นางแย้ม (Burma conehead)

สรรพคุณ และคุณประโยชน์ของนางแย้ม พร้อมไขข้อสงสัย นางแย้มแต่ละชนิดแตกต่างกันตรงไหน?
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
นางแย้ม (Burma conehead)

นางแย้ม จัดเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ และออกดอกได้ตลอดทั้งปี ชาวไทยสมัยก่อนนิยมนำดอกนางแย้มไปเป็นเครื่องบูชาพระ และนำไปใช้ประโยชน์ทางยา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum fragrans Vent.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์            LABIATAE

ชื่อพ้อง            Clerodendrum philippinium  Schauer, Volkameria fragrans  Vent.

ชื่ออังกฤษ         Burma Conehead, Cashmore Bouquet, Glory Bower,

Fragrant Clerodendron, Lady nugent’s rose

ชื่อท้องถิ่น         กะอุมเปอ ปิ้งชะมด ปิ้งซ้อน ปิ้งสมุทร ส้วนใหญ่

หมายเหตุ  นางแย้มที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับนางแย้มป่า ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clerodendrum viscosum Vent. แต่จัดอยู่ในวงศ์ LABIATAE เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของนางแย้ม

ต้นนางแย้ม เป็นพรรณไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง ทั้งต้นมีขนปกคลุมเล็กน้อย กิ่งก้านค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ก้านใบยาว ใบกลมรูปไข่ ขอบใบหยักฟันเลื่อย โคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ใบยาว 7-15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร หน้าใบมีขนสีดำปกคลุม หลังใบคลุมด้วยขนสีขาว ดอกออกเป็นช่อบริเวณยอดต้น มีสีม่วงแดงสลับกับสีขาว กลีบดอกเรียงซ้อนตัวกันแน่นคล้ายดอกมะลิซ้อน ดอกยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 4 อัน โดยมี 2 อันชูออกจากดอก ผลกลมแยกออกเป็นสี่กลีบ พบได้บริเวณดอก

นางแย้มป่า จีน ฮาวาย ปีนัง ต่างกันอย่างไร?

นางแย้ม และ นางแย้มป่า มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน คือ บริเวณประเทศอินเดียถึงประเทศอินโดนีเซีย แต่ดอกมีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ ดอกนางแย้มจะออกเป็นช่อ มีสีม่วงแดงสลับกับสีขาว กลีบดอกเรียงซ้อนตัวกันแน่น ดอกนางแย้มป่ามีสีขาวแกมชมพู กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด

ส่วนดอกนางแย้มจีนมีสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อม ติดกันเป็นหลอดเช่นเดียวกับดอกนางแย้มป่า แต่ออกดอกเป็นช่อเช่นเดียวกับดอกนางแย้ม ดอกนางแย้มฮาวาย จะมีลักษณะคล้ายดอกนางแย้มจีนมาก แต่มีกลิ่นหอมที่ฉุนกว่า และดอกนางแย้มปีนัง จะมีดอกสีชาวอมม่วงชมพู ลักษณะเป็นรูปแตร โคนกลีบดอกเป็นหลอดคล้ายรูประฆัง ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะเด่นให้สังเกตที่ขอบแฉก จะมีลักษณะบิดโค้งไม่เหมือนดอกนางแย้มชนิดอื่น

สรรพคุณของนางแย้ม

รากและใบของนางแย้ม สามารถนำมาทำเป็นยารักษาโรคได้ โดยวิธีและสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • แพทย์ตามชนบทใช้รากนางแย้มปรุงเป็นยาขับปัสสาวะแก้ลำไส้ และไตพิการ โดยนำส่วนรากมาต้มในน้ำเดือด รับประทานก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น ติดต่อกัน 3-5 วัน
  • ใช้รากฝนกับน้ำปูนใสทาเพื่อรักษาเริมหรืองูสวัด
  • ใบสด ตำพอแหลกพอกบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน ผดผื่นคัน หรือนำใบมาต้มในน้ำเดือด แล้วทิ้งไว้สักครู่ให้พออุ่นๆ นำมาอาบหรือชะล้างบริเวณที่กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน
  • ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน นำส่วนรากและใบไปตากแห้งครั้งละ 20 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ขับลมชื้น แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ รับประทานก่อนอาหารเช้าวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน
  • ตามตำรายาแผนจีน ส่วนราก ช่วยลดอาการบวมน้ำ แก้อาการบวมที่ข้อต่อ แก้ไขข้อกระดูกอักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดตามข้อ โดยนำรากไปตากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันไม่เกิน 15 วัน
  • ตามตำรายาแผนจีน ส่วนราก ใช้ฟอกเลือด แก้ริดสีดวงทวาร โดยนำรากสด ต้มกับน้ำแค่พอเดือด แล้วนั่งจุ่มในน้ำต้ม นาน 10-15 นาที จะช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
  • ในประเทศลาวใช้ส่วนใบเข้าตำรับยาต้ม เพื่อรักษาอาการไข้ที่มีอาการหนาว สั่น และใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ในการรักษาอาการไข้ ใช้ร่วมกับ ต้นฮางร้อน

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้นางแย้ม

เมล็ดของต้นนางแย้มมีสารชื่อ Srrophanthin ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ แม้ส่วนเมล็ดจะไม่ได้ถูกใช้ในตำรับยาพื้นบ้านไทยหรือตามตำรายาแผนจีน แต่ก็ถือว่ามีความเป็นพิษสูง พิษของเมล็ดนางแย้มอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ฉะนั้นหากนำต้นนางแย้มมาปรุงเป็นยา ให้เลี่ยงส่วนเมล็ด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วิทยา บุญวรพัฒน์. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. 2554
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ, ประมวลสรรพคุณยาไทย ภาคสอง, 2521.
วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ. สยามไภษัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ. 2538

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)