กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยาต้านมาลาเรียได้หรือไม่ (Anti-malaria medication)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยาต้านมาลาเรียได้หรือไม่ (Anti-malaria medication)

มาลาเรีย (Malaria) เป็นโรคที่อันตราย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตทั้งตัวแม่และบุตรในครรภ์ได้ มาลาเรียมีพาหะนำโรคคือยุง โดยแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศเขตร้อนชื้น หากท่านตั้งครรภ์และต้องเดินทางหรืออาศัยอยู่ประเทศเขตร้อนชื้น ท่านจะต้องใช้ยาป้องกันมาลาเรียก่อนที่จะออกเดินทาง ยาที่แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงมีดังนี้

  • คลอโรควิน (chloroquine) อาจสามารถใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์ และจะต้องใช้ร่วมการเสริมกรดโฟลิก 5 มิลลิกรัม ร่วมด้วย
  • มีโฟลควิน (mefloquine) ไม่ควรใช้ในครรภ์ไตรมาสแรก
  • ด็อกซีไซคลิน (doxycycline) ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการหลีกเลี่ยงยุงเพื่อป้องกันโรคมาลาเรีย

  • ใช้สเปรย์กันยุงฉีดผิว โดยให้เลือกที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์และใช้บ่อยๆ ตามที่ฉลากแนะนำ
  • สวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวและขายาวหลังจากช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกแล้ว
  • ใช้ยาฆ่ายุง หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเพื่อกำจัดยุง พ่นในห้องหรือในบ้านก่อนนอน

การใช้ยาต้านมาลาเรียในผู้ที่อยากมีครรภ์หรือพยายามมีครรภ์

ผู้ที่ต้องเเดินทางไปในที่เขตร้อนชื้นที่มีโรคมาลาเรียระบาด ควรจะเลื่อนการเดินทางออกไปหากพยายามที่จะตั้งครรภ์อยู่ ไม่ควรใช้ยาต้านมาลาเรียในช่วงที่พยายามมีครรภ์เนื่องจาก

  • ยาต้านมาลาเรียมีผลข้างเคียงต่อการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะมีอาการของมาลาเรียร้ายแรงกว่าหญิงปกติ เสี่ยงถึงชีวิต และอาจทำให้แท้งบุตรได้

ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดหากต้องไปในที่ที่มีความเสี่ยงโรคมาลาเรีย โดยยาบางชนิดเช่น เมโฟลควิน (mefloquine) ผู้ใช้ต้องคุมกำเนิดเป็นอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากหยุดใช้ยา เนื่องจากยาอาจยังอยู่ในกระแสเลือดและส่งผลถึงทารกได้

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Malaria in pregnant women. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/malaria/areas/high_risk_groups/pregnancy/en/)
Can I take anti-malaria medication if I'm pregnant?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/can-i-take-anti-malaria-medication-if-i-am-pregnant/)
One Malaria Episode Early In Pregnancy Triples Miscarriage Risk. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/239203#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม