6 สาเหตุที่ทำให้คุณเหงื่อออกตอนกลางคืน

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 สาเหตุที่ทำให้คุณเหงื่อออกตอนกลางคืน

การมีเหงื่อออกในตอนกลางคืนโดยเฉพาะก่อนเข้านอน ไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษา มันก็จะไปรบกวนการนอน และสามารถทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับได้ในที่สุด อย่างไรก็ดี มันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะมองข้ามปัญหาดังกล่าวในช่วงแรก แต่หากมันเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา  ไม่แน่ว่ามันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความปกติของร่างกายค่ะ อย่างไรก็ตาม เราลองมาดูกันดีกว่าว่า มีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คุณเหงื่อออกตอนกลางคืน

1. อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน

การมีอายุอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีเหงื่อออกตอนกลางคืน โดยเฉพาะเมื่อมีระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทั้งนี้ผู้หญิงที่เผชิญปัญหาดังกล่าวสามารถเกิดความรู้สึกอึดอัด ส่งผลให้นอนไม่หลับ และมีอัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม การทานอาหารเสริมเพื่อควบคุมฮอร์โมน รวมถึงนอนในสภาพแวดล้อมที่เย็น โดยใช้ฟูกที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ และใส่เสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกสบาย ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ยาบางชนิด

การทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การมีเหงื่อออกตอนกลางคืน อย่างไรก็ตาม มีบางงานวิจัยระบุว่า ยาสำหรับรักษาความวิตกกังวล และโรคซึมเศร้า สามารถทำให้ผู้ทานมีเหงื่อออกตอนกลางคืน สำหรับการรักษาอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการดังกล่าว เช่น การใช้ฮอร์โมนบำบัด การทานยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้คอร์ติซอล และสเตียรอยด์ฮอร์โมน เพื่อช่วยรักษาอาการอักเสบ และลดการบาดเจ็บ

3. วัณโรค

ปัจจัยส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับการมีเหงื่อออกตอนกลางคืนมักไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หรือไม่ได้ยากต่อการรักษา แต่ในบางครั้ง มันก็อาจเกิดจากโรคเรื้อรังอย่างโรควัณโรค นอกจากคุณจะมีเหงื่อออกแล้ว อาการของคุณจะเกิดควบคู่กับการมีไข้สูง เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด หายใจลำบาก ฯลฯ

 4. มีปัญหากับระบบประสาท

ความวิตกกังวล และความกลัวสามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย ซึ่งมันจะบังคับให้ร่างกายขับเหงื่อออกมา เพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้มันถือเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ และไม่ได้เกิดขึ้นในตอนกลางคืนเท่านั้น แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงที่คุณจะเข้านอนตอนกลางคืน มันก็อาจเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับระบบประสาทอย่างโรคพาร์กินสัน ทั้งนี้ความเสียหายที่โรคดังกล่าวทำต่อระบบประสาท สามารถไปรบกวนสัญญาณที่ส่งไปยังต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อถูกขับออกมาตอนกลางคืนได้นั่นเอง

5. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติเรื้อรัง

ภาวะเหงื่อออกมากถือเป็นความผิดปกติทั่วไปที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งมันถูกพิจารณาให้เป็นอาการเรื้อรัง ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกตอนกลางคืน และรู้สึกอึดอัด คนที่มีอาการอย่างที่ว่าจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันไม่ได้เป็นสัญญาณของโรคที่ร้ายแรง แต่มันก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว และเป็นเรื่องยากที่ต่อการรับมือในบางครั้ง

6. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ซึ่งมันจะมีผลต่อระบบเผาผลาญ คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัว และสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ทั้งนี้คุณจะรู้สึกเหนื่อยมากในระหว่างวัน และมีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะพบว่าน้ำหนักเปลี่ยนไป ผมร่วงเยอะ และมือสั่น

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังเผชิญภาวะเหงื่อออกในตอนกลางคืน โดยพบว่าอาการรุนแรงเกินกว่าที่จะรับไหว หรือเป็นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ เพราะหากปล่อยไว้ล่ะก็ มันก็จะพลอยทำให้การนอนของคุณมีปัญหาไปด้วย

ที่มา : https://steptohealth.com/6-medical-causes-of-night-sweats/


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus.gov, Hyperhidrosis (https://medlineplus.gov/ency/article/007259.htm)
Yvette Brazier, Hyperhidrosis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/182130.php), December 21, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน
รู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่มากับมลภาวะ และวิธีการเลือกหน้ากากป้องกัน

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร? มาจากไหน? แตกต่างจากฝุ่นละอองทั่วไปในอากาศอย่างไร? อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
ระบบประสาททำงานอย่างไร
ระบบประสาททำงานอย่างไร

ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ และการตอบสนองของร่างกาย มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีกระบวนการทำงานอย่างไร อ่านเลย!

อ่านเพิ่ม