กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ระบบไหลเวียนโลหิตคืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร

ทำความรู้จักระบบไหลเวียนโลหิต ส่วนประกอบ กระบวนการทำงาน ความผิดปกติ และวิธีการดูแลป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระบบไหลเวียนโลหิตคืออะไร มีกระบวนการทำงานอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจน (O2) สูง ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย และทำหน้าที่รับเลือดที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจและส่งไปฟอกที่ปอด ก่อนจะรับเลือดที่ฟอกแล้วกลับสู่กระบวนการไหลเวียนเลือดอีกครั้ง
  • ในการบีบของหัวใจ 1 ครั้ง จะมีเลือดประมาณ 60-90 มิลลิลิตร ออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) และมีแรงดันมากพอที่จะส่งเลือดเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็กที่สุดและไกลที่สุด โดยเส้นเลือดในร่างกายผู้ใหญ่นั้นจะมีความยาวถึง 60,000 ไมล์
  • โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจล้มเหลว โรคเหล่านี้มักพบมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง และกรรมพันธุ์
  • ระบบไหลเวียนโลหิตจะทำงานผิดปกติก็ต่อเมื่อหลอดเลือดแดงเกิดการอุดตัน หรือมีสิ่งกีดขวาง เช่น มีก้อนไขมัน หรือลิ่มเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดสูงขึ้น หลอดเลือดอาจเกิดการฉีกขาด หรืออาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ

หัวใจ ของผู้ใหญ่จะมีขนาดเท่ากับกำปั้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่เปรียบเสมือนปั๊มน้ำ และปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มหัวใจ โดยภายในจะมี “ระบบไหลเวียนโลหิต” คอยหล่อเลี้ยงเลือดไปทั่วร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

ทำความรู้จักระบบไหลเวียนโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบภายในหัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจน (O2) สูงหรือที่เรียกว่า “Oxygenated blood” ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับเลือดที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูงออกจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ และส่งไปฟอกต่อที่ปอด ก่อนที่จะรับเลือดที่ถูกฟอกแล้วกลับสู่กระบวนการไหลเวียนเลือดอีกครั้ง

ส่วนประกอบของระบบไหลเวียนโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ หัวใจ (Heart) และหลอดเลือด (Vesseles) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • หัวใจ เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนเลือด ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยผ่านหลอดเลือดแดง และนำเลือดเสียกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ
  • หลอดเลือด แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ โดยเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่ถูกสูบฉีดด้วยแรงดันที่สูง ทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงต้องมีถึง 4 ชั้น เพื่อให้ความแข็งแรงพอที่จะรับแรงดันดังกล่าวได้ 

สำหรับหลอดเลือดแดงจะมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก หลอดเลือดทุกขนาดจะมีชั้นกล้ามเนื้อที่สามารถขยายและหดตัวได้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย 

ส่วนหลอดเลือดดำจะมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อยกว่า แต่มีชั้นกล้ามเนื้อยาวกว่า หลอดเลือดดำจะมีลิ้นซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนหลับ

กระบวนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด

ระบบไหลเวียนเลือดจะเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทุกครั้งที่หัวใจเต้น 1 ครั้ง หรือแต่ละครั้งที่หัวใจบีบตัว โดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่ผ่านการฟอกจากปอดไปเลี้ยงทั่วร่างกายผ่านหลอดเลือดใหญ่ เลือดดีจะอุดมไปด้วยสารอาหารและออกซิเจน

ในการบีบของหัวใจ 1 ครั้ง จะมีเลือดประมาณ 60-90 มิลลิลิตร ออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) และมีแรงดันมากพอที่จะส่งเลือดเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็กที่สุดและไกลที่สุด โดยเส้นเลือดในร่างกายผู้ใหญ่นั้นจะมีความยาวถึง 60,000 ไมล์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในขณะเดียวกันเลือดดำจากหัวใจห้องล่างขวาถูกบีบเพื่อไปฟอกอากาศที่ปอด

เมื่อหัวใจคลายตัวเลือดที่มีออกซิเจนเหลือน้อย หรือเลือดเสียจากทั่วร่างกายจะไหลเข้าสู่ระบบหลอดเลือดดำ กลับไปยังหัวใจ ก่อนที่จะถูกนำไปฟอกต่อที่ปอดและเลือดสีแดงสดที่ผอกจากที่ปอดก็ไหลมาที่หัวใจ เพื่อเริ่มต้นวงจรการไหลเวียนของเลือดใหม่

เส้นทางการไหลเวียนเลือดในหัวใจ

ปกติหัวใจจะแบ่งออกเป็น 2 ซีก ซีกละ 2 ห้อง รวมกันเป็น 4 ห้อง ประกอบด้วย

  • หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
  • หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
  • หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
  • หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)

แต่ละห้องจะมีผนังกั้นอยู่และเชื่อมถึงกัน แต่จะมีลิ้นหัวใจคอยเป็นตัวปิดกั้น เพื่อควบคุมให้เลือดไหลถูกทาง โดยเส้นทางการไหลเวียนเลือดมีดังนี้

  • หัวใจด้านขวาจะรับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ (Deoxygenated blood) จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ่านหลอดเลือดดำ แล้วส่งต่อไปยังปอดเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน (Reoxygen)
  • หลังจากเลือดถูกฟอกแล้ว เลือดจะถูกส่งกลับมายังหัวใจด้านบนซ้าย เข้าสู่ห้องล่างซ้าย เป็นส่วนสำคัญในการสูบฉีดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง (Oxygenated blood) เหล่านี้ส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกายผ่านทางหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ต่อไป

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจล้มเหลว

โรคเหล่านี้มักพบมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย และรวมทั้งปัจจัยจากกรรมพันธุ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด

ระบบไหลเวียนโลหิตจะทำงานผิดปกติก็ต่อเมื่อหลอดเลือดแดงเกิดการอุดตัน หรือมีสิ่งกีดขวาง เช่น มีก้อนไขมัน หรือลิ่มเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดสูงขึ้น หลอดเลือดอาจเกิดการฉีกขาด หรืออาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน

ลักษณะอาการเมื่อระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ

หากการไหลเวียนของเลือดลดน้อยลงจะมีอาการแสดงออกมาตามอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น

เมื่อเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรเพิกเฉย เพราะอาจส่งผลกระทบร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

วิธีการดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้แข็งแรง

ระบบไหลเวียนเลือดมีความสำคัญมาก เพราะอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้นอยู่กับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด และนำเลือดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ดังนั้นเราจึงต้องดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยมีวิธีการดูแลระบบไหลเวียนเลือดด้วยตัวเองแบบง่ายๆ คือ

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต  ทำให้หัวใจแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารเคมีหลายชนิดในบุหรี่เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
  • ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ จะช่วยให้แพทย์พบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ทำให้การรักษาได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีการตรวจหัวใจที่นิยมมี 2 อย่างคือ ตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHO (Echocardiography) และตรวจสมรรถภาพหัวใจออกกำลังกายขณะออกกำลังกาย EST (Exercise Stress Test)
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารฟาสต์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) หรือที่เรียกว่า “ไขมันเลว”
  • ผ่อนคลายความเครียด หากระดับฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้เกิดแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่น รับประทานอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่มากขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง และอาจส่งผลต่อการนอนหลับ และความดันโลหิตอีกด้วย

เริ่มดูแลหัวใจของคุณและคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ด้วยวิธีที่เราแนะนำ เพื่อให้หัวใจมีความแข็งแรง ทำงานได้มีประสิทธิภาพได้ยาวนาน ที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจซ้ำๆ บ่อยๆ  อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Heart, Lung and Blood Institute. How the heart works. (https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/how-heart-works), 8 July 2020.
Wayne W. LaMorte, MD, PhD, MPH,Boston University School,cardiovascular-system (http://sphweb.bumc.bu.edu/otlt/MPH-Modules/PH/PH709_Heart/PH709_Heart2.html), 16 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป