กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สาเหตุของอาการเจ็บใต้รักแร้

อาการเจ็บใต้รักแร้เกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่อันตราย และไม่อันตราย หากคลำเจอก้อนเนื้อ หรือเจ็บรุนแรง ควรไปพบแพทย์ทันที
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุของอาการเจ็บใต้รักแร้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเจ็บใต้รักแร้เกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่อันตราย และไม่เป็นอันตราย 
  • หากคลำพบตุ่ม เป็นจุดแดงคันร่วมกับอาการเจ็บใต้รักแร้ อาจเกิดจากต่อมเหงื่อหรือรูขุมขนติดเชื้อ การรักษาความสะอาดเป็นประจำจะช่วยป้องกันอาการนี้ได้
  • หากเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย เสื้อผ้า หรือแพ้สบู่ แนะนำให้ไปทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด
  • การโกนขนอาจทำให้เกิดอาการเจ็บใต้รักแร้ได้ จึงควรทาครีมก่อนโกนขน เพื่อป้องกันการบาดผิว
  • หากคลำเจอก้อนเนื้อ กดแล้วเจ็บ หรือเจ็บใต้รักแร้รุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

การพูดถึงอาการเจ็บที่บริเวณรักแร้นั้นอาจเป็นหัวข้อหนึ่งที่หลายคนรู้สึกไม่ค่อยสะดวกใจที่จะพูดถึงเท่าไหร่นัก แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ โดยเฉพาะหากไม่ทราบว่าอาการดังกล่าวนั้นเกิดมาจากอะไร โรคต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บที่บริเวณรักแร้ได้บ่อยครั้ง

ต่อมน้ำเหลืองติดเชื้อหรืออักเสบ

โดยเฉพาะหากคุณคลำแล้วพบว่า มีก้อนอยู่ที่รักแร้ เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองอยู่ที่บริเวณใต้รักแร้ และที่คอของคุณ 

ดังนั้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้เกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ ก็จะทำให้ต่อมมีขนาดใหญ่ขึ้น และกดเจ็บได้ ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวนั้นอาจเกิดได้จากทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส

นอกจากการติดเชื้อแล้ว การตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตนั้นยังอาจเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของการเป็นมะเร็งอีกด้วย หากคุณมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

ภูมิแพ้

การเกิดผื่นแสบหรือคันบริเวณใต้รักแร้นั้นอาจเกิดจากการที่ร่างกายเกิดอาการแพ้ได้ โดยส่วนมากนั้นมักจะเป็นการแพ้สบู่ ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย หรือเสื้อผ้า 

แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยอาการแพ้นี้ได้จากการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT)  หากพบว่า มีอาการแพ้ ก็จะแนะนำให้คุณเปลียนไปใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นที่ร่างกายมีอาการแพ้น้อยกว่าแทน

ต่อมเหงื่อหรือรูขุมขนติดเชื้อ

หากคุณคลำพบตุ่ม เป็นจุดแดงคันร่วมกับอาการเจ็บใต้รักแร้ อาจเกิดจากการที่ต่อมเหงื่อหรือรูขุมขนนั้นเกิดการติดเชื้อ ซึ่งมักเกิดจากการมีสุขอนามัยที่ไม่ดีหรือรักแร้อยู่ในสภาวะเปียกชื้นนานเกินไปและทำให้เกิดเหงื่อออกมาก 

คุณสามารถป้องกันภาวะนี้ได้โดยการอาบน้ำเป็นประจำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากที่มีเหงื่อออก หากเกิดการติดเชื้อ ให้ใส่เสื้อผ้าที่หลวม สบายตัว และระบายอากาศได้ดี ร่วมกับการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เซลล์ผิวหนังที่หมดอายุ และน้ำมันที่ออกมาทางผิวหนัง

กล้ามเนื้อหดตัว

อาการปวดที่ใต้รักแร้นั้นอาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออก, กล้ามเนื้อต้นแขน หรือกล้ามเนื้อหลังนั้นเกิดการหดเกร็ง เพราะถึงแม้ว่าที่บริเวณรักแร้นั้นจะไม่มีกล้ามเนื้ออยู่ แต่อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณใกล้เคียงนั้นอาจมาแสดงที่รักแร้ได้ 

วิธีการรักษา คือ การรอและพักการใช้งานเพื่อบรรเทาอาการปวด คุณอาจจะรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะหน้า

แผลจากการโกนขน

การโกนขนที่บริเวณใต้รักแร้นั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ ซึ่งจะเกิดจากการที่ทาครีมก่อนโกนน้อยเกินไป หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรงดการโกนขนจนกว่าจะหาย

อาการเจ็บที่บริเวณรักแร้อาจเกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย และภาวะร้ายแรง เมื่อเกิดอาการเจ็บ คุณควรสังเกตดูว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ หรือไม่ เช่น ก้อนเนื้อ หรือหากมีอาการเจ็บรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Armpit Pain: Causes, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/armpit-pain)
Armpit Pain: Causes, Treatment, When to See a Doctor. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/armpit-pain-4174284)
Why Does My Armpit Hurt? 3 Possible Causes of Armpit Pain. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/armpit-pain-causes#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม