กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนหลังหู

ก้อนหลังหูเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่สร้างความรำคาญ และรู้สึกเจ็บได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนหลังหู

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ก้อนที่หลังหูเกิดได้จากหลายสาเหตุ และส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ก้อนที่หลังหู อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหู หรือโรคทางผิวหนัง เช่น การติดเชื้อ ปุ่มกระดูกกกหูอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หรือต่อมน้ำเหลืองโต
  • สิว เป็นหนึ่งในโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย หากคุณมีประวัติเป็นสิว อาจวินิจฉัยได้ว่า ก้อนที่หลังหูเป็นสิวชนิดหนึ่ง
  • สามารถใช้นิ้วมือเพื่อคลำดูว่า มีก้อนที่หลังหูหรือไม่ หากมีลักษณะนุ่ม อาจเป็นเนื้องอกไขมัน หากสัมผัสแล้วเจ็บ อาจเป็นหนอง หรือสิว
  • หากมีก้อนที่หูร่วมกับเป็นไข้ หรือหนาวสั่น อาจเกิดจากการติดเชื้อต่างๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ก้อนที่หลังหูมักจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหู หรือโรคทางผิวหนังได้ เมื่อเกิดอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

8 ภาวะที่อาจทำให้เกิดตุ่ม หรือก้อนที่หลังหู

1. การติดเชื้อ

มีการติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดการบวมบริเวณใบหน้า และลำคอได้ เช่น 

  • โรคคออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัส (Streptococcus spp.) 
  • โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Infectious mononucleosis) หรือที่คนส่วนมากเรียกว่า "โรคติดต่อจากการจูบ" เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr Virus: EBV)

นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการบวมบริเวณใบหน้า และลำคอ ประกอบด้วย

2. ปุ่มกระดูกกกหู (Mastoid) อักเสบ

หากติดเชื้อในหู และไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นบริเวณปุ่มกระดูกกกหู ซึ่งเป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังหูได้ โดยการติดเชื้อนี้อาจทำให้เกิดถุงน้ำที่มีหนองอยู่ภายใน และอาจคลำเจอก้อนอยู่ที่หลังหูได้

3. หนอง

หนองจะเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเกิดการติดเชื้อ ซึ่งร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อด้วยการพยายามฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสดังกล่าว โดยการส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมายังบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อ แบคทีเรีย หรือไวรัสตาย ก็จะกลายเป็นหนองนั่นเอง

บริเวณที่มีหนองมักทำให้รู้สึกเจ็บและอุ่นเวลาสัมผัส

4. หูชั้นกลางอักเสบ

การติดเชื้อในหูชั้นกลางสามารถเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ซึ่งจะทำให้เกิดสารน้ำสะสมอยู่ภายใน ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บและบวมได้ 

นอกจากนี้ยังทำให้เห็นบริเวณหูด้านหลังบวม ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะอาจจะช่วยบรรเทาอาการ และรักษาการติดเชื้อได้

5. ต่อมน้ำเหลืองโต (จากการติดเชื้อในหูหรือคอ)

ต่อมน้ำเหลืองเป็นอวัยวะขนาดเล็กที่พบได้ทั่วร่างกาย รวมถึงบริเวณใต้วงแขน ในคอ อุ้งเชิงกราน และด้านหลังหู

ต่อมน้ำเหลืองสามารถโตได้ โดยสาเหตุส่วนมากมักเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบ หรือโรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มาต่อสู้กับการเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเกิดการสะสมภายในต่อมน้ำเหลืองจนทำให้โตขึ้นนั่นเอง

6. ถุงน้ำไขมัน

ถุงน้ำไขมันเป็นตุ่มที่ไม่ใช่เนื้อร้ายที่ขึ้นอยู่ใต้ผิวหนัง ส่วนมากมักพบที่ศีรษะ คอ และลำตัว

ถุงน้ำไขมันจะเกิดบริเวณต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ำมันเพื่อช่วยหล่อลื่นผิวหนัง และเส้นผม ส่วนมากมักไม่ทำให้เกิดอาการปวด แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือระคายเคืองได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิด

7. สิว

สิวเป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเวลาที่รูขุมขนเกิดการอุดตันจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ในบางรายสิวเหล่านี้อาจจะมีขนาดใหญ่ แข็ง และทำให้เกิดอาการเจ็บได้

8. เนื้องอกไขมัน

เนื้องอกไขมันเป็นก้อนเนื้อไขมันที่เกิดระหว่างชั้นของผิวหนัง โดยสามารถเกิดขึ้นที่ร่างกายส่วนใดก็ได้ และแทบจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด 

การมีเนื้องอกอาจจะไม่สามารถคลำได้ในระยะแรก แต่เมื่อก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสคลำเจอได้มากขึ้น

วิธีการสังเกตอาการเบื้องต้น

การพยายามระบุชนิดของก้อนที่เกิดด้านหลังหู ในเบื้องต้น หากคุณมีประวัติเป็นสิวก็อาจจะสามารถวินิจฉัยก้อนที่หลังหูว่า เป็นสิวได้ แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะระบุได้ยาก 

"นิ้วมือ" จึงเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการคลำพบก้อนที่ด้านหล้งหู โดยมีวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น ดังนี้

  • ก้อนที่หลังหูมีลักษณะนุ่มและเลื่อนได้หรือไม่ หากใช่ อาจจะเป็นเนื้องอกไขมัน
  • เวลาสัมผัสก้อนที่หลังหูมีอาการเจ็บหรือไม่ หากใช่ อาจจะเป็นสิว หรือหนอง
  • นอกเหนือจากอาการที่เกิดขึ้นบริเวณก้อนที่หลังหูแล้ว คุณอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ หรือหนาวสั่น หากมีอาการดังกล่าวอาจหมายความว่า ก้อนเนื้อก้อนนั้นเกิดจากการติดเชื้อก็ได้

เมื่อไรควรพบแพทย์

หากก้อนนั้นทำให้เกิดปัญหา เจ็บ ไม่สบายตัว หรือเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ควรไปพบแพทย์ ซึ่งการตรวจร่างกายบริเวณดังกล่าวร่วมกับการซักประวัติจะช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์

แพทย์อาจแนะนำให้ปล่อยทิ้งไว้ หรืออาจแนะนำวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้ยา หรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ

ก้อนที่หลังหูนั้นมักจะไม่เป็นอันตราย และคุณจะสามารถหาวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดก้อนนั้น และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้จากการพูดคุยกับแพทย์

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


บทความแนะนำ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
thaipediatrics, โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20190909125815.pdf)
อ.พญ.กีรติกานต์ บุญญาวรรณดี, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/lymphoma_cancer/)
rcot.org, เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะต่อมน้ำเหลืองที่คอโต (http://www.rcot.org/pdf/CPG-Cervical%20Lymphadenopathy.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม