กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

พฤติกรรมของคุณ “เสี่ยง” ไวรัสเล่นงาน หรือไม่

เช็กลิสต์พฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อไวรัส คุณเป็นผู้มีความเสี่ยงหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
พฤติกรรมของคุณ “เสี่ยง” ไวรัสเล่นงาน หรือไม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัส เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น ทำให้เซลล์รวมตัวกัน เซลล์ตาย เกิดเซลล์มะเร็ง
  • เชื้อไวรัสคือ ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคซาส์ โรคเมอร์ส โรคอีโบลา รวมไปถึงโรคโควิด-19 ด้วย
  • การติดเชื้อไวรัสสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้คนทุกเพศทุกวัย และหากเกิดขึ้นในผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคที่ยากจะรักษา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ก็จะทำให้การรักษาซับซ้อน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • พฤติกรรมหลายอย่างที่คุณมองข้ามในชีวิตประจำวันเสี่ยงทำให้ติดเชื้อไวรัสได้ เช่น ไม่รับประทานผัก ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด ออกกำลังกายน้อย ไม่ล้างมือด้วยสบู่ สัมผัสข้าวของเครื่องใช้สาธารณะเป็นประจำ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดไวรัสป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ไวรัสจัดเป็นปรสิตที่อาศัยในสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส (infectious agents) สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น 

  • ทำให้เซลล์ตาย 
  • มีการรวมตัวของเซลล์ 
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

ในส่วนของอาการเมื่อติดเชื้อไวรัสอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยตั้งแต่ไม่สบายเล็กน้อยไปจนถึงเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรง

เชื้อไวรัสในโลกมีมากมายนับหมื่นนับแสนหลายชนิด แต่มีอย่างน้อย 5,000 ที่ได้รับการบันทึกไว้ เชื้อไวรัสเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดโรคได้แล้ว พวกมันยังมีคุณสมบัติในการหลบหลีกเซลล์เพชรฆาต หลบหลีกแอนติบอดี และหลบหลีกไซโตทอซิกทีเซลล์ ซึ่งเป็นกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ดังนั้นร่างกายกำจัดพวกมันออกไปได้ยาก หรือไม่ได้เลย ก่อให้โรคมีความรุนแรงและนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้

มีข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสที่น่าสนใจดังนี้

  • เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ปัจจุบันแพร่ระบาดไปทั่วโลก มีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 5,204,508 ราย และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 337,687 ราย
  • เชื้ออินฟลูเอนซ่าสายพันธุ์ A และ B (Influenza A และ B) ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ พบได้ทั่วโลก มีรายงานผู้ติดเชื้อราวปีละ 3-5 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตราว 650,000 รายต่อปี
  • เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS-CoV) เริ่มแพร่ระบาด ค.ศ. 2003 มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกอย่างน้อย 8,095 ราย และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 774 ราย
  • เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเมอร์ส (MERS-CoV) เริ่มแพร่ระบาด ค.ศ. 2012 มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกอย่างน้อย 2,494 ราย และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 858 ราย
  • เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีโบลา (EVD) เริ่มแพร่ระบาด ค.ศ. 1976 มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกอย่างน้อย 34,453 ราย และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15,158 ราย

ความน่ากลัวของโรคติดเชื้อไวรัส

ความน่ากลัวของโรคติดเชื้อไวรัสคือ สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และมักติดต่อได้จากคนสู่คน หรือจากพาหะสู่คน เช่น ยุง นก หมู

แม้ว่าโรคติดเชื้อไวรัสหลายโรคจะมีวัคซีนป้องกันแล้ว แต่หากเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้มีโรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ โรคไต มะเร็ง ก็อาจมีอาการรุนแรง ต้องใช้การรักษาที่ซับซ้อนกว่าคนทั่วไป 

รวมถึงเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อันอาจเป็นอันตรายได้ถึงชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ลองเช็คดู คุณมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อไวรัสหรือไม่

  • ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดช่วงวัย
  • ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามฤดูกาล เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • มีคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัส หรือต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัส
  • มีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิด สัมผัสกับผู้อื่นบ่อยๆ เช่น จับมือ กอด
  • พักผ่อนน้อย นอนดึก
  • มีอาการอ่อนเพลียบ่อยๆ
  • ไม่ชอบรับประทานผักสด ผลไม้สด
  • ไม่ได้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
  • ชอบรับประทานอาหารดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบหมูดิบ
  • ไม่รับประทานอาหารที่ปรุงจากสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว งูเห่า
  • ไม่รักษาสุขอนามัยในการขับถ่ายให้ดี
  • ออกกำลังกายน้อยมาก หรือไม่ออกกำลังกายเลย
  • อยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ผู้คนพลุกพล่าน เป็นประจำ เช่น เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
  • ต้องสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้สาธารณะเป็นประจำ เช่น ที่เปิดปิดประตู ราวบันได ที่จับบน BTS
  • ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า
  • มีพฤติกรรมชอบจับตา จมูก ปาก (มักเป็นเด็ก)
  • รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำร่วมกับผู้อื่นโดยใช้ภาชนะร่วมกัน
  • รับประทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง
  • ไม่ค่อยได้ล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือผิดวิธี
  • ไม่ชอบสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเมื่อต้องเดินทางไปในสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก
  • บ้าน หรือที่พักอาศัย มียุงจำนวนมาก โดยไม่มีการป้องกันที่ถูกต้อง
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง
  • ใช้ยาเสพติดโดยมีการใช้เข็มร่วมกัน

ถ้าคำตอบของคุณคือ “ใช่” เกิน 5 ข้อ คุณอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสบางชนิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส

ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนั้น หากมีอาการเจ็บป่วยผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ไอ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย ท้องเสีย จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

อย่าลืมติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เพื่อรับทราบข้อปฏิบัติ ข้อควรระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง คนในครอบครัว และคนใกล้ชิด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคไวรัส


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lawrence CM, Menon S, Eilers BJ, Bothner B, Khayat R, Douglas T, Young MJ (May 2009). "Structural and functional studies of archaeal viruses". The Journal of Biological Chemistry. 284 (19): 12599–603. doi:10.1074/jbc.R800078200. PMC 2675988. PMID 19158076.
Edwards RA, Rohwer F (June 2005). "Viral metagenomics". Nature Reviews. Microbiology. 3 (6): 504–10. doi:10.1038/nrmicro1163. PMID 15886693.
ดลฤดี สงวนเสริมศรี. ไวรัสวิทยาทางการแพทย์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล, ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/311_1.pdf), 18 ธันวาคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)