การตรวจคุณสมบัติพิเศษของเม็ดเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 18 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การตรวจคุณสมบัติพิเศษของเม็ดเลือด

ค่าความสามารถพิเศษของเลือดระหว่างผู้มีสุขภาพดีและผู้มีสุขภาพผิดปกติย่อมต่างกันโดย ตัวเลขความแตกต่างนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงอาจนำมาใช้บ่งชี้ความมีโรคซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจควรทราบอีกเรื่องหนึ่ง

ESR

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (erythrocyte sedimentation rate, ESR) ด้วยการนำเลือดที่ได้มาจากการดูดของหลอดและเข็ม (syringe) โสดๆร้อนๆ ใส่ลงในหลอดรับเลือด (lavender-top tube) แล้วค่อยนับเวลาว่าใน 1 ชั่วโมงจะมีเม็ดเลือดแดงตกตะกอนอยู่สูงขึ้นมากี่มิลลิเมตร

อัตราความสูงของการตกตะกอนที่ต่างกันจะช่วยชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของโรคหรือการอักเสบหรือการขาดเลือดของเนื้อเยื่อจนเนื้อตายไปบางส่วน (tissue necrosis or infarction)

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. อัตรา ESR นี้ เป็นการแสดงค่าอย่างหยาบๆ (nonspefic test) ไม่อาจเจาะจง อวัยวะของการเกิดโรค หรือไม่อาจใช้เป็นข้อวินิจฉัยจริงจังหรือแท้จริงใดๆ ได้ แต่แม้กระนั้น ก็นับว่าเป็นเครื่องช่วยบ่งชี้ในชั้นต้นที่ง่ายต่อการเตรียมการให้ทราบความผิดปกติของร่างกายที่ไม่ยุ่งยากและประหยัด
  2. โดยธรรมดาในเม็ดเลือดแดงจะมีโปรตีน ที่อยู่ในเฮโมโกลบินจำนวนหนึ่ง โปรตีนส่วนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงมีน้ำหนักมากกว่าพลาสมา จึงทำให้มันค่อยๆ ตกตะกอนจมลงสู่ก้นหลอดทดลอง (lavender-top tube) ทั้งนี้ในคนที่มีสุขภาพดีก็จะมีอัตราความเร็วที่ทำให้มีความสูงของการตกตะกอนจำนวนหนึ่ง แต่ในคนที่เป็นโรคบางชนิดจะมีผลทำให้เพิ่มโปรตีนขึ้นในกระแสเลือด ในการนี้ ค่า ESR จึงย่อมสูงกว่าปกติเมื่อเทียบกับมาตรฐานของผู้มีสุขภาพปกติ

ค่าปกติของ ESR

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป (หน่วย: มม./ชั่วโมง)
    • ชาย ESR : ≤ 15 mm/hr
    • หญิง ESR : ≤ 20 mm/hr
    • เด็ก ESR : ≤ 10 mm/hr

ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อยถือว่าไม่ผิดปกติ
  2. ในทางมากอาจแสดงผลว่า
  3. อาจกำลังเกิดโรคไตบางโรคเช่น โรคไตอักเสบ (nephritis) โรคไตเสื่อม (nephrosis)
  4. อาจกำลังเกิดโรคมะเร็งเกี่ยวกับเม็ดเลือด
  5. อาจกำลังเป็นโรคจากเชื้อแบคทีเรียเช่น ซิฟิลิสปอดบวม ฯลฯ
  6. อาจเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเช่น ไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis) เป็นไข้จากการปวดข้อ (rheumatic fever)
  7. อาจเป็นโรคที่มีโปรตีนล้นเกินในกระแสเลือด เช่น โรคไฟบริโนเจนมากเกิน (hyperfibrinogenemia) โรคโกลบูรินมากเกิน (macroglobulinemia)
  8. อาจเป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรน้อย จึงตกตะกอนลงมาอย่างรวดเร็ว
  9. ข้อพึงระวังในโรคโลหิตจางบางชนิด ก็อาจทำให้ได้ค่า ESR ต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดเป็นเคียว (sickle cell anemia)

Reticulocyte count

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงซึ่งเติบโตอย่างไม่เต็มที่แต่ได้หลุดเข้ามาอยู่ในกระแสเลือดว่ามีจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์

Reticulum (กรีก) = ตาข่าย, จุด

Cyte = เซลล์

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. Reticulocyte คือเม็ดเลือดแดงวัยรุ่นซึ่งมีร่องรอยของนิวเคลียสเหลือเป็นจุดสีม่วงอมน้ำเงินติดอยู่ (มองด้วยกล้องขยายจะเห็นคล้ายตาข่าย) มันจึงมีคุณสมบัติยังไม่พร้อมที่จะเข้ามาทำหน้าที่เหมือนเม็ดเลือดแดงทั่วไปในกระแสเลือด
  2. การที่มี Reticulocyte เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าเกณฑ์ปกติจึงแสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดการผลิตเม็ดเลือดแดงหรือร่างกายอาจมีการสูญเสียเลือดซึ่งอาจมีความต้องการออกซิเจนมากผิดปกติจึงต้องเร่งส่ง Reticulocyte เข้าสู่กระแสเลือดรวมทั้งอาจแสดงว่ากำลังเกิดโรคโลหิตจาง

ค่าปกติของ Reticulocyte Count

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

Reticulocyte Count : 0.5 - 2.0% ของ RBC

ค่าปกติ

ในทางน้อยอาจแสดงผลว่า

  1. อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่ขาดกรดฟอลิก จนทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง(pernicious anemia)
  2. อาจเกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  3. อาจเกิดโรคโลหิตจางเพราะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia)
  4. อาจได้รับการฉายรังสีบำบัดหรือรับเคมีบำบัด
  5. อาจกำลังเป็นโรคมะเร็ง (melignancy)
  6. อาจเกิดโรคไขกระดูกล้มเหลว (bone marrow failure)

ในทางมากอาจแสดงผลว่า

  1. เม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายจากเหตุต่างๆ เช่น จากระบบภูมิคุ้มกันหรือจากโรคของเฮโมโกลบินหรือจากโรคม้ามโต
  2. อาจเกิดการตกเลือด (hemorrhage) เช่น ริดสีดวงทวาร ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาจึงทำให้ไขกระดูกต้องรีบผลิตเม็ดเลือดจนมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ต้องถูกผลักดันให้ออกมาสู่กระแสเลือดก่อนเวลาและวัยอันควร
  3. การตอบสนองต่อการรักษาอาการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือฟอเลต อาจกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงให้มีมากเกินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง จึงมีผลอาจทำให้เม็ดเลือดแดงวัยรุ่นหลุดเข้ามาสู่กระแสเลือดมากกว่าและเร็วกว่าปกติก็ได้

Inclusion Body

วัตถุประสงค์เพื่อจะทราบว่าในกระแสเลือดได้มีเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติซึ่งเป็นชนิดที่มี. น้ำเงินเข้มติดอยู่ภายในเนื้อเม็ดเลือดแดงบางเม็ดบ้างหรือไม่ หรือถ้ามีมีอยู่กี่เปอร์เซ็นต์

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. คำว่า "Inclusion Body" มีความหมายว่าเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังมีส่วนของนิวเคลียส (คือ ribosomes) ติดค้างหลงเหลืออยู่ทำให้เห็นเป็นจุดสีน้ำเงินคล้ำ
  2. โดยธรรมดาเซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่แล้วจะไม่มีนิวเคลียสโดยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าเม็ดเลือดแดงย่อมจะไม่มีสถานภาพเป็นเซลล์นอกจากเม็ดเลือดแดงจะไม่มีนิวเคลียสแล้วมันยังแบ่งตัวเองก็ไม่ได้ฉะนั้นการเรียกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เป็นเซลล์จึงเป็นการใช้โดยอนุโลมเท่านั้นเองแล้วในกรณีที่นิวเคลียส (ขณะเป็นวัยรุ่นจำเป็นต้องมี) ยังเหลืออยู่จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Basophillic strippling" (เม็ดเลือดแดงวัยรุ่นแต้มสี)
  3. การปรากฏจุดในเม็ดเลือดแดงอันเป็นความผิดปกตินี้ นอกจากเกิดจากนิวเคลียสส่งเหลือแล้วก็อาจเกิดจากร่างกายได้รับสารโลหะเป็นพิษบางชนิดเช่น ตะกั่วหรือขาดสารอาหารบางอย่างรวมทั้งอาจเกิดจากความบกพร่องของไขกระดูกในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดก็ได้ หรือความบกพร่องของการทำหน้าที่ของม้ามก็ได้
  4. Inclusion Body ในคนสุขภาพปกติ ไม่ควรปรากฏให้เห็นดังนั้นจำนวนเปอร์เซ็นต์อันเป็นค่าปกติจึงไม่มีกำหนดไว้

สรุปว่ามีค่ามากกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใดก็ย่อมแสดงถึงความร้ายแรงของโรคมากขึ้นเท่านั้นและเมื่อนั้น

Heinz bodies

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบว่าในกระแสเลือดมีเม็ดเลือดแดงที่มีจุดคล้ายกับ Inclusion Body แต่มีขนาดใหญ่กว่าและออกสีม่วงใสปรากฏบ้างหรือไม่? หรือมีกี่เปอร์เซ็นต์?

คำอธิบายอย่างสรุป

  • Heinz bodies เกิดจาก
    1. การขาดเอนไซม์ G-6 PD
    2. ค่าฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแต่ละเม็ดไม่เท่ากัน
    3. อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดธาราซีเมีย(thalassemia)
    4. อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า กำลังเกิดโรคโลหิตจางชนิดภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง (autoimmune hemoglobin anemia)
  • ในร่างกายคนที่มีสุขภาพปกติจึงไม่ควรมี Heinz bodies ในกระแสเลือดและโดยเหตุเหตุนี้จึงไม่มีการกำหนดค่าปกติของ Heinz bodies ไว้แต่อย่างใด

ค่าปกติ 0%

G-6 PD.....IU/100 ml.RBC

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบค่าเอนไซม์ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase ที่เรียกสั้นๆ ว่า "G-6 PD" มีจำนวนต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์หรือไม่เพียงใด? ในกรณีที่ต่ำกว่าเกณฑ์ก็จะมีศัพท์เรียกว่า "G-6 PD deficiency"

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. G-6 PD เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญกลูโคสและช่วยปกป้องเม็ดเลือดแดงขณะใช้ยาต่อสู้กับเชื้อโรคเพื่อการรักษา
  2. ในกรณีที่เกิดการขาดเอนไซม์ G-6 PD ที่เรียกว่า "G-6 PD deficiency" อาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือพร้อมกันดังนี้
  3. อาจทำให้เลือดในร่างกายเกิดการตกตะกอนของเฮโมโกลบิน
  4. อาจทำให้ผนังของเม็ดเลือดแดงเกิดการเปลี่ยนแปลง
  5. อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกซึ่งร้ายแรงมาก/น้อยแล้วแต่กรณี
  6. เหตุที่มักก่อให้เกิด G-6 PD deficiency ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักก็คือพันธุกรรมอันเป็นการถ่ายทอดจากมารดานับเป็นโรคโลหิตจางจากเหตุพันธุกรรม (congenital hemolytic anemia) โลกนี้จึงอาบน้ำว่าเป็นโรคประจำตัวที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้และอาจกำเริบขึ้นในกรณีร่างกายได้รับยาที่เพิ่มออกซิเจน (oxidizing drugs) ซึ่งมีผลอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก

กลุ่มยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและตกตะกอน

ในกลุ่มผู้ยู่ในสภาวะ G-6 PD deficiency

Acetanilid

Antimalarials

Antipyretics

Ascorbic acid

Aspirin

Dapsone

Methylene blue

Nalidixic acid

Nitrofurantoin

Phenacetin

Phenazopyridine

Primaquine

Quinidine

Sulfa

Sulfonamides

Thiazide diuretics

TOBUTamide

Vitamin K

  1. อาการของเด็ก (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) ของผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็น G-6 PD deficiency อาจแสดงอาการให้เห็นดังนี้
  2. ผิวหนังซีด หากเป็นคนผิวดำ ต้องให้อ้าปากเพื่อเห็นความผิดปกติ
  3. แสดงอาการเหนื่อยอย่างมาก
  4. หัวใจเต้นเร็ว
  5. หายใจสั้นและถี่
  6. ดีซ่าน (jaundice) แสดงอาการผิวหนังและนัยน์ตาเหลือง
  7. ม้ามโต
  8. น้ำปัสสาวะจะออกสีชา
  9. ค่าเอนไซม์ G-6 PD อาจแสดงได้ 2 วิธีคือ 1) เป็นจำนวน I.U. (international unit) ต่อน้ำหนัก 1 กรัม ของเฮโมโกลบิน หรือ 2) เป็นจำนวน I.U. ต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง

ตัวเลขค่าเอนไซม์ปกติของ G-6 PD ที่นิยมใช้กันอยู่มีดังนี้

  • 4.3 – 11.8 I.U. ต่อกรัมของเฮโมโกลบิน
  • 146 – 376 I.U. per 1012 RBC

ตามข้อ 5ข้างต้น อาจเขียนอยู่ในรูปใหม่ได้ดังนี้

146 – 376 I.U./1012 RBC = IU/RBC

= IU/RBC

= IU

100 ล้าน RBC

= IU

100 ml. RBC

= 0.0146 – 0.0376 IU/100 ml. RBC

ค่าปกติของเอนไซม์ G-6 PD

  • ให้ยึดถือตามค่าที่แสดงไว้ในใบรายงานผลเลือด (ถ้ามี)
  • ค่าปกติ (คำนวณได้จากข้อ 6)

G-6 PD enzyme : 0.0146 – 0.0376 IU/100 ml.RBC

ค่าผิดปกติ

1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า

  • เป็น G-6 PD deficiency แน่ๆ ยิ่งหากมีอาการตามข้อ 4. ร่วมด้วย
  • อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกง่าย (hemolytic anemia)

2. ในทางมาก อาจแสดงว่า

  • อาจเกิดโรคโลหิตจางอย่างร้ายแรงชนิดขาดวิตามิน บี 12 (pernicious anemia)
  • อาจเกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโต (megaloblastic anemia)
  • อาจเกิดการสูญเสียเลือดแห่งใดแห่งหนึ่ง
  • อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
  • อาจมีปัญหาโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)
  • Malaria

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบว่ามีเชื้อโรคไข้มาลาเรีย (Malaria parasites) ได้ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย และอยู่ในกระแสเลือดบ้างหรือไม่ เพียงใด?

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. เชื้อมาลาเรียในกลุ่ม Plasmodium จะเข้าสู่ร่างกายได้ก็แต่โดยผ่านทางพาหะ คือยุงก้นปล่องตัวเมียที่มาจ่อกัดดูดเลือดและปล่อยเชื้อโรคมาลาเรียไว้ผ่านทางน้ำลายของยุง
  2. เชื้อมาลาเรียจะไปขยายพันธุ์เจริญเติบโตฝังตัวอยู่ในเม็ดเลือดแดงอันเป็นการทำลายเม็ดเลือดแดงที่นับว่าก่ออันตรายต่อตัวผู้รับเชื้อโรคอย่างร้ายแรงแต่เชื้อมาลาเรียนี้ จะไม่ติดต่อกันระหว่างคนกับคนต้องมียุงมากัดเท่านั้น
  3. เม็ดเลือดแดงที่แตกสลายเพราะเชื้อมาลาเรียจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายจึงทำให้เซลล์ทั้งหลายไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำหน้าที่ของตนได้รวมทั้งไม่อาจรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้จึงเกิดอาการหนาวสั่นหรือที่เรียกว่าไข้จับสั่นรวมทั้งเกิดอาการอ่อนเพลีย
  4. การตรวจอาจกระทำได้ด้วยวิธีใช้เลือดฉาบกระจก (blood smear) แล้วสองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยเจ้าหน้าที่เทคนิคแพทย์ซึ่งจะยืนยันได้ว่าเม็ดเลือดแดงถูกเชื้อมาลาเรียโจมตีหรือไม่
  1. สรุปว่าผู้รับการตรวจเลือกจะทราบแต่เพียงว่ามีเชื้อมาลาเรียหรือไม่มีเท่านั้น

ค่าปกติ จึงไม่ได้กำหนดไว้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Complete Blood Count (CBC) Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/complete-blood-count-cbc/)
CBC Test: Purpose, What It Measures, and Normal Results. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/complete-blood-count#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม