ระบบการมองเห็น

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระบบการมองเห็น

การเห็น เกิดจากแสงเข้าสู่ทางแก้วตา และถูกปรับให้ภาพคมชัดบนจอรับภาพที่อยู่ด้านหลังของลูกตา ที่ซึ่งเซลล์ไวต่อแสงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านประสาทตาไปยังสมองเพื่อแปลความหมายเป็นภาพ นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ

1.ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่

  1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา

  1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตา และหลับตาเพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง/นาที

  1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตาซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก หากต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เมื่อร้องไห้น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตาและเข้าไปในจมูกทำให้คัดจมูกได้

2 ส่วนประกอบภายในดวงตา 

คือ ส่วนที่เรียกว่า ลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา (Retina) หรือฉากตา

          2.1 ตาขาว (Sclera) คือ ส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเหนียว ไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตามีกล้ามเนื้อยึดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใส เรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวนการมองเห็นและทำให้เคืองตาได้มาก หากเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้

          2.2 ตาดำ คือ ส่วนที่เป็น ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้ และมีสีตามชาติพันธุ์ คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่า ตาดำตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้า ทำให้รูม่านตาขยายได้เหมาะสม คือ หากเราอยู่ในที่สว่างมากม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาจะเล็กลงทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่หรือหรี่ตาลง หากอยู่ในที่สว่างน้อยม่านตาจะเปิดกว้างทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

          2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้วคล้ายเลนส์นูนธรรมดา มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่างแก้วตาและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมา เมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกลทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนทุกระยะ

          2.4 จอตาหรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นจอรับภาพตามที่เห็น แล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา ซึ่งทอดทะลุออกทางด้านหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่

การมองเห็นภาพ

คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเราผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น

ความผิดปกติของสายตา 

เกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบของนัยน์ตาที่มีลักษณะผิดปกติซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดได้ ตาพร่าได้ ที่พบบ่อย ได้แก่

1. สายตาสั้น คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งที่อยู่ไกลจะเห็นไม่ชัด

สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตาและจอตาอยู่ห่างกันเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. สายตายาว คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด

สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆ ไม่ชัดเจน การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูนเพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี

3. สายตาเอียง คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมองเห็นภาพในแนวดิ่งชัด แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา เห็นเลข 3, 9 ชัด แต่เห็นเลข 6, 12 ไม่ชัด

สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่ากันทุกแนว

การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์พิเศษ รูปกาบกล้วยหรือรูปทรงกระบอก แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตาให้ตกลงบนจอตาให้หมด

4. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่ ตาส่อนและตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่งไม่ตรงกัน หากเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และหากตาเขมากๆ เรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจากตาสองข้างทับกันไม่สนิท

สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตาอ่อนกำลังหรือเสียกำลังไป กล้ามเนื้อมัดตรงข้ามยังทำงานปกติ จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไปยังสิ่งที่ต้องการเหมือนลูกตาข้างที่ดีได้

การแก้ไข ควรปรึกษาจักษุแพทย์ในระยะที่เริ่มเป็น แพทย์อาจรักษาโดยการให้ใช้แว่นตาหรือฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนกำลังให้ทำงานดีขึ้นหรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด

การถนอมดวงตา 

ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพดีที่สุดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

1. อย่าใช้สายตานานเกินควร หากจำเป็นควรพักสายบ่อยๆ

2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่งจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือประมาณ 1 ฟุต

3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่าของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 นิ้ว = 70/12 ฟุต = 5.83 = ประมาณ 6 ฟุต

4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำยาล้างตา ล้างเอาฝุ่นออก

5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์หรือของสีขาวที่อยู่กลางแดด เพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้

6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปา หรือยิงหนังยางใส่กัน เป็นต้น

7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น เพราะอาจติดเชื้อได้

8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่

9. ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอเป็นประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผัก ผลไม้สีเหลือง เป็นต้น

10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น มองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา เป็นต้น ควรปรึกษาจักษุแพทย์


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Atlantic 2-Day Graphical Tropical Weather Outlook. National Hurricane Center. (https://www.nhc.noaa.gov/gtwo.php?basin=atlc&fdays=2)
Slide show: See how your digestive system works. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/digestive-system/sls-20076373)
TWO-PHOTON TISSUE IMAGING: SEEING THE IMMUNE SYSTEM IN A FRESH LIGHT. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2749751/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป