กะหล่ำดาว หน้าตาน่ากิน รสชาติอร่อย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กะหล่ำดาว หน้าตาน่ากิน รสชาติอร่อย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

กะหล่ำดาว (Brussels Sprout) จัดอยู่ในกลุ่มของพืชเมืองหนาว อยู่ในตระกูลของกะหล่ำ มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ รวมถึง ภาคเหนือของทวีปยุโรป มีลักษณะทั่วไป เป็นลำต้นอยู่เหนือดิน ระหว่างข้อบริเวณเหนือก้านใบจะมีหน่อ ลักษณะกลมคล้ายกะหล่ำปลี มีขนาดเล็กพอดีคำ ที่เรียกกันว่า กะหล่ำดาว นั่นเอง สำหรับรสชาติจะคล้ายๆยอดอ่อนของคะน้า นำไปผัดน้ำมันหอย แล้วใส่เบคอนหรือหมูกรอบลงไปอีนิดหน่อย จะอร่อยสุดๆไปเลย ทั้งนี้กะหล่ำดาวไม่ได้มีดีแค่หน้าตาน่ากิน รสชาติอร่อย แต่ยังอุดมไปด้วยประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอีกมากมาย

ประโยชน์ของกะหล่ำดาว

กะหล่ำดาว อุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี ที่ช่วยเกี่ยวกับเรื่องภูมิต้านทาน เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เสริมสร้างคอลลาเจนให้กับผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งสดใส อีกทั้งยังมีพฤกษเคมีที่ไปยับยั้งสารก่อมะเร็ง และยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น วิตามินซี กากใยอาหาร แคลเซียม วิตามินเค ธาตุเหล็ก และเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ กะหล่ำดาว ยังมีวิตามินและสารผัก ชื่อ เอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือรู้จักกันในชื่อของวิตามินยู ที่ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องอันมีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในทางการแพทย์มีการใช้ วิตามินยู ในการช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการปวดท้อง อันเกิดจากแผลในกระเพาะและยังช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยทำงานเป็นปกติ นอกจากนี้ วิตามินยู ยังช่วยต้านมะเร็งโดยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย กะหล่ำดาวจึงเป็นผักที่มีประโยชน์สำหรับคู่สามี-ภรรยาที่ต้องการมีบุตร เพราะ มีกรดโฟลิกสูง เสริมสร้างภาวะวัยเจริญพันธุ์ให้สมบูรณ์ ช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น สามารถลดอัตราเสี่ยงการคลอดลูกที่ไม่สมประกอบได้

กะหล่ำดาวยังเต็มไปด้วยสารไฟโตนิวเทรียนที่ชื่อได-อินโดลิลมีเธน ที่ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง และทำให้ภาวะวัยเจริญพันธุ์ในผู้หญิงเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นกะหล่ำดาว จึงเป็นอาหารวิเศษที่สามารถช่วยให้มีลูกได้จริงๆ ยังไม่หมดแค่นั้นกะหล่ำดาวยังเป็นผักที่มีสารจำพวกอินดอล หรือสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งสารตัวนี้จะมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งของกระเพาะอาหารได้ ซึ่งเห็นจากประโยชน์ของกะหล่ำดาวแล้วน่าที่จะซื้อหามาประกอบอาหารจริงๆ

เมนูกะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวสามารถนำมาทำเมนูง่ายๆอย่างเช่น กะหล่ำดาวผัดน้ำมันหอย หรือนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะทานกับผักสลัด และอื่นๆ ได้อีกมากมาย แค่มีเคล็ดลับอยู่ที่การหั่นครึ่งก่อนนำไปนาบกับกะทะ จนทำให้ได้สีเกรียมสวย และเพิ่มรสชาติของกะหล่ำดาวให้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีก

ข้อควรระวังในการรับประทานกะหล่ำดาว

ไม่ควรรับประทานกะหล่ำดาวดิบครั้งละมากๆ เพราะว่าจะมีสาร Goitrogen ซึ่งจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้น้อย จนเกิดภาวะขาดไอโอดีน และทำให้เกิดโรคคอหอยพอก ซึ่งสารพิษนี้จะไม่เกิดขึ้นหากทำให้สุก อีกทั้งควรรับประทานอย่างพอดีไม่มากจนเกินไป และควรกินสลับกับอาหารอย่างอื่นบ้าง

เมื่อมองจากรูปร่างและประโยชน์ของกะหล่ำดาวแล้ว ก็ชวนอยากหามารับประทานเสียเหลือเกิน ยังไงมื้อหน้าลองมองหาในซุปเปอร์มาเก็ตหรือตลาด มาลองปรุงเป็นอาหารมื้ออร่อยให้คนในบ้านรับประทานแม้ว่ารสชาติอาจติดขมไปหน่อยสำหรับเด็ก แต่หากได้รับประทานกันบ่อยๆ รับรองว่าจะต้องติดใจ เรียกได้ว่าเด็กทานได้ ผู้ใหญ่ทานก็ดี


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Recipe Rehab: 7 Ways to Make Cauliflower Delicious. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/news/7-ways-to-make-cauliflower-delicious/)
Cauliflower: Health benefits and recipe tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/282844)
The Top 8 Health Benefits of Cauliflower. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-cauliflower)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)