สาเหตุและการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สาเหตุและการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

สาเหตุและการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

แม้ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมนั้นทำให้อาการออทิสติกพัฒนาขึ้นมาได้ ซึ่งการวินิจฉัยภาวะนี้ควรทำโดยกลุ่มสหสาขาวิชาชีพซึ่งมีการประเมินเฉพาะและสามารถวางแผนบำบัดรักษาต่อไปได้

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการออทิสติกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคนี้จัดเป็นภาวะที่ซับซ้อนมาก และปัจจัยเสริมก่อโรคนั้นอาจมาได้จากทั้งทางพันธุกรรมซึ่งเป็นแนวโน้มธรรมชาติของแต่ละบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยอื่นๆที่ยังไม่ทราบแน่ชัด

ปัจจัยทางพันธุกรรม

นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่ายีนบางตัวที่เด็กได้รับสืบทอดจากบิดามารดาของพวกเขา อาจทำให้พวกเขามีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นกลุ่มอาการออทิสติกได้

กลุ่มอาการออทิสติกนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่ามักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในครอบครัวหนึ่ง  ตัวอย่างเช่น น้องชายหรือน้องสาวของเด็กที่มีอาการออทิสติกสามารถเกิดสภาวะนี้ขึ้นได้เช่นกัน และเป็นเรื่องปกติที่ฝาแฝดเหมือนทั้งสองคนจะเป็นเด็กออทิสติกทั้งคู่

ไม่มีการระบุว่ายีนใดที่เชื่อมโยงเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มอาการออทิสติกในปัจจุบัน แต่อาการออทิสติกนี้ อาจเป็นลักษณะอาการหนึ่งของของความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่างที่พบได้ยาก ได้แก่ ภาวะผิดปกติของโครโมโซมเอกซ์ (Fragile X syndrome) โรคนางฟ้าหรือวิลเลียมซินโดรม (Williams syndrome) และกลุ่มอาการแองเจลแมน (Angelman syndrome)

สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยบางคนเชื่อว่า คนที่เกิดมาพร้อมปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของกลุ่มอาการออทิสติกนั้น จะสามารถพัฒนาเกิดอาการออทิสติกขึ้นหากมีการสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นด้านสิ่งแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงร่วมด้วยเท่านั้น

สิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้ ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด (ก่อนระยะตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์) หรือเด็กในครรภ์สัมผัสกับแอลกอฮอล์หรือยาบางชนิด เช่น ยา Sodium valproate ซึ่งบางครั้งยานี้ก็ใช้ในการรักษาโรคลมชักระหว่างตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่มีหลักฐานชี้ชัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมลภาวะหรือการติดเชื้อของมารดาในครรภ์ กับการเกิดกลุ่มอาการออทิสติกในเด็กแต่อย่างใด

ภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ

ภาวะดังต่อไปนี้เป็นภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดออทิสติก:

  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular dystrophy) - กลุ่มของความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่ค่อยๆทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง
  • กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) - ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มักทำให้เกิดความพิการทางการเรียนรู้ และลักษณะทางกายภาพที่เฉพาะเจาะจงหลายอย่าง
  • โรคสมองพิการ (Cerebral palsy) - ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท ทำให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหวและการประสานงานหรือทรงตัว
  • โรคชักในวัยทารก (Infantile spasm) - โรคลมชักชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในช่วงที่ผู้ป่วยยังเด็กอยู่ โดยปกติ จะเกิดอาการก่อนที่พวกเขาจะอายุครบ 1 ปี
  • โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis) - เป็นภาวะความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่างที่ทำให้เกิดเนื้องอกซึ่งเติบโตไปตามแนวเส้นประสาท โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ คือ ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
  • ความผิดทางพันธุกรรมที่พบได้ยากอื่นๆ เช่น ภาวะผิดปกติของโครโมโซมเอกซ์ โรคทูเบอรัสสเคลอโรซิส (tuberous sclerosis) และกลุ่มอาการเรตต์ (Rett syndrome)

การวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

โปรดเข้าพบแพทย์ หากบุตรหลานของท่านแสดงอาการของโรคออทิสติก หรือหากคุณกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของพวกเขา

หากจำเป็น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปนั้นสามารถแนะนำหรือส่งต่อคุณให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ หรือทีมงานทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก หรือช่องทางในการติดต่อทีมดังกล่าวได้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือทีมผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินในเชิงลึกได้ดีกว่า และควรเริ่มการประเมินเหล่านั้นภายในสามเดือนหลังจากมีการปรึกษาหรือส่งต่อทางการแพทย์

หากคุณได้รับการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ นั่นหมายถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นไปได้ต่อไปนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • นักจิตวิทยา - ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพที่ได้รับปริญญาบัตรด้านจิตวิทยา และมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมและการรับรองในสาขาจิตวิทยา
  • จิตแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางที่ได้รับการฝึกอบรมด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองจากแพทยสภา
  • กุมารแพทย์ - แพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาเด็ก
  • นักบำบัดการพูดและภาษา - ผู้เชี่ยวชาญด้านการจำแนกและรักษาปัญหาด้านการสื่อสาร

ในสถานพยาบาลบางแห่งจะใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหนึ่งคน นั่นหมายถึงการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมินดังกล่าว

การประเมินภาวะออทิสติก

การวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติกนั้นขึ้นอยู่กับช่วงของลักษณะพิเศษที่บุตรหลานของคุณกำลังแสดงอาการออกมาให้เห็น

สำหรับเด็กส่วนใหญ่นั้น:

  • จำเป็นต้องได้ข้อมูลจากแพทย์ผู้ทำการประเมินคนแรก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือบุคลากรของโรงเรียน รวมถึงนักบำบัดทางการพูดและภาษาและนักกิจกรรมบำบัด ในเรื่องของพัฒนาการ สุขภาพ และพฤติกรรมของเด็ก
  • นักบำบัดการพูดและภาษา หรือนักกิจกรรมบำบัดนั้นมักเป็นผู้ทำการประเมินสภาวะของเด็กในปัจจุบัน
  • จำเป็นต้องมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุทางกายภาพที่เป็นไปได้ของอาการของบุตรหลานของคุณหรือภาวะทางการแพทย์ที่อาจซ่อนอยู่ เช่น โรคท้าวแสนปมหรือภาวะดาวน์ซินโดรม
  • การประเมินจะรวมถึงการตรวจสุขภาพร่างกายในปัจจุบันและปัญหาสุขภาพจิตของเด็กคนดังกล่าวร่วมด้วย

นอกจากนี้ ในเด็กบางคน:

  • คุณอาจถูกขอให้เข้าร่วมการปรึกษาด้วยในหลาย ๆ ครั้ง เพื่อพูดคุยถึงประวัติครอบครัวโดยละเอียด และประวัติพัฒนาการและพฤติกรรมของตัวบุตรหลานให้ได้ข้อมูลมากขึ้น
  • บุตรหลานของคุณอาจได้รับการนัดหมายหลายครั้ง เพื่อให้มีการสังเกตและประเมินถึงทักษะและกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อขั้นตอนนี้เสร็จสิ้นแล้ว จึงจะมีการยืนยันการวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติก

ภายหลังการวินิจฉัย

เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก ผู้ปกครองหลายคนจะกระตือรือร้นในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจได้จากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลโดยสถาบันการแพทย์ที่เชื่อถือได้ เช่น กรมสุขภาพจิต หรือแม้กระทั่งทีมบุคลากรผู้ทำการประเมินภาวะของเด็ก

การวินิจฉัยกลุ่มอาการออทิสติกในผู้ใหญ่

คนบางคนที่มีอาการออทิสติกเติบโตขึ้นโดยทราบว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความผิดปกติแฝงอยู่ อย่างไรก็ตาม  ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการได้รับการวินิจฉัย บางคนอาจกลัวว่าจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกเนื่องจากเหมือนเป็นการตีตราว่าเขามีความผิดปกติ และส่งผลต่อความคาดหวังและมุมมองของคนรอบข้างต่อตนเอง

อย่างไรก็ตาม มีประโยชน์หลายประการจากการวินิจฉัย เช่น ช่วยให้ผู้ป่วยออทิสติกและครอบครัวของพวกเขาเข้าใจภาวะนี้ให้มากขึ้น และร่วมตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการการสนับสนุนประเภทใด การวินิจฉัยอาจช่วยให้เข้าถึงบริการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ที่เป็นออทิสติกและได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นกว่าการปล่อยไว้ไม่รับการวินิจฉัย

คุณควรเข้าพบแพทย์หากคุณคิดว่าคุณอาจมีอาการของออทิสติก และแพทย์อาจส่งต่อคุณไปหานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อทำงานประเมินเชิงลึกต่อไปได้เอง

หากคุณเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยเหตุผลอื่น ๆ คุณอาจต้องแจ้งให้แพทย์ดังกล่าวรับทราบถึงความกังวลใจดังกล่าวด้วย    

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/autistic-spectrum-disorder-asd#diagnosis


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is Autism Spectrum Disorder?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/facts.html)
Autism Spectrum Disorder. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/autismspectrumdisorder.html)
Autism: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/autism_symptoms_and_signs/symptoms.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป