คุณสามารถเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดโดยไม่รู้ตัวได้หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คุณสามารถเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดโดยไม่รู้ตัวได้หรือไม่?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเกือบครึ่งนั้นไม่รู้ว่าตนเองกำลังเกิดอาการของโรคดังกล่าว ทำให้เราสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้หลังจากที่เกิดภาวะดังกล่าวไปแล้วจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือการตรวจอื่นๆ ที่ทำให้พบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในหัวใจ

ภาวะนี้อาจเกิดจากการที่บางคนสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้มากกว่าปกติ บางคนอาจเข้าใจผิดว่านั่นเป็นอาการของภาวะอาหารไม่ย่อยหรือเกิดจากการปวดกล้ามเนื้อ ในขระที่บางคนอาจรู้สึกปวดแต่เป็นการปวดที่ร่างกายส่วนบนตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่หน้าอกข้างซ้าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คนเรามีการรับความรู้สึกที่แตกต่างกัน

ผู้ป่วยหลายคนมักไม่ทันได้สังเกตตัวเองในขณะที่กำลังเกิดหัวใจขาดเลือด เนื่องจากอาการเจ็บหน้าอกนั้นพบได้เพียงแค่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเท่านั้น และหลายคนอาจจะรู้สึกแตกต่างกันเช่นบางคนอาจรู้สึกอึดอัดอยู่ภายในช่องอก ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกปวดอยู่ข้างในคล้ายกับเวลาปวดฟัน

ผู้ป่วยหลายคนไวต่อความเจ็บปวดน้อยกว่าคนอื่นๆ หรืออาจจะคิดว่าพวกเขาสามารถทนต่อความเจ็บปวดนั้นได้ทำให้ไม่รู้สึกว่านั่นคืออาการปวด และมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการรับความเจ็บปวดของร่างกายเช่นกันเช่นภาวะอารมณ์ในขณะนั้น นอกจากนั้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจจะไวต่อความเจ็บปวดน้อยกว่าปกติเนื่องจากโรคเบาหวานจะไปทำลายเส้นประสาท และทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดโดยไม่รู้ตัวเพิ่มมากขึ้น

ตำแหน่งที่มักเกิดอาการปวดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

ในขณะที่หัวใจกำลังขาดเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดในตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจเกิดอาการปวดที่แขน ไหล่ คอ ขากรรไกร หรือส่วนใดก็ได้ภายในร่างกายส่วนบน นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่นคลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนแรง

อาการของภาวะหัวใจขาดเลือด

อาการที่มักพบได้บ่อยที่สุดของภาวะนี้คืออาการเจ็บที่ตรงกลางหน้าอก แต่ก็ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกคน บางคนอาจมีอาการอื่นที่พบได้ไม่บ่อยก็ได้

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะหัวใจขาดเลือด

  • เจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมาทับหรือแน่นภายในอก
  • มีอาการเจ็บที่ร้าวไปยังร่างกาย่วนบนโดยเฉพาะที่ไหล่ คอ หรือแขน
  • เหงื่อออก

อาการที่พบได้ไม่บ่อยของภาวะหัวใจขาดเลือด

  • หายใจลำบาก
  • อ่อนแรง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เวียนหัว
  • ปวดหลังหรือขากรรไกร
  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prognosis and Causes of Silent Heart Attacks. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/silent-heart-attacks-1746018)
The danger of “silent” heart attacks. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/the-danger-of-silent-heart-attacks)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป