ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด สามารถออกกำลังกายได้ไหม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด สามารถออกกำลังกายได้ไหม
a15.gif

 คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าการออกกำลังกายจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ง่าย จึงห้ามคนเป็นโรคหอบหืดออกกกำลังกาย ความจริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดมีมากมายอาการของโรคหอบหืดที่มีสาเหตุมาจากการออกกำลังกายจะกำเริบต่อเมื่อออกกำลับกายอย่างหักโหม หากผู้ป่วยไม่กล้าออกกำลังกายเพราะกลัวอาการหอบหืดกำเริบ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง การทำงานของปอดจะแย่ลง

กีฬาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหอบหืด

a15.gif

 ผู้ป่วยโรคหอบหืดสามารถเลือกออกกำลังกายตามสภาพร่างกายและความชอบของตัวเอง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น กีฬาที่เหมาะสมที่สุดคือกีฬาที่สามารถพักเป็นระยะ ๆ ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ว่ายน้ำ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ใช้การหายใจช่วยในการทำงานของปอดดีขึ้น
  • โยคะ ทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น
  • แบดมินตัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ขณะเดียวกันก็ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย
  • เดิน ช่วยให้การทำงานของระบบหายใจดีขึ้น ไม่ควรเดินช้าหรือเร็วเกินไป รักษาความเร็วแค่พอให้เหงื่อซึม
  • รำมวยไทเก๊ก ช่วยปรับระบบการหายใจและทำให้ร่างกายยึดหยุ่นได้ดี ทำให้ปอดแข็งแรง
 

ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

  • การเตรียมตัว ต้องอบอุ่นร่างกายนาน 15 นาทีก่อนเสมอ ควรปรึกษาแพทย์ว่าต้องใช้ยาขยายหลอดลมก่อนหรือไม่
  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องแข่งขันสูง ควรยึดหลักว่าเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น เพราะการแข่งขันสูงอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อุณหภูมิต่ำและแห้ง ขณะอยู่ในห้องออกกกำลังกาย ห้องปรับอากาศ หรือในฤดูหนาควรสวมหน้ากากอนามัย ครออกกำลังกายในสถานที่ที่อบอุ่นแชละมีความชื้นพอเหมาะ
  • ควรมีคนอยู่ข้าง ๆ ขณะออกกำลังกายและพกยาติดตัวเสมอ ขณะออกกำลังกายพยายามใช้จมูกหายใจแทนปาก หากรู้สึกว่าร่างกายผิดปกติควรหยุดทันที
  • หยุดทันทีเมื่ออาการกำเริบกะทันหัน รีบหาทางแก้ไขจนร่างกายกลับสู่สภาพปกติ จากนั้นค่อยเริ่มออกกำลังกายใหม่
  • อบอุ่นร่างกายอีกครั้งหลังออกกำลังกาย จะสามารถลดโอกาสที่อาการหอบหืดจะกำเริบหลังการออกกำลังกายได้

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Asthma & Exercise: Exercising Safely With Asthma. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/best_exercises_for_asthma_yoga_swimming_biking/views.htm)
Exercise for asthma: Benefits, best types, and safety tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324445)
Asthma and Exercise: Safety, Best Workouts, and Tips. WebMD. (https://www.webmd.com/asthma/guide/exercising-asthma#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)