ข้อควรระวัง คำแนะนำในการเลือกกินยาพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ข้อควรระวัง คำแนะนำในการเลือกกินยาพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวด

ยาพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวด ถูกจัดให้เป็นเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เกือบทุกบ้าน การกินยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอล เมื่อเรามีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้สูงตัวร้อน เพื่อเป็นการบรรเทาอาการดังที่ได้กล่าวมานั้น เป็นเรื่องปกติที่คนไทยทุกคนทำกัน แต่ขึ้นชื่อว่ายา ก็ต้องมีวิธีการทานยา และข้อห้ามต่างๆเกี่ยวกับยาพาราเซตามอล ที่ทุกท่านควรทราบ

ข้อควรรู้ก่อนกินยาพาราเซตามอล (ยาแก้ปวด)

  1. ควรกินยาแก้ปวด 1 เม็ดทุกเวลา 6 ชั่วโมง และห้ามกินยาแก้ปวดต่อเนื่องกันเกิน 7 วันโดยเด็ดขาด
  2. ยาแก้ปวดไม่สามารถลดอาการปวดที่มีความเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้ เช่น อาการปวดจากแผลผ่าตัด
  3. หากมีอาการปวดหัวบ่อย โดยมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยโดยด่วน
  4. หากกินยาแก้ปวดเข้าไปแล้ว เกิดมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการเบื่ออาหาร ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  5. ควรกินยาแก้ปวดเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ห้ามกินยาแก้ปวดก่อนจะมีอาการโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจได้รับยาแก้ปวดเกินขนาดได้
  6. ถ้าหากเกิดลืมกินยาแก้ปวด เมื่อเข้าสู่อาหารมื้อต่อไป ก็ไม่ต้องกินยาเพิ่มเติมแต่อย่างใด และให้กินยาแก้ปวดในมื้อถัดไปนั้นตามปริมาณปกติเช่นเดิม
  7. ยาแก้ปวดอาจไม่เหมาะสมสำหรับสตรีมีครรภ์ เพราะยาแก้ปวดดังกล่าว อาจจะเข้าไปสู่ร่างกายของทารกได้

ข้อห้ามเกี่ยวกับยาพาราเซตามอล

  1. การกินยาแก้ปวดต้องไม่ทานเกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว โดยในยาแก้ปวด 1 เม็ดจะมีปริมาณยาอยู่ที่ 500 มิลลิกรัม
  2. ห้ามกินยาแก้ปวดเกินวันละ 8 เม็ดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ตับของเราต้องทำงานหนักเกินไป
  3. การกินยาแก้ปวดห้ามกินร่วมกันกับยารักษาโรควัณโรคหรือยารักษาโรคลมชักโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นการไปเพิ่มการเป็นพิษต่อตับให้เพิ่มสูงขึ้น
  4. ห้ามกินยาแก้ปวดร่วมกันกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งเพิ่มผลเสียให้กับตับ
  5. ถ้าหากเป็นโรคหัวใจหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรกินยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอล เพราะจะส่งผลทำให้โรคที่เป็นอยู่นั้นมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก

ข้อที่ควรต้องระวังที่สุดก็คือ การกินยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอล มากเกินขนาด คือ กินเกินวันละ 8 เม็ดหรือกินต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกินไปจะทำให้มีผลเสียต่อตับ ทำให้เกิดสภาวะตับอักเสบ คลื่นไส้อาเจียน และถ้าเซลล์ตับถูกทำลายอย่างมากก็อาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการกินยาแก้ปวดให้ปลอดภัย ต้องกินก็ต่อเมื่อมีอาการเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Paracetamol Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-57595/paracetamol-oral/details)
Pharmacologic Therapy for Acute Pain. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2013/0601/p766.html)
Marks, L. Everyday Health (2015). What Is an Analgesic? (https://www.everydayhealth.com/analgesic/guide/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป