โรครากประสาทขา ที่มาของอาการปวดชาร่างกายส่วนล่าง

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรครากประสาทขา ที่มาของอาการปวดชาร่างกายส่วนล่าง

โรครากประสาทขา หรือกลุ่มอาการรากประสาทกระเบนเหน็บ (Cauda equina syndrome) เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โดยปกติกระดูกสันหลังของเราซึ่งมีลักษณะเป็นท่อนๆ เรียงยาวจากลำคอมาจนถึงก้นกบ จะมีส่วนที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก (spinal disc) เป็นแผ่นกระดูกอ่อนคอยขั้นระหว่างกระดูกสันหลังเพื่อลดการเสียดสีเวลาเราเคลื่อนไหว ส่วนภายในโพรงกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังซึ่งภายในก็มีเส้นประสาทอยู่ และส่วนที่เส้นประสาทแยกออกมาจากไขสันหลังซึ่งอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก เราจะเรียกว่า รากประสาท หากหมอนรองกระดูกเสื่อมและเลื่อนมากดทับรากประสาท จะทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกาย การส่งกระแสประสาทเกิดขึ้นผิดปกติด้วย ซึ่งส่วนที่พบว่าถูกกดทับบ่อย คือรากประสาทส่วนกระเบนเหน็บ หรือ Sciatic nerve ที่ลงไปเลี้ยงขา เราจึงเรียกความผิดปกตินี้รวมๆ ว่า โรครากประสาทขา นั่นเอง

อาการของโรครากประสาทขา

อาการนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ปวดเอวหรือกระเบนเหน็บ ร้าวลงมายังสะโพก ต้นขา น่อง และเท้า โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว เช่น ก้มตัว เดิน วิ่ง หรือไอจาม
  • รู้สึกชาที่ส่วนล่างของร่างกาย เช่น ขาหนีบ รอบก้น อวัยวะเพศ และขา
  • รู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บแปลบคล้ายถูกเข็มแทง บางครั้งรู้สึกเหมือนมีแมลงไต่
  • ขาอ่อนแรง ควบคุมการเคลื่อนไหวลำบาก เช่น ยกขาเหยียดตรงไม่ได้ การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะผิดปกติ เช่น อาจท้องผูก หรือกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่ได้

สาเหตุของโรครากประสาทขา

เกิดจากหมอนรองกระดูกส่วนที่อยู่ติดกัน เคลื่อนมากดทับรากประสาทบริเวณเอวหรือกระเบนเหน็บ หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากการบาดเจ็บของรากประสาทโดยตรง ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ ได้แก่

  • อายุมากขึ้น ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังตีบแคบลง
  • เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน
  • เป็นโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมายังรากประสาท เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มีเนื้องอกที่บริเวณรากประสาท
  • เกิดการอักเสบของร่างประสาทจากสาเหตุต่างๆ เช่น เป็นโรคภูมิต้านทานตัวเอง
  • เกิดการติดเชื้อลุกลามมายังไขกระดูกและรากประสาท
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเจาะหลัง

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรครากประสาทขา

  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกเสื่อม
  • คนที่ต้องทำงานใช้แรงมากๆ เช่น ยกของหนักเป็นประจำ
  • ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ และเกิดการกระแทกบริเวณเอว
  • คนที่ทำกิจกรรมต่างๆ ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ

การรักษาโรครากประสาทขา

โรครากประสาทขา จะเน้นการรักษาที่อาการปวด ชา ร่วมกับการรักษาที่สาเหตุตามความจำเป็น โดยมีแนวทางดังนี้

  • การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้ได้แก่
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นการฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อส่วนขา เอว สะโพก ที่อ่อนแรงให้กลับมาแข็งแรง โดยจะเน้นการบริหารกล้ามเนื้อดังกล่าว ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสรีระ เช่น การนั่งทำงานในอิริยาบถไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยให้การเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น
  • การผ่าตัด อาจจำเป็นต้องทำหากมีอาการของโรครุนแรง ถึงขั้นทำให้ขยับตัวลำบาก เดินไม่ได้ และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต รวมถึงรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล แต่การผ่าตัดก็อาจมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และการบาดเจ็บของเส้นประสาทและเนื้อเยื่อรอบๆ ได้
  • การรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนเป็นตัวเลือกในการรักษาที่คนให้ความสนใจ และเชื่อว่าได้ผลดี อย่างเช่น การฝังเข็ม และการกดจุด ซึ่งตามหลักแล้ววิธีดังกล่าวจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดในจุดที่บาดเจ็บดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดบวม และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบๆ จึงช่วยป้องกันไม่ให้รากประสาทถูกกดทับมากกว่าเดิม

การป้องกันโรครากประสาทขา

โรครากประสาทขาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงอาจไม่สามารถป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง แต่เราอาจหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงบางอย่างได้ เช่น การปรับอิริยาบถในการนั่ง นอน เดิน และการทำงานให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ และระวังไม่ให้กระดูกสันหลังส่วนเอวถูกกระแทก เป็นต้น


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lumbar decompression surgery - When it's used. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/lumbar-decompression-surgery/why-its-done/)
Cauda Equina Syndrome: Symptoms, Treatment, Surgery, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/back-pain/guide/cauda-equina-syndrome-overview#1)
Cauda Equina Syndrome: Symptoms, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/cauda-equina-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)