แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อ

ดูแลรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกอย่างถูกวิธี ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แบ่งออกเป็น 3 ระดับตามระดับความรุนแรง โดยระดับที่ 3 ถือว่า มีความรุนแรงสูงสุด ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากบาดแผลทำลายผิวชั้นผิวหนังแท้ไปหมด รวมถึงต่อมเหงื่อและเซลล์ประสาท
  • หากเกิดแผลจากการสัมผัสความร้อน ไม่ว่าจะระดับใดก็ตาม ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด หรือสบู่แบบอ่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หากเกิดตุ่มน้ำพอง ไม่ควรเจาะออกด้วยตนเอง เพราะเมื่อแผลเปิดอาจเกิดการติดเชื้อได้ ควรรอให้ตุ่มน้ำฝ่อแห้งไปเอง
  • เมื่อเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกไม่ควรใช้ยาสีฟันทา สามารถใช้ว่านหางจระเข้ทาได้ เนื่องจากว่านชนิดนี้มีสารประกอบ 2 ชนิดที่ช่วยให้แผลทุเลาได้จริงและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย
  • หากบาดแผลมีความรุนแรง พยายามทำความสะอาดบาดแผล ทายา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าแผลจะหายสนิท (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นอันตรายใกล้ตัวที่อาจเกิดได้กับทุกคน เช่น ทำอาหารแล้วน้ำมันกระเด็น สัมผัสกับความร้อนจากเตารีด หรือถูกท่อไอเสียจากยานพาหนะ ในแต่ละกรณีมีระดับความรุนแรงและวิธีการรักษาต่างกันออกไป จึงควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกอย่างถูกวิธี

ระดับความรุนแรงของแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ความรุนแรงของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกจะแบ่งได้จากระดับความลึกของแผล ขึ้นอยู่กับว่า ผิวหนังสัมผัสกับความร้อนนานแค่ไหนและกว้างเพียงใด โดยอาจแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับแรก (First degree burn)

แผลระดับนี้เป็นแผลที่ถูกทำร้ายไม่รุนแรงมักเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น สะเก็ดน้ำร้อนลวก ไอน้ำร้อนเฉียดๆ ผิวเสียจากแดด ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะอยู่ที่ชั้นผิวหนังกำพร้า (Epidermis) เท่านั้น อาจมีเพียงแค่รอยแดงแสบร้อนแต่ไม่มีตุ่มน้ำพอง

2. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับสอง (Second degree burn)

แผลระดับนี้จะทำลายถึงชั้นผิวหนังกำพร้าทั้งชั้นนอกและชั้นในจนเกิดความเสียหายเข้าไปถึงชั้นผิวหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใต้ผิวหนังกำพร้า สาเหตุมักเกิดจากการสัมผัสความร้อนที่รุนแรงและนานกว่าระดับแรก เช่น เปลวไฟ น้ำร้อนลวก 

แผลระดับสองแบ่งได้เป็น 2 ระยะย่อยๆ ดังนี้ 

  • แผลระดับสองชนิดตื้น (Superficial partital-thickness burn) ระยะนี้ความเสียหายจะทำลายชั้นผิวหนังแท้เพียงเล็กน้อย สังเกตได้จากตุ่มน้ำพองใส มีน้ำเหลืองซึมเล็กน้อย อาจเกิดอาการแสบร้อนมาก แต่หากรักษาอย่างถูกวิธีแผลน้ำร้อนลวกจะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
  • แผลระดับสองชนิดลึก (Deep partial-thickness burn) ระยะนี้ความเสียหายจากไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก จะทำลายชั้นผิวหนังแท้เข้าไปลึกมากขึ้น ลักษณะแผลอาจมีสีขาว เหลือง หรือน้ำตาลไหม้ และแห้ง เนื่องจากผิวหนังที่คอยกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ถูกทำลาย ของเหลวภายในจึงระเหยออกได้ง่าย อาจมีความเจ็บปวดน้อยกว่าแผลระดับสองชนิดตื้น เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย

3. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ระดับสาม (Third degree burn) 

แผลระดับนี้เป็นแผลที่ความเสียหายทำลายชั้นผิวหนังแท้ไปทั้งหมดรวมทั้งต่อมเหงื่อและเซลล์ประสาทด้วยจึงไม่รู้สึกเจ็บมากนัก แต่แผลจะแห้งเป็นแผ่นแข็งๆ เพราะเสียความชุ่มชื้น 

สาเหตุมักเกิดจากไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ติดเสื้อผ้า หรือสัมผัสของร้อนเป็นเวลานาน ถือเป็นกรณีร้ายแรงและต้องรีบไปพบแพทย์ทันที  

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเป็นแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

หากเกิดแผลจากการสัมผัสความร้อน ไม่ว่าจะระดับใดก็ตาม ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด หรือสบู่แบบอ่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ พยายามล้างด้วยความระมัดระวังเพราะหากถูแรงเกินไปแผลอาจเปิดมากกว่าเดิม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากนั้นลองประเมินว่า แผลของตนเองอยู่ในระดับไหนและเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

วิธีปฐมพยาบาลแผลระดับแรกและแผลระดับสองชนิดตื้น

หลังล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว ซับให้แห้ง และทาครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซิน (Silver sulfadiazine) ซึ่งเป็นครีมฆ่าเชื้อที่นิยมสำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สามารถทาแผลได้โดยตรง หรือปิดด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลชนิดต่างๆ 

ควรทำความสะอาดแผลซ้ำวันละครั้ง หากจะเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทำให้เปียกชุ่มก่อนลอกของเก่าออก หากรักษาความสะอาดเป็นอย่างดีแผลจะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ 

วิธีปฐมพยาบาลแผลระดับสองชนิดลึกและแผลระดับสาม

เป็นแผลที่รุนแรงและอันตราย หลังจากจากล้างน้ำสะอาด หรือน้ำสบู่แล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีโดยยังไม่ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อใดๆ

หากเกิดความร้อนสะสมอยู่ที่เสื้อผ้า เช่น ไฟไหม้เสื้อ น้ำมันเดือดหกใส่ น้ำร้อนลวกใส่เสื้อ ให้ถอดเสื้อออกก่อนเพื่อคลายความร้อน จากนั้นจึงล้างให้สะอาดและไปพบแพทย์ เนื่องจากการรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัดปลูกผิวหนัง (Skin graft)

ถ้ามีตุ่มน้ำพองต้องเจาะไหม?

หลายคนคิดว่า หากถูกน้ำร้อนลวกจนมีตุ่มน้ำพอง ต้องนำเข็มเจาะเพื่อระบายความร้อนและสิ่งสกปรกภายในออกมาซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากภายในตุ่มน้ำพองสะอาดอยู่แล้ว การเจาะจึงไปเปิดแผลให้กว้างขึ้น ยิ่งหากรักษาความสะอาดไม่ดีพอ หรือไม่ได้เจาะโดยแพทย์ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลได้ง่ายขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีที่ถูกต้องคือ ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี ตุ่มน้ำพองจะค่อยๆ ยุบลง และหายไปได้เอง แต่หากแผลมีขนาดกว้าง ตุ่มน้ำพองใหญ่ ควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังและไปพบแพทย์ทันที  

มีแผลจากความร้อนใช้ยาสีฟันถูได้ไหม?

มีความเข้าใจผิดๆ ว่า การใช้ยาสีฟันถู หรือป้ายบริเวณแผลที่เกิดจากความร้อนขนาดเล็ก เช่น น้ำมันกระเด็น น้ำร้อนลวกเล็กน้อย จะช่วยรักษาแผลให้หายไวขึ้น ในความเป็นจริงแล้วยาสีฟันไม่ได้มีสารตัวใดที่ช่วยให้แผลหายไวขึ้น

ที่มาของความเข้าใจนี้น่าจะเป็นเพราะยาสีฟันบางสูตรมีความเย็นจากมิ้นท์ หรือเมนทอล เมื่อทาแผลจึงทำให้รู้สึกแสบร้อนน้อยลง แต่การใช้วิธีนี้มีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อได้ ฉะนั้นทางที่ดีควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำสบู่อ่อนๆ ในการล้างแผลมากกว่า 

ปวดแสบปวดร้อนแผลควรทำอย่างไร? 

หากมีอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด หรือสบู่อ่อนๆ อย่างระมัดระวัง และใช้ผ้าสะอาดปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพราะอาการปวดแสบปวดร้อนสามารถหายได้เองหากดูแลรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี 

แต่หากแผลมีขนาดใหญ่ มีตุ่มน้ำพอง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

อาการปวดแสบปวดร้อนอาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิด เนื่องจากเส้นประสาทยังไม่ถูกทำลาย แสดงให้เห็นว่า แผลที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ในแผลระดับสองชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn) ซึ่งสามารถรักษาให้หายสนิทได้ใน 2-3 สัปดาห์

ว่านหางจระเข้ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้จริงไหม?

ว่านหางจระเข้มีสารโพลียูโรไนด์และโพลีแซคคาไรด์ ที่มีส่วนช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น รวมถึงป้องกันการติดเชื้อได้อีกด้วย การใช้ว่านหางจระเข้กับแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก จึงสามารถใช้ได้จริง 

อย่างไรก็ตาม การใช้ว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ควรใช้ในรูปแบบที่เป็นสารสกัดมาแล้ว เพราะหากใช้ว่านหางจระเข้สดจากต้น อาจมีเชื้อโรค หรือแบคทีเรียปนเปื้อนทำให้แผลติดเชื้อได้ 

วิธีดูแลแผลไฟไหมน้ำร้อนลวกหลังกลับจากโรงพยาบาล

กรณีที่แผลรุนแรง หรือกว้าง จนต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล แม้แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ก็ยังต้องคงต้องดูแลแผลอย่างระมัดระวังเพื่อให้แผลหายไวขึ้น ดังนี้

  • รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอจนกว่าแผลจะหายสนิท
  • ทาครีม หรือโลชั่นบริเวณที่มีผิวหนังฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ของแผลน้ำร้อนลวกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง หากปล่อยผิวแห้งไม่ทาโลชั่น อาจเกิดความระคายเคืองได้
  • แผลน้ำร้อนลวกที่ยังไม่หายสนิทจะยังบอบบางและอาจเกิดอาการคันได้ ไม่ควรใช้มือเกาเพราะแผลอาจถลอกและติดเชื้อได้ ควรรับประทานยาแก้คันที่แพทย์ให้มาเพื่อบรรเทาอาการ 
  • หากมีแผลเปิดบางส่วน ให้ล้างด้วยน้ำเกลือฆ่าเชื้อโรค ซับให้แห้ง และใช้ยาทาเฉพาะที่ที่แพทย์ให้มา หากมีผ้าก๊อซเก่าปิดแผลอยู่ ให้แช่ในน้ำสะอาดจนชุ่มก่อนลอกออกเพื่อลดความระคายเคือง
  • ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม เช่น ผ้าฝ้าย เพื่อปกปิดเนื้อหนังที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ พยายามอย่าให้บริเวณที่เป็นแผลสัมผัสกับฝุ่น หรือแดดโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ทุกชนิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ไม่ควรใช้ยาหม่อง หรือสารที่ผสมเมนทอลให้ความเย็นบริเวณที่แผลน้ำร้อนลวกยังไม่หายสนิท เพราะอาจทำให้ผิวหนังแสบ ระคายเคืองได้ 
  • กินอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อให้ร่างกายเสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้เร็วขึ้น 

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน แต่หากเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องมีสติในการรับมือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเพื่อชะลอความรุนแรงของบาดแผลลง และป้องกันการติดเชื้อ ก่อนจะนำส่งแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาต่อไป 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ (https://med.mahidol.ac.th/patient_care/th/health_issue/06112015-1325-th), 21 สิงหาคม 2560.
ผศ. พญ. สุภาพร โอภาสานนท์, การดูแลรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn Management) (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=911), 21 สิงหาคม 2560.
ผศ. พญ. สุภาพร โอภาสานนท์, คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพื่อการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=914), 21 สิงหาคม 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)