กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 4

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เมื่อฉันเริ่มตั้งครรภ์เดือนที่ 4

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงเดือนที่ 4 นี้ ทารกในครรภ์จะมีขนาดประมาณ 4-4.5 นิ้ว หรือขนาดเท่าผลอะโวคาโด เริ่มมีการแสดงสีหน้าท่าทาง สามารถได้ยินเสียงจากภายนอกได้ หัวใจของทารกจะปั้มเลือดประมาณ 28 ลิตรต่อวัน เริ่มเห็นเส้นผม ทารกเริ่มสามารถตั้งศีรษะได้ตรงมากกว่าแต่ก่อน

ในเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • อาการแพ้ท้องค่อยๆ ดีขึ้น และหายไป (แต่บางรายก็ยังเป็นอยู่แต่โดยรวมจะดีขึ้น)
  • มีอาการท้องผูก และอาจเป็นริดสีดวงทวาร หากใครเคยเป็นริดสีดวงทวารมาก่อน อาจจะเกิดอาการอักเสบได้
  • เต้านมขยายใหญ่ขึ้นอีก แต่จะไม่มีอาการตึงคัดเต้านม
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ และมีการเรอบ่อย
  • อาจมีอาการปวดศีรษะเป็นครั้งคราว เป็นลม หน้ามืด เวียนหัวบ่อยขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่เปลี่ยนท่าต่างๆ เช่น จากนั่งลุกขึ้นยืน หรือจากนอนลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการคัดจมูก เลือดกำเดาออก หูอื้อ อาจมีเลือดออกง่ายขึ้นเวลาแปรงฟัน
  • รู้สึกหิวบ่อยและกินจุมากขึ้น
  • อาจมีอาการบวมตึงที่หลังเท้า นิ้วมือและใบหน้า อาจมีเส้นเลือดขอดที่ขาทั้ง 2 ข้าง
  • ตกขาวเพิ่มขึ้น
  • ปวดหลัง
  • ปลายเดือนที่ 4 จะสามารถได้ยินเสียงเต้นของหัวใจทารกในครรภ์จากการตรวจที่หน้าท้อง
  • ยังคงมีอารมณ์อ่อนไหว แปรปรวนง่าย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรจะรู้สึกดีใจและชื่นชมการตั้งครรภ์ ระวังการสับสนในอารมณ์ อาจรู้สึกเบื่อง่ายและไม่มีสมาธิในการทำงาน

สิ่งที่แพทย์จะให้คุณทำในเดือนนี้ได้แก่

  1. ชั่งน้ำหนักตัวและวัดความดันเลือด
  2. ตรวจน้ำตาลและสารไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์
  4. การคลำหน้าท้องเพื่อตรวจดูขนาดและระดับของมดลูก
  5. ตรวจสอบอาการบวมของแขนขา และหลอดเลือดบริเวณปลายเท้า
  6. ตรวจหาอาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (ถ้ามี)

การตรวจคัดกรองหรือการตรวจพิเศษที่แนะนำ

  1. อัลตราซาวน์
  2. การตรวจ Alpha – fetoprotein (AFP)
  3. การตรวจ triple test
  4. การเจาะน้ำคร่ำ amniocentesis

สิ่งที่คุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษในเดือนนี้คือ

  1. ความดันโลหิต โดยทั่วไปแล้วในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะต่ำลงเล็กน้อย จนเข้าเดือนที่ 7 ไปจนถึงการคลอดความดันโลหิตจะสูงขึ้น ในกรณีที่ความดันสูง และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมที่มือ เท้า และใบหน้า หรือตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะแสดงว่ามีอาการแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์อย่างรุนแรง หรือครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์มาก หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
  2. ระดับน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะอาจไม่ได้เป็นเบาหวาน เพราะในขณะตั้งครรภ์ การทำงานของอินซูลินจะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เนื่องจากรกจะสร้างสารต้านอินซูลินขึ้นมา เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ผ่านเข้าไปยังทารกมากเกินไป จนอินซูลินไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงกว่าระดับปกติ และไตจะทำหน้าที่ขับออกบางส่วน และเมื่อคลอดลูกแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะกลับสู่สภาวะปกติเอง มีเพียงบางคนที่มีน้ำหนักตัวมากก็อาจจะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานต่อไปได้ในอนาคต ส่วนคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลการตั้งครรภ์ทราบ เพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป
  3. ภาวะโลหิตจาง เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก วิธีการป้องกันคือ กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง หรือกินธาตุเหล็กเสริมวันละ 30 มิลลิกรัม
  4. อาการคัดจมูกและอาจมีเลือดกำเดาไหล เป็นอาการที่พบบ่อยมากในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในเลือดมีระดับสูง อาจมีการคั่งของเลือดบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก ทำให้เกิดการบวมเช่นเดียวกับเยื่อบุปากมดลูก บางครั้งอาจมีน้ำมูกไหลลงคอ ทำให้ไอหรืออาเจียนได้ ดังนั้นจึงไม่ควรกินยาหรือพ่นจมูกเอง ยกเว้นแพทย์จะเป็นผู้สั่งให้ ทั้งนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันอาการเหล่านี้ได้โดยกินวิตามินซีวันละ 250 กรัม จะช่วยลดความเปราะบางของเส้นเลือดฝอย ทำให้อาการเลือดกำเดาไหลลดน้อยลง
  5. ตกขาว ในช่วงตั้งครรภ์จะมีตกขาวมากขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงช่วงก่อนคลอด ตกขาวที่มีจะเป็นลักษณะมูกใส หรือขุ่นเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็นอ่อนๆ ทางแก้คือ ให้หมั่นรักษาความสะอาดให้เพียงพอ อย่าให้อับชื้น และไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้นิ้วสอดเข้าไปทำความสะอาดภายใน  หากตกขาวมีสีหรือกลิ่นที่เปลี่ยนไป มีอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อน ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
16 weeks pregnant: advice, symptoms and what to expect (https://www.motherandbaby.co.u...)
Your pregnancy: 16 weeks (https://www.babycenter.com/16-...)
Moore KL, et al. The Developing Human: Clinically Oriented Embryology. 10th ed. Philadelphia, Pa.: Saunders Elsevier; 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม