กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กินอิ่มแล้วเรอ เป็นเรื่องปกติ หรือเป็นเรื่องผิดปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กินอิ่มแล้วเรอ เป็นเรื่องปกติ หรือเป็นเรื่องผิดปกติ
a13.gif

 เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว หนังตามักเริ่มหย่อน หนังท้องชักตึงบางคนตึงน้อย บางคนตึงมาก ที่ตึงมากเริ่มรู้สึกอึดอัดแน่นท้อง บางคนต้องขอขยับเข็มขัด บางครั้งรู้สึกท้องค้ำอกจนทนนั่งประจำที่ต่อไปไม่ได้ ต้องลุกขึ้นยืนเปลี่ยนอิริยาบถ หรือออกเดินยืดเส้นยืดสายสักพักใหญ่ จึงจะค่อยคลายความอึดอัด

อิ่มอาหารอย่างเดียวไม่ทรมานเท่าอิ่มทั้งอาหารสะสม หากอยู่ต่อหน้าคนที่ใกล้ชิดหรือสนิทสนม ค่อยยังชั่ว ถึงจะเผอเรอระบายลมออกมาบ้าง คงไม่ใครว่ากระไร แต่ถ้าอยู่ต่อหน้าธารกำนัล กำลังสงวนท่าทีรักษามารยาทแสนจะขัดจ้อง ทั้งธรรมเนียมไทยและฝรั่งไม่อนุญาตให้เรอหลังอาหารได้ตามใจชอบ เท่าที่เคยเห็นในหนัง มีเพียงแขกอาหรับในทะเลทรายเท่านั้นที่เห็นว่าการเรอไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอาย กลับชี้ชมว่าอาหารมื้อนี้แสนอร่อยและเป็นที่พอใจ ทั้งเจ้าของบ้านและแขกจึงชวนกันเรอขึ้นพร้อมกัน

การเรอออกมาเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องปกติ เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะกลไกที่ร่างกายใช้กำจัดลมที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะหลังอาหารมื้อหนัก ท้องเฟ้อพุงขยายแน่นไปด้วยอาหารและลม เรอออกมาเพียงครั้งหรือสองครั้งขจัดลมเหลือแต่อาหาร ช่วยผ่อนคลายความแน่นและอึดอัดลงได้ จึงทำให้รู้สึกสบายขึ้นมาก

อากาศจากภายนอกถูกกลืนเข้าไปพร้อม ๆ กับอาหาร เนื่องจากนิสัยการกินไม่ดีบางอย่าง ในบางกรณีบางคนกลืนอากาศทั้ง ๆ ที่ไม่ได้กินหรือไม่ได้พูด แต่อ้าปากกลืนอาหารเมื่อตกใจหรือตื่นเต้นจนเป็นนิสัยนั่นเอง การอ้าปากเคี้ยวหมากฝรั่งวันละหลาย ๆ ครั้งก็ทำให้กลืนอากาศได้มากเช่นกัน

การเรอของเด็ก

a13.gif

 อาหารของเด็กอ่อน เป็นของเหลวเป็นส่วนใหญ่และมักจะนอนกิน ทั้งท่ากินและลักษณะของอาหารทำให้เด็กกลืนอากาศเข้าไปได้มาก กระเพราะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าเพราะเต็มไปด้วยอากาศ ทำให้แน่นอึดอัดมาก ผู้ใหญ่จึงต้องช่วยตบหลังไล่อากาศออกไปบ้าง

a13.gif

 เมื่อเด็กโตขึ้น เปลี่ยนจากนอนกินมาเป็นนั่งกินและลักษณะอาหารก็เปลี่ยนจากของเหลวกลายเป็นของแข็งเป็นส่วนใหญ่ จึงกลืนอาหารน้อยลงมาก ไม่จำเป็นต้องช่วยตบหลังให้เรออีกต่อไปแล้ว ยกเว้นในกรณีที่มีนิสัยการกินไม่ดีดังกล่าว

อาหารหลายอย่างทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร

a13.gif

 ได้แก่ ถั่วสารพัดชนิด ต้นหอมและหัวหอม ผักตระกูลกะหล่ำปลี ซึ่งนอกจากะหล่ำปลีแล้ว ยังหมายถึงกะหล่ำปมและกะหล่ำดอก อาหารเหล่านี้บางคนกินได้มาก โดยไม่เป็นไร แต่บางคนกินเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกท้องอืดเต็มไปด้วยแก๊ส นอกจากนี้บางคนยังอาจแพ้อาหารบางอย่างที่คนอื่นเขาไม่แพ้กัน อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สได้มากที่สุดก็คือน้ำอัดลม ลมหรือแก๊สที่อัดไว้เข้าไปขยายในท้อง ยิ่งดื่มรวดเดียวหมดขดยิ่งขยายได้มาก อาจทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดอ๊อคไซด์ในทางเดินอาหารได้ถึง 4 เท่าของปริมาตรน้ำอัดลมที่ดื่ม คงจะนึกภาพออกว่าจะทำให้ท้องอืดมากเพียงใด

a13.gif

 เมื่อตระหนักว่าอาจกลืนอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับอาหาร จึงต้องพยายามกลืนอากาศให้น้อยที่สุด ขั้นแรกควรกินอาหารช้าลงนั่นคือแต่ละคำต้องเล็กลง อ้าปากแคบเข้า ปิดปากเคี้ยว และกลืนอย่างช้า ๆ หากรู้ว่าอาหารชนิดใดทำให้ท้องอืดมาก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น ส่วนเวลาดื่มน้ำ ก็ควรค่อยกลืนอย่างช้า ๆ และงดเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม

ส่วนคนที่ท้องอืดหลังอาหารเป็นประจำ เรอบ่อยกว่าปกติและมีอาการทุกข์ทรมานหลังอาหารแทบทุกมื้อ ไม่ควรนิ่งนอนใจควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาการดังกล่าอาจเนื่องมาจากความผิดปกติบางอย่างของอวัยวะภายใน


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why Do You Burp? What Your Burps Can Tell About Your Health. Health.com. (https://www.health.com/condition/digestive-health/cause-of-burping-health)
Excessive Burping: Causes and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/excessive-burping)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป