากผมสั้นจะทำให้ผมดูหนาขึ้น
- ปกป้องหนังศีรษะจากแสงแดดโดยการใช้ครีมกันแดด หมวก ผ้าพันคอหรือวิกผม
- นอนบนปลอกหมอนที่ทำจากผ้าซาตินเพื่อป้องกันผมไม่ให้หัก
- การนอนหนังศีรษะอย่างนุ่มนวลอาจช่วยผ่อนคลายหนังศีรษะได้