ปวดหัวตอนเช้าเกิดจากอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

ปวดหัวตอนเช้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ละสาเหตุจะมีอาการที่คล้ายและแตกต่างกัน มาเรียนรู้สาเหตุอาการปวดหัวตอนเช้า และวิธีรักษาอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปวดหัวตอนเช้าเกิดจากอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดหัวตอนเช้าสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย อาจเกิดได้ทั้งจากสาเหตุที่ไม่อันตราย และสาเหตุที่อันตราย
  • การนอนน้อยเกินไป หรือนอนมากเกินไป สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ควรนอนประมาณวันละ 7-8 ชั่วโมง นอกจากนี้ โรคซึมเศร้าก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวตอนเช้าได้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการนอนหลับเช่นกัน
  • หากเกิดจากการมีระดับเอนโดรฟินต่ำ แนะนำให้ออกกำลังกายในตอนเช้าจะช่วยให้อาการดีขึ้น
  • อาการเมาค้าง หรือการดื่มกาแฟไม่ตรงเวลา สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ซึ่งการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอาการได้
  • อาการปวดหัวตอนเช้า อาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ หากคุณมีอาการปวดหัวเป็นประจำ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

การตื่นเช้ามาพร้อมกับความรู้สึกปวดหัวเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และทำให้การเริ่มต้นเช้าวันใหม่ไม่สดใสเท่าที่ควร 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทุกอย่างย่อมมีที่มาที่ไปทั้งนั้น วันนี้ HD จะพาคุณไปดูหลากสาเหตุที่ทำให้ปวดหัวตอนเช้าเพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในวันต่อๆ ไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ปวดหัวตอนเช้า เพราะนอนไม่เพียงพอ

ร่างกายจำเป็นต้องได้พักวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ หากคุณนอนน้อยกว่านี้ ร่างกายจะสันนิษฐานว่า มีบางอย่างผิดปกติ และจะเริ่มเข้าสู่โหมดแพนิค

ฮอร์โมนที่มักเกิดขึ้นตอนมีการตอบสนองแบบสู้ หรือหนี (Fight-or-flight) จะถูกหลั่งออกมา ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความเครียดสูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ปวดหัวได้

คุณสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ โดยตัวยาจะไปช่วยลดการอักเสบ แต่หากยังรู้สึกไม่ดีขึ้น การนอนงีบต่อสัก 20-30 นาที ก็สามารถช่วยได้

2. ปวดหัวตอนเช้า เพราะนอนมากเกินไป

นอกจากการนอนไม่เพียงพอจะทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าแล้ว การนอนมากเกินไปก็สามารถทำให้คุณมีอาการดังกล่าวเช่นกัน 

ทั้งนี้การนอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อคืน มีส่วนทำให้ฮอร์โมนเซโรโทนินลดลง และนั่นก็จะไปลดการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ส่งผลให้ปวดหัวได้ในที่สุด 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทานยาไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน จะช่วยคลายปวดได้ แต่วิธีรับมือกับอาการปวดหัวตอนเช้าที่ดีที่สุดคือ การนอนไม่เกิน 7 หรือ 8 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. ปวดหัวตอนเช้า เพราะมีเอนโดรฟินต่ำ

ร่างกายของเราจะผลิตเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกมีความสุขต่ำที่สุดในตอนเช้าตรู่ และนั่นอาจทำให้บางคนเป็นไมเกรนได้ 

นอกจากนี้ ระดับของเอนโดรฟินต่ำยังสามารถส่งผลต่อระดับของสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า เซโรโทนินได้ ซึ่งทำให้หลอดเลือดในสมองตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลไปยังสมองน้อยลงตามไปด้วย และทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ในที่สุด 

สำหรับวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือ การออกกำลังกายในตอนเช้า เพราะจะช่วยให้ฮอร์โมนดังกล่าวหลั่งออกมามากขึ้น

4. ปวดหัวตอนเช้า เพราะดื่มเหล้าเมื่อคืน

การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ แบบจัดเต็มนั้นสามารถทำให้ปวดหัวในเช้าวันถัดมาได้ 

นอกจากนี้ การบริโภคเครื่องดื่มมอมเมาเหล่านี้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลไปยังสมองน้อยลง และทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน

ซึ่งวิธีที่สามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นคือ การดื่มน้ำเปล่า เครื่องดื่มอิเล็กโทรไลท์ หรือเลือกดื่มน้ำที่ผสมผงวิตามินซีก็สามารถช่วยให้ตับกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้มีประสิทธิผลมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5. ปวดหัวตอนเช้า เพราะนอนกรน

การนอนกรนอาจเป็นสัญญาณของโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งผู้ป่วยจะหายใจไม่ออก อ้าปากเพื่อรับอากาศ และแม้แต่หยุดหายใจชั่วคราว 

อย่างไรก็ตาม อาการหายใจไม่ออกจะหายไปในเวลาไม่กี่วินาที แต่ก็ทำให้สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญยังไม่แน่ใจว่า ทำไมโรคดังกล่าวถึงทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ แต่มีบางคนสันนิษฐานว่า ออกซิเจนที่ลดลงจะทำให้เส้นเลือดในสมองขยายตัว ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และความดันในศีรษะ ส่งผลให้รู้สึกปวดหัวได้นั่นเอง

หากคุณถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์อาจให้ใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อบรรเทาอาการ

6. ปวดหัวตอนเช้า เพราะไม่ดื่มกาแฟเวลาเดิม

คาเฟอีนที่พบได้ในกาแฟจะไปกระตุ้นระบบประสาท หากคุณดื่มกาแฟเป็นประจำ และไม่ได้ดื่มเวลาเดิม ซึ่งอาจเป็นเพราะตื่นสาย หรือพยายามเลิกดื่มกาแฟ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวเมื่อตื่นนอนได้

การเลิกดื่มกาแฟแบบหักดิบจะทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว ส่งผลให้เลือดไหลไปยังสมองมากขึ้น และเกิดแรงดันจนทำให้ปวดหัว 

หากคุณต้องการเลิกดื่มกาแฟ ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้วิธีลดปริมาณแทนการเลิกดื่มแบบทันที ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่อาจเกิดขึ้นได้

7. ปวดหัวตอนเช้า เพราะเป็นโรคซึมเศร้า

อาการปวดหัวที่เกิดจากโรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาของวัน เพราะมันเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเซโรโทนินที่ต่ำลง 

การเป็นโรคซึมเศร้าจะทำให้ตารางการนอนของคุณผิดปกติ อาจนอนมาก หรือน้อยเกินไป ซึ่งล้วนแต่ทำให้ปวดหัวได้ ดังนั้น หากคุณรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็ควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

8. ปวดหัวตอนเช้า เพราะมีความดันโลหิตสูง

เมื่อมีความดันโลหิตสูงประมาณ 140/90 mmHg  ก็จะทำให้ปวดหัวได้ ซึ่งมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวว่า มีความดันโลหิตสูง เพราะมักไม่ค่อยมีอาการแสดงออกมาให้เรารู้ 

ดังนั้นคุณควรไปพบแพทย์ถ้ามีอาการปวดหัวบ่อย และหาเหตุผลไม่ได้ หากคุณตกอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูง แพทย์ก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยให้หันมาออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือจ่ายยาที่ช่วยลดความดัน

อาการปวดหัวในตอนเช้าอาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ความจริงแล้ว มันกลับทำให้คุณรู้สึกหม่นหมองได้ทั้งวัน แถมยังส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือชีวิตประจำวันอีกด้วย หากคุณพบว่า ตัวเองปวดหัวเป็นประจำ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android   


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Headache in the morning: Should I Be Worried?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/headache-migraine-specialist/headache-when-i-wake-up.aspx)
Why Do I Have Headaches in the Morning? Causes, Treatment, Cure. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/morning_headaches/article.htm)
Waking Up With a Headache?. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/waking-up-with-a-headache/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป