ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
เขียนโดย
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิธีรักษาโรคไต ทั้งแผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก

หาคำตอบ ป่วยเป็นไตวายจะรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันได้หรือไม่ ?
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีรักษาโรคไต ทั้งแผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก

การแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก มีเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยเช่นเดียวกัน คือ การบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยและการแก้ไขให้ร่างกายกลับมาทำงานได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติ ดังนั้นการเลือกรับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการบำบัดด้วยแพทย์ทางเลือก จึงเป็นวิธีการที่มีความเป็นไปได้ ที่จะส่งเสริมประสิทธิภาพในการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยพยาธิสภาพการเกิดโรคไตและการบำบัดรักษามีความซับซ้อน ผู้ป่วยไตวายจึงควรพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ก่อนตัดสินใจที่จะเลือกใช้การแพทย์ทั้ง 2 ระบบควบคู่กัน

สำหรับโรคผู้ป่วยภาวะไตวาย ซึ่งเป็นภาวะที่ไตมีการทำงานลดลงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม แบ่งเป็นไตวายที่มีการทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า “ไตวายเฉียบพลัน” กับไตวายที่มีการทำงานของไตลดลงอย่างช้าๆ และเป็นการเสื่อมอย่างถาวร เรียกว่า “ไตวายเรื้อรัง” ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure) เป็นภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น ส่งผลให้ไตเสียหน้าที่ เกิดภาวะการคั่งของน้ำ ของเสีย และเสียสมดุลในการควบคุมกรดด่างของร่างกาย หากเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หรือมีแนวโน้มจะกลายเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั้นมีโอกาสที่จะกลับมาทำงานได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติได้ สำหรับไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease) หมายถึง โรคที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากร่างกายด้วยการปัสสาวะได้ ส่งผลให้ของเสียและน้ำค้างอยู่ในเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาไตวายขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะของปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไตวาย ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยไตวายเข้ารับการตรวจและรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว การรักษาในแนวทางนี้ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตเสียหน้าที่เพิ่มขึ้น และการเข้ารับการบำบัดทดแทนไตเพื่อฟอกของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย

แต่แท้ที่จริงแล้ว นอกจากการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพของการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกมีหลายระบบ เช่น การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวช และการแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งการแพทย์ทางเลือกเหล่านี้มีความมุ่งหมายในการบรรเทาอาการทุกข์ทรมาน หรือช่วยรักษาชีวิตให้ผู้ป่วยกลับมาสู่สภาวะที่ไม่เจ็บป่วย หรือลดการเจ็บป่วยได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจเลือกเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทั้ง 2 แผน เพื่อให้เสริมประสิทธิภาพการรักษาซึ่งกันและกัน

ทางเลือกในการรับการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกมีหลายประการ เช่น สมาธิบำบัด โฮมีโอพาธี แมคโครไบโอติกส์ โยคะ อาหารเพื่อสุขภาพ คีเลชั่นบำบัด อโรมาเทอราปี เซลเทอราปี แมคคอทเทอราปี (Maggot therapy) ไทเก๊ก การกดจุด ชี่กง ธรรมชาติบำบัด พลังบำบัด สีบำบัด ภูษาบำบัด ปัสสาวะบำบัด เป็นต้น

แนวทางการเลือกรับการบำบัดด้วยแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการบำบัดด้วยแพทย์ทางเลือกมีหลายวิธี เช่น ผู้ป่วยเลือกรับการรักษาเพื่อการชะลอไตเสื่อมจากแพทย์แผนปัจจุบัน แต่รับการคลายเครียดด้วยการจินตนาการจากแพทย์ทางเลือก หรือผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานซึ่งมีโอกาสเกิดไตวายเรื้อรังได้ เข้ารับการบำบัดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจากแพทย์แผนปัจจุบัน และควบคุมการรับประทานอาหารด้วยการแพทย์แผนไทย เป็นต้น

หลักการเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก มีสิ่งที่ต้องพิจารณา ดังนี้

  1. การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องก่อให้เกิดประสิทธิผล กล่าวคือ การแพทย์ทางเลือกนั้นสามารถบรรเทาอาการ หรือทำให้หาย หรือบรรเทาความทุกข์ทรมานได้  
  2. การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องมีความปลอดภัย กล่าวคือ การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องสามารถแก้ไข หรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  3. การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องมีความคุ้มค่า กล่าวคือ การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องมีความประหยัดและมีการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าสมกับราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไป
  4. การแพทย์ทางเลือกนั้นต้องอยู่บนหลักความมีเหตุผล มีทฤษฎีหรือกลไกการบำบัดที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ตามปรัชญาของการแพทย์ทางเลือกในแต่ละสาขา ซึ่งมักเป็นการยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกจากผู้ที่เข้ารับการอบรมและมีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพเท่านั้น จึงจะมั่นใจได้ว่าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยโรคไตด้วยการแพทย์ทางเลือกถูกบันทึกไว้ในเอกสารวิชาการและมีการเผยแพร่มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ผู้ที่จะตัดสินใจเลือกที่จะเดินเข้ารับการบำบัดด้วยแพทย์ทางเลือกในเบื้องต้นคือผู้ป่วยไตวาย ทั้งนี้ มีข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ป่วยไตวายจำเป็นต้องรู้ก่อนตัดสินใจเข้ารับการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น

  • ถ้าค่าครีเอตินิน (Creatinine) สูงกว่า 1.4 mg % ไม่ควรทำคีเลชัน (Chelation therapy) และถ้าค่าครีเอตินิน สูงเกิน 1.2 mg % ควรจะต้องมีการติดตามค่าครีเอตินินหลังการทำคีเลชันเสมอ
  • การรักษาใดๆ ที่ไม่มีการกินหรือฉีด เช่น นวดแผนไทย นวดสกัดจุด มักมีความปลอดภัยสูง
  • อาจใช้ยาสมุนไพรได้ ถ้ามีการติดตามค่าครีเอตินินก่อนและหลักการรักษา แต่ปัญหาที่พบคือ การใช้ยาสมุนไพรในผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาด้วยการกินยาแผนปัจจุบันจำนวนมาก ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษาด้วยการบำบัดของทั้งสองวิธี
  • การแพทย์ทางเลือกบางอย่างที่ปลอดภัยในคนไข้ไตวาย อาจไม่ได้หมายถึงจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น ถ้าไม่ได้รับการบำบัดที่ถูกต้องจากแพทย์แผนปัจจุบันร่วมด้วย

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อาจารย์อำไพ ชัยชลทรัพย์. การดูแลผู้ป่วยโรคไตด้วยศาสร์กดจุดสะท้อนเท้า (Foot reflexology) เอกสารองค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลป้องกันและบำบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังด้วยการแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือก. สืบค้นจาก Short URL: http://www.thaicam.go.th เมื่อ 11 มิถุนายน 2562
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2555). คู่มือ การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด.
ศ.นพ.อมร เปรมกมล. น.พ.ช.ค. โรคไตเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ด้วยการแพทย์บูรณาการ. เอกสารองค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลป้องกันและบำบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังด้วยการแพทย์ผสมผสานและการแพทย์ทางเลือก. สืบค้นจาก Short URL: http://www.thaicam.go.th เมื่อ 11 มิถุนายน 2562

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คุยกับแพทย์ของคุณเรื่องการแพทย์ทางเลือก
คุยกับแพทย์ของคุณเรื่องการแพทย์ทางเลือก

ถึงเวลาแล้วสำหรับความซื่อสัตย์และการแบ่งปันข้อมูล

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม