อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว (Catatonia)

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว (Catatonia)

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวคืออะไร

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว เป็นอาการที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ และจะมีอาการร่วมด้วยหลายอาการ เช่น อาการมึนงง หรือเงียบงัน (Stupor) เมื่อเกิดอาการนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่พูด หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งใดๆ

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวสามารถเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ โดยจะมีอาการเป็นชั่วโมงและอาจนานจนถึง 10 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้หลายครั้ง ภายในระยะเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายปี ภายหลังจากมีอาการครั้งแรก ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวมากกว่าผู้ชาย และความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชนิดของอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจิตเวชได้จำแนกอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • Retarded Catatonia : เป็นอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเคลื่อนไหวช้า นั่งนิ่งไม่เคลื่อนไหว และมักไม่พูด
  • Malignant Catatonia : ผู้ป่วยจะมีอาการเพ้อ มักมีไข้ และอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
  • Excited Catatonia : ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ และบางครั้งอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว มีอะไรบ้าง

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว อาจมีอาการร่วมได้หลายอาการ เช่น

  • มึนงงและเงียบ : ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่พูด จ้องออกไปในอากาศตลอดเวลา
  • อาการ Waxy Flexibility : เมื่อจับให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งก็อยู่ในท่านั้นนานผิดปกติคล้ายหุ่นขี้ผึ้ง
  • ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ : เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและการขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการพูดเลียนแบบผู้ที่อยู่ใกล้เคียง คือ พูดเลียนแบบเฉพาะสิ่งที่ได้ยิน

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวอาจบ่งบอกว่าผู้ป่วยกำลังเป็นโรคอื่น ได้แก่

  • โรคจิตอย่างเฉียบพลัน (Acute Psychosis)
  • สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • กลุ่มอาการเอ็นเอ็มเอส (Neuroleptic Malignant Syndrome (NMS))
  • ภาวะชักต่อเนื่องโดยที่ไม่มีอาการเกร็งกระตุก (Nonconvulsive Status Epilepticus)

สาเหตุของอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

สาเหตุที่พบบ่อยของอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว ได้แก่

  • ความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ (Mental Disorders)
  • ความเจ็บป่วยทางจิตจากเหตุการณ์ที่รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)

นอกจากนี้อาจพบสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อยของอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว ได้แก่

  • การใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชบางชนิด
  • การหยุดใช้ยาบางชนิด เช่น ยา Clozapine
  • ความผิดปกติที่สมอง โดยเฉพาะที่บริเวณสมองกลีบหน้า (Frontal Lobes) หรือสมองส่วนทาลามัส (Thalamus)
  • การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน (Cocaine)
  • มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) ในผู้หญิง

การวินิจฉัยอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

ก่อนการวินิจฉัยอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะต้องมีอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีอาการเด่น 2 อาการขึ้นไป แพทย์จึงจะวินิจฉัยว่ามีอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม ยังไมมีวิธีการทดสอบที่จำเพาะเจาะจงสำหรับวินิจฉัยอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว ดังนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและส่งตรวจต่างๆ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ออกไปก่อน เช่น

  • การทำแบบทดสอบ The Bush-Francis Catatonia Rating Scale (BFCRS) : นิยมใช้วินิจฉัยอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว โดยจะมีทั้งหมด 23 ข้อ คะแนนตั้งแต่ 0-3 โดย 0 คะแนน หมายถึง ไม่มีอาการ ส่วน 3 คะแนน หมายถึง มีอาการมาก ผู้ป่วยที่มีคะแนนจากแบบทดสอบ BFCRS สูง มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม Benzodiazepine เป็นอย่างดี
  • การตรวจเลือด (Blood Test) : จะช่วยบอกได้ว่ามีสภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติหรือไม่ เพราะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติเป็นสาเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) โรคชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวได้
  • การตรวจซีทีสแกน (CT scan) หรือ การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) : เป็นการสแกนถ่ายภาพสมอง เพื่อช่วยให้แพทย์พิจารณาได้ว่ามีเนื้องอกในสมอง หรือมีภาวะสมองบวมหรือไม่

การรักษาอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

อาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว สามารถรักษาได้ด้วย 2 วิธี คือ

การรักษาด้วยการใช้ยา : การใช้ยามักเป็นการรักษาแรกที่ใช้สำหรับรักษาอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว ยาที่แพทย์มักนำมาใช้ในการรักษาอาการนี้ ได้แก่

การรักษาทางเลือก : การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy (ECT)) : ทำการรักษาในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์ เป็นการรักษาที่ไม่เจ็บปวด ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา หรืออาการแย่ลงหลังใช้ยา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการรักษาแทน ซึ่งผู้ป่วยได้รับยาช่วยให้ผ่อนคลาย ก่อนจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง สำหรับกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการชักเป็นเวลานาน 1-2 นาที เพื่อเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของสารสื่อประสาทในสมอง

การป้องกันอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว

เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด การป้องกันไม่ให้เกิดอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหว จึงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยารักษาโรคทางจิตเวชในปริมาณที่มากเกินไป เช่น Thorazine เพราะการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง อาจเป็นสาเหตุของอาการแข็งทื่อไม่เคลื่อนไหวได้

ที่มาของข้อมูล

Rachel Nall, What Causes Catatonia? (https://www.healthline.com/symptom/catatonia), November 26, 2013.


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ask the doctor: What is catatonia?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/what-is-catatonia)
Catatonia: Our current understanding of its diagnosis, treatment and pathophysiology. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5183991/)
What Is Catatonia: Causes, Symptoms, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/catatonia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป