กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Bacterial Meningitis (เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย)

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองทุกชั้น อย่างไรก็ตามเชื้อแบคทีเรียมักจะชอบอยู่ที่ชั้นอะแรชนอยด์ และชั้นใต้อะแรนอยด์ แล้วกระจายไปทั่วชั้นใต้อะแรชนอยด์ โดยผ่านทางน้ำไขสันหลังไปรอบ ๆ สมองและไขสันหลัง รวมทั้งโพรงในสมอง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในร่างกาย แล้วทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อที่พบบ่อย คือ Meningococci (Neisseria meningitis), Pneumococci (Streptococcus pneumonia) และ Hemophilus influenza เชื้อเหล่านี้มักพบใน Nasopharynx แต่ไม่ทราบว่าเชื้อเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไปยังชั้นใต้อะแรชนอยด์อย่างไร มักเกิดในผู้ใหญ่ โดยพบมีการติดเชื้อในร่างกาย มีการติดเชื้อหลังผ่าตัด มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง มีพยาธิสภาพในระบบต่าง ๆ หรือได้รับยาฉีดเข้าไขสันหลัง

พยาธิสรีรภาพ 

ยังไม่ทราบแน่นอนว่าเชื้อแบคทีเรียเข้าไปยังชั้นใต้อะแรชนอยด์อย่างไร อาจมีการกระจายผ่านทาง Choroid plexus (โดยการข้าม Blood brain barrier) ในระยะแรกเยื่อหุ้มสมองจะมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเล็กน้อย ต่อมาจะเกิดการอักเสบโดยเกิด Exudate ขึ้น เยื่อหุ้มชั้นอะแรชนอยด์ และชั้นเพียจะหนาตัวขึ้นเป็นพังผิดติดกัน และมีเลือดคั่งในหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงบริเวณช่องชั้นใต้อะแรชนอยด์ ต่อไปจะแตกหรือเป็นก้อนอุดตันหลอดเลือด

อาการ

มีอาการคอแข็ง (Stuff neck) มี Brudzinski’s sign และ Kemig’s sign เป็นบวกและมีอาการกลัวแสง (Photophobia) นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ อ่อนแรง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แรกๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกหงุดหงิดต่อมามีอาการสับสน ซึม กึ่งหมดสติ และอาจชักได้

การวินิจฉัยโรค

จากการตรวจร่างกาย และเจาะหลังกรวดน้ำไขสันหลัง จะพบว่ามีลักษณะขุ่นตรวจ Gram stain พบเชื้อแบคทีเรียถึงร้อยละ 70-80 หากต้องการทราบชนิดของเชื้อตรวจสอบ Bacterial antigen อาจพบเชื้อ Hemophilus influenza กรวดน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Pneumoccocci จะพบว่าน้ำไขสันหลังมีความดันสูงปานกลาง มีโปรตีนสูง กลูโคสลดลง พบเม็ดเลือดขาวมากขึ้นอาจสูงถึง 100-10,00 /cm2 และพบ Polyorphonuclear leukocyte อย่างชัดเจน

การรักษา

หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือภายในไม่กี่วัน การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่เป็นสาเหตุ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ผลดี เช่น Cephalosporins, Rifampin, Vancomycin เป็นต้น โดยใช้ขนาดสูง ๆ อย่างน้อย 10 วัน ให้ยาด้านการชัก ประเมินภาวะสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ และภาวะทางระบบประสาทบ่อย ๆ เพื่อประเมินภาวะความดันในกะโหลกศีรษะ

การพยาบาล

ประเมินและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ประเมินระดับความรู้สึกตัว ได้แก่ Glasgow coma scale (GSC) ขนาดรูม่านตา ปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Motor power) ให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงขอยาเพื่อลดและกำจัดการติดเชื้อ สังเกตภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น อาการอาเจียนโดยไม่มีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการชัก GSC ลดลงมากกว่า 2 คะแนน ความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) เพิ่มขึ้นมากกว่า 20 มม. ปรอทและมีความดันชีพจร (Pulse pressure) กว้าง หัวใจเต้นช้า หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือมีการหายใจเปลี่ยนไป มีปฏิกิริยาสนองตอบต่อความเจ็บปวดลดลง จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนศีรษะสูง 30 องศา หลีกเลี่ยงการก้ม เงย หมุนคอมากเกินไปและหลีกเลี่ยงการงอสะโพกเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก วัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง หากมีไข้ 38.5 องศาเซลเซียส ให้เช็ดตัวลดไข้ (Tepid sponge) อาจให้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ตามแผนการรักษา ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ ติดตามผลการกรวดน้ำไขสันหลัง ประเมินอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง เช่น อาการคอแข็ง (Kernig’s sign) ประคบเย็นที่หน้าอก เพื่อลดอาการปวดศีรษะ สังเกตอาการชักเกร็ง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารโปรตีนสูง และให้ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2,000 ลิตร


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
si.mahidol, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=274)
Elaine K. Luo, M.D., All about bacterial meningitis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9276.php), November 30, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)