กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฉันจะตั้งครรภ์หรือเปล่าถ้ามีเพศสัมพันธ์ตอนที่มีประจำเดือน ?

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันจะตั้งครรภ์หรือเปล่าถ้ามีเพศสัมพันธ์ตอนที่มีประจำเดือน ?

คำถาม: ฉันจะตั้งครรภ์หรือเปล่าถ้าฉันมีเพศสัมพันธ์ตอนที่มีประจำเดือน ?

คำตอบ: คำตอบอย่างรวดเร็วคือ ได้ คุณมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คุณกำลังมีประจำเดือน อสุจิสามารถอยู่ในทางเดินของระบบสืบพันธุ์ของคุณได้เป็นวัน ๆ ดังนั้นหากคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันหลัง ๆของการมีประจำเดือน แต่ตกไข่ในไม่กี่วันต่อมา การตกไข่ก็แทบจะเทียบเท่ากับการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทำให้คุณตั้งครรภ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัญหาอื่น ๆ คือผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้คาดการณ์ได้ยากขึ้นไปอีกว่าจะมีประจำเดือนวันไหน

“ฉันได้ยินมาจากเพื่อนผู้หญิง และฉันก็ไม่รู้ว่าเธอไปเรียนรู้มาจากไหน” J ผู้ไม่ประสงค์จะออกนามกล่าว “หากคิดแบบผ่าน ๆ มันก็ฟังดูสมเหตุสมผลดี แต่ฉันไม่ได้คิดในแง่ของฝั่งผู้ชายด้วย โอ้พระเจ้า โชคดีชะมัดเลยที่ฉันไม่ท้อง”

ความจริงคือการตั้งครรภ์ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในวันแรกหรือวันที่สองของการมีประจำเดือน แต่นี่ไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิด ดังนั้นคุณไม่สามารถใช้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการมีประจำเดือนเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นคุณจะทำอย่างไรหากคุณมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนและตอนนี้คุณคิดว่าคุณอาจจะกำลังตั้งครรภ์ ?

การทดสอบการตั้งครรภ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกได้ว่าคุณตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ คุณต้องรอจนกว่าประจำเดือนรอบต่อไปของคุณไม่มา จึงจะได้ผลการทดสอบที่แม่นยำที่สุด ซึ่งการทดสอบนี้อาจเป็นชุดการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเองที่บ้าน หรืออาจเป็นการตรวจของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ หรือหน่วยงานทางสุขภาพ

หากคุณพยายามหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ ก็ต้องหาวิธีการคุมกำเนิดจริง ๆ ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด โฟม ยาฉีดคุมกำเนิด แผ่นแปะ ... มีวิธีเยอะแยะให้คุณเลือก ขอคำแนะนำจากพยาบาลผดุงครรภ์ แพทย์ หรือหน่วยงานสุขภาพท้องถิ่นเสียก่อนว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณหรือเปล่า

พวกเขาอาจถามคำถามคุณมากมายเพื่อช่วยหาสิ่งที่น่าจะใช้ได้ดีสำหรับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนหนึ่งของสิ่งที่พวกเขาอาจถาม ได้แก่

คุณมีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน

เมื่อไรที่คุณต้องการจะตั้งครรภ์

คุณมีคู่ครองเพียงคนเดียวหรือเปล่า

ประวัติทางการแพทย์

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกวิธีที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายคนบอกว่าพวกเธอคิดว่าการตั้งครรภ์ไม่น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกกำลังหลุดลอก สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจก็คือไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้วยังไม่ได้ฝังตัวในโพรงมดลูกเป็นเวลาอีกหลายวันหลังการปฏิสนธิ อสุจิและไข่มีแนวโน้มจะได้เจอกันที่ส่วนปลายหนึ่งในสามของท่อนำไข่ และใช้เวลาอีกสองสามวันเดินทางมาตามท่อนำไข่เพื่อฝังตัวในมดลูก และก่อนหน้านั้น การทดสอบการตั้งครรภ์จะยังไม่ให้ผลบวกแน่นอน เพราะยังไม่มีการสร้างฮอร์โมน hCG


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can I Be Pregnant If I Had My Period a Day After Sex?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/can-i-be-pregnant-if-i-had-my-period-the-day-after-sex-2758455)
Period Sex: Can You Get Pregnant?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/sex-on-period)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม