สาเหตุของการปวดหลัง

อาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่เป็นแล้วหาย แต่เป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่ต้องเฝ้าระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของการปวดหลัง

การปวดหลังคือหนึ่งในความทรมานที่พบได้บ่อย บางคนปวดหลังแล้วใช้เวลาไม่นานก็หาย บางคนปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ บางคนก็ปวดหลังแบบเรื้อรัง มาดูกันว่า สาเหตุที่ทำให้ปวดหลังนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง  

สาเหตุที่พบบ่อย

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดหลังนั้นเกิดจาก "กล้ามเนื้อ" การบิดตัวผิดท่าอาจทำให้คุณมีอาการปวดได้หลายวัน หรือเป็นสัปดาห์ อาการปวดหลังจากสาเหตุนี้มีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข่าวดีคือ อาการปวดหลังมักจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์  ส่วนข่าวร้าย คือเมื่อคุณเคยเกิดอาการปวดหลังขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่ง คุณมักจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาปวดหลังได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังที่ไม่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ  เนื่องจากกระดูกสันหลังประกอบขึ้นจากหลายโครงสร้างซึ่งแต่ละส่วนของกระดูกสันหลังก็มีการเคลื่อนไหวต่างกัน ดังนั้นจึงต้องตรวจวินิจฉัยเป็นกรณีๆไป 

สาเหตุอื่นๆ 

   การเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อ หรือกระดูกพรุนสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน บางครั้งอาการปวดหลังก็อาจเป็นอาการของภาวะอื่นได้ 

เป็นก้อนเล็กๆ ที่ประกอบขึ้นมาจากแคลเซียมซึ่งเกิดการอุดตันของท่อที่นำปัสสาวะออกจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ  อาการปวดที่เกิดจากนิ่วนั้นรุนแรงและมักจะมาเป็นรอบๆ โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดที่เกิดจากนิ่วนั้นมักเกิดขึ้นข้างเดียว การเกิดนิ่วในไตอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะแสบขัดได้

  • อาการปวดร้าวลงขา 

เป็นการระคายเคืองที่เกิดที่เส้นประสาทไซอาติก (Sciatic nerve) ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่ออกมาจากไขสันหลังและผ่านต้นขาด้านหลังลงไปจนถึงน่องทั้งสองข้าง อาการปวดมักมีลักษณะแสบร้อนตั้งแต่กระดูกสันหลังร้าวลงไปที่ขา หากมีอาการเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน

  • การติดเชื้อที่เกิดขึ้นในไขสันหลัง หรือในกระดูกไขสันหลังและอุ้งเชิงกราน
  • กระดูกอุ้งเชิงกราน หรือกระดูกสันหลังหักมักจะมีอาการปวดมาก 

ด้านหลังของอุ้งเชิงกรานและกระดูกสันหลังจะมาบรรจบกันอยู่ที่กระดูกก้นกบรูปสามเหลี่ยม เวลานั่งจะมีแรงกดลงที่กระดูกนี้พอสมควรและกระดูกนี้อาจหัก หรือแตกร้าวได้ หากคุณหกล้มจนก้นกระแทกลงอย่างแรง หรือหากคุณมีภาวะกระดูกพรุนก็จะทำให้กระดูกเปราะและมีความเสี่ยงต่อการหักมากขึ้นในกระดูกทุกชิ้นซึ่งรวมถึงกระดูกสันหลังด้วย แม้ว่า คุณอาจจะล้มไม่แรงมากก็ตาม

  • ภาวะข้อกระดูกสันหลังเสื่อม 

เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังนั้นเสื่อมสภาพทำให้ข้อต่างๆ ของกระดูกสันหลังเกิดกระดูกงอก และหมอนรองกระดูกสันหลังระดับเอวอาจเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้

ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเท่านั้น คุณควรไปพบแพทย์หากอาการปวดนั้นไม่เหมือนเดิม หรือหากมีอาการปวดพร้อมกับเป็นไข้ น้ำหนักลด หรือมีอาการชา อ่อนแรงร่วมด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ.ต่อพงษ์ บุญมาประเสริฐ, ปวดหลัง-ปวดคอ (LOW BACK & NECK PAIN) และ โรคข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม (DEGENERATIVE DISEASES OF THE SPINE)(http://www.med.cmu.ac.th/dept/...)
ผศ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์, อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) (https://med.mahidol.ac.th/orth...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง

หากปวดหลังอย่านิ่งนอนใจ รีบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขก่อนอาการจะลุกลาม

อ่านเพิ่ม
ปวดต้นคอ
ปวดต้นคอ

"ปวดต้นคอ" อาการปวดทั่วไปที่คุณอย่าเพิ่งวางใจ

อ่านเพิ่ม