คนท้องรับประทานอาหารเสริมและวิตามินบำรุงได้หรือไม่?

รวมวิตามินและแร่ธาตุที่คนท้องควรได้รับมากกว่าปกติ และปริมาณที่ควรรับประทานในแต่ละวัน
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คนท้องรับประทานอาหารเสริมและวิตามินบำรุงได้หรือไม่?

การรับประทานอาหารที่ดีและหลากหลายในขณะตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน แต่ก็มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ร่างกายต้องการมากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งสามารถรับประทานในรูปของอาหารเสริมได้ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

วิตามินและอาหารเสริมที่คนท้องควรรับประทาน มีอะไรบ้าง?

กรดโฟลิค: กรดโฟลิคเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับคนท้อง เพราะช่วยป้องกัน ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects) และป้องกันภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) ที่อาจทำให้ทารกพิการได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานกรดโฟลิคแบบเม็ด 400 mcg ทุกวัน เมื่อคุณพยายามตั้งครรภ์ จนกระทั่งคุณมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ นอกจากนี้ควรทานอาหารที่มีโฟเลต (กรดโฟลิคในรูปแบบธรรมชาติ) เช่น ผักใบเขียว ข้าวกล้อง ซีเรียลและสเปรดบางชนิดที่มีการเติมกรดโฟลิค เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิตามินดี : วิตามินดีเป็นสารอาหารที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกาย ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษากระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ผู้ที่ตั้งครรภ์จึงต้องทานวิตามินดีให้ได้อย่างน้อย 10 ไมโครกรัมทุกวัน ซึ่งวิตามินดีพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ไข่ และเนื้อแดง เป็นต้น

ธาตุเหล็ก : หากร่างกายของคุณไม่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยและอาจเป็นโรคโลหิตจาง ผู้ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องรับธาตุเหล็กมากขึ้น เพื่อให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในเนื้อแดงไม่ติดมัน ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง และถั่ว หากรับประทานอาหารเหล่านี้แล้ว ยังมีปริมาณธาตุเหล็กในเลือดต่ำ แพทย์อาจให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก (Ferrous Sulfate) เพิ่มเติม

แคลเซียม : แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะดึงแคลเซียมอย่างน้อย 2.5% จากร่างกายของแม่ไปยังทารก ถ้าหากได้รับแร่ธาตุชนิดนี้ไม่เพียงพอ ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเปาะในอนาคต ซึ่งคนท้องจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 - 1,200 มิลลิกรัม จึงต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงในทุกมื้ออาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่รักประทานได้ทั้งตัว เช่น ปลาจิ้งจ้าง ผลไม้แห้งจำพวกมะเดื่อและแอปริคอต อัลมอนด์ เต้าหู้ เป็นต้น ถ้าหากไม่สามารถรับประทานได้ แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานแคลเซียมแบบเม็ดแทน

ตามปกติ แพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายวิตามินบำรุงและอาหารเสริม ซึ่งแต่ละที่อาจจะจ่ายยาให้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรเน้นไปที่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารโดยตรงจะดีที่สุด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamins, minerals and supplements in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/vitamins-minerals-supplements-pregnant/)
Pregnancy and prenatal vitamins. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins#1)
Supplements During Pregnancy: What’s Safe and What’s Not. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/supplements-during-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)