กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 7

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 7

ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์จะมีประมาณ 1200 กรัม ภาวะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เริ่มมีไขมันใต้ชั้นผิวหนัง เด็กทารกในครรภ์เริ่มดูดนิ้วมือตนเอง ร้องไห้ได้ รับรู้รสเปรี้ยวหวานได้ และยังตอบรับการกระตุ้นได้ดี โดยเฉพาะความเจ็บปวดและแสงสว่าง ซึ่งหากคุณแม่จำเป็นต้องคลอดบุตรในเดือนนี้ (คลอดก่อนกำหนด) โอกาสที่เด็กทารกจะรอดชีวิตจะมีสูง

ในเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • เด็กดิ้นแรงขึ้น และสม่ำเสมอมากขึ้น
  • มีตกขาวมากขึ้น
  • รู้สึกปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย
  • ท้องผูกมากขึ้น
  • จุกเสียดแน่น เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ท้องอืด
  • ปวดศีรษะเป็นครั้งคราว ตาพร่า และ อาจเป็นลมบ่อย
  • คัดจมูก อาจมีเลือดกำเดาไหล และหูอื้อบ้าง
  • เลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟันง่าย
  • เป็นตะคริวที่ขา
  • บวมที่หน้า เท้า ตาตุ่ม และมือ
  • คันผิวหนังบริเวณหน้าท้อง
  • ปวดหลัง
  • หลอดเลือดขอดที่ขา
  • อาจเป็นริดสีดวงทวารบ่อย หรือง่ายกว่าปกติ
  • หายใจตื้น และหายใจลำบาก
  • นอนไม่หลับ หรือหลับไม่ค่อยสนิท
  • มดลูกจะหดตัวถี่ขึ้น แต่ไม่เจ็บปวด
  • อุ้ยอ้าย และเสี่ยงต่อการหกล้ม ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มาก
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเดือนละ 2 กิโลกรัม
  • อาจมีน้ำนมเหลืองไหลออกทางหัวนม
  • ขี้ลืม อารมณ์ยังไม่คงที่ สมาธิสั้น
  • วิตกกังวล
  • ปัสสาวะบ่อย
  • มีความสนใจการเป็นแม่ มีการจินตนาการเกี่ยวกับลูกมากขึ้น

สิ่งที่แพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะให้คุณทำในช่วงเดือนนี้ได้แก่

  1. ชั่งน้ำหนักตัวและวัดความดันเลือด
  2. ตรวจน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
  4. ตรวจขนาดและรูปร่างของมดลูก โดยการตรวจหน้าท้อง
  5. ความสูงของระดับยอดของมดลูก
  6. อาการบวมที่มือและเท้า และหลอดเลือดที่ขา
  7. ตรวจเลือดหาภาวะโลหิตจาง
  8. อาการผิดปกติต่างๆ

สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษในช่วงการตั้งครรภ์เดือนนี้คือ การคลอดก่อนกำหนด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • รับประทานอาหารประเภทโปรตีน  เช่น  ปลา  ผักใบเขียว  อาหารที่มีแคลเซียม  นมพร่องมันเนย
  • ฝากครรภ์ตามนัด
  • การดูแลเต้านมในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด  ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนมและลานนม  ดังนั้นในการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากเกินไปเพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมดทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
  • ท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์ทุก 5-10 นาที
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำเดิน ลักษณะเป็นน้ำใสๆคล้ายปัสสาวะราด แต่กลั้นไม่อยู่
  • ลูกดิ้นน้อยลง
  • ปวดศีรษะ  ตาพร่ามัว  จุกแน่นลิ้นปี่  บวม

 ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล

  • ท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์ทุก 5-10 นาที
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำเดิน ลักษณะเป็นน้ำใสๆคล้ายปัสสาวะราด แต่กลั้นไม่อยู่
  • ลูกดิ้นน้อยลง
  • ปวดศีรษะ  ตาพร่ามัว  จุกแน่นลิ้นปี่  บวม

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mark A Curran, M.D, 10/25/2016, Estimation of Fetal Weight and Age (http://perinatology.com/calculators/Estimation%20of%20Fetal%20Weight%20and%20Age.htm)
Fam Plann Perspect 1995; Fertil Steril 2013; BMC Pregnancy Childbirth. 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม