กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การให้เลือด การบริจาคเลือด และการระบุหมู่เลือด

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการให้เลือด การบริจาคเลือด และผู้บริจาคเลือดที่สามารถให้เลือดได้กับทุกหมู่
เผยแพร่ครั้งแรก 13 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การให้เลือด การบริจาคเลือด และการระบุหมู่เลือด

การต้องให้เลือดระหว่างการผ่าตัดหรือหลังจากการผ่าตัดทันทีนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก การเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และในบางกรณีก็เสียเลือดมากพอที่คาดได้ว่าจะต้องให้เลือด ในกรณีร้ายแรง เช่น การมีเลือดออกระหว่างการผ่าตัด การให้เลือดอาจต้องทำระหว่างการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยรายอื่นๆ การเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดอาจมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อย ทำให้การให้เลือดมีความจำเป็นระหว่างการพักฟื้นตัว

ข้อบ่งชี้ที่ดีที่สุดว่าการให้เลือดนั้นจำเป็นหรือไม่คือการตรวจ CBC ซึ่งระดับ hemoglobin และ hematocrit จะบอกได้ว่าจำเป็นต้องให้เลือดหรือไม่จำเป็นเลย ผู้ที่ต้องได้รับเลือดจะมีอาการและอาการแสดงของการเสียเลือด ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่าภาวะซีด (anemia) นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงของผลตรวจเลือด บางคนจะรู้สึกอ่อนเพลีย วูบง่าย และอาจดูซีดได้ การให้เลือด แม้จะมีความจำเป็นแต่ก็ไม่ใช่ว่าปราศจากความเสี่ยงเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเสี่ยงจากการให้เลือดมีตั้งแต่รอยช้ำเล็กๆ ที่รอยแทงเข็มจนถึงมีโอกาสเสียชีวิตซึ่งเกิดได้น้อยมาก ด้วยเหตุผลนี้ การตัดสินใจว่าจะให้เลือดจึงเป็นเรื่องสำคัญและควรคิดให้รอบคอบ ผู้ป่วยบางรายเลือกปฏิเสธการรับเลือดด้วยเหตุผลทางศาสนาหรือเนื่องจากรู้สึกว่าความเสี่ยงจากการรับเลือดสูง

ผู้ป่วยเหล่านี้บางคนเลือกใช้วิธีการให้เลือดแก่ตัวเอง (autologous blood transfusion) เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลงหรือวางแผนจะทำการผ่าตัดชนิดไม่เสียเลือดหากเป็นไปได้ ยาบางอย่างสามารถช่วยให้ร่างกายสร้างเลือดได้เร็วกว่าปกติ Procrit หรือ Erythropoietin กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและอาจทำให้การรับเลือดไม่ใช่สิ่งจำเป็น

การระบุหมู่เลือด

ก่อนจะรับเลือดก็ต้องรู้หมู่เลือดของคุณก่อน ในกรณีฉุกเฉินอาจให้เลือดกรุ๊ป O ไปก่อนที่จะรู้หมู่เลือด แต่เมื่อการระบุหมู่เลือดเสร็จสิ้นแล้ว คุณจะได้รับเลือดที่ตรงกับหมู่เลือดของคุณ การระบุหมู่เลือดเป็นกระบวนการที่ทำเพื่อหาหมู่เลือดของคุณ ซึ่งจะอยู่ในหนึ่งในสี่กลุ่มคือ A, B, AB หรือ O

นอกจากหมู่เลือดแล้ว Rh factor ก็จะถูกทดสอบด้วย Rh factor จะถูกระบุว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ ดังนั้นหากคุณมีหมู่เลือด A ก็อาจเป็น A+ หรือ A- หากคุณเป็น Rh+ คุณจะรับเลือดที่เป็น Rh+ หรือ Rh- ก็ได้ แต่ถ้าคุณเป็น Rh- คุณจะรับได้แค่เลือดที่เป็น Rh- เท่านั้น การไม่เข้ากันของหมู่ Rh (Rh incompatibility) ของผู้ให้และผู้รับเลือดจะเกิดขึ้นได้น้อยจากการระบุหมู่เลือด

แต่ในบางกรณีคุณแม่บางคนอาจมีอาการจากการไม่เข้ากันของหมู่ Rh ได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อพ่อและลูกในครรภ์เป็น Rh+ แต่แม่เป็น Rh- ในอดีต กรณีเหล่านี้ทำให้เกิดการตายของทารกได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเกือบทุกรายที่มีความไม่เข้ากันของหมู่เลือดจะได้รับการรักษาโดยการฉีดยา RhoGAMM

ผู้ที่ให้เลือดได้ทุกหมู่และผู้ที่รับเลือดได้ทุกหมู่

ผู้ที่ให้เลือดได้ทุกหมู่ (universal donors) คือ ผู้ที่มีเลือดหมู่ที่ให้ได้กับผู้ป่วยทุกคนโดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากการไม่เข้ากันของแอนติเจน (antigens) นอกจากจะสามารถให้เลือดได้ทุกหมู่แล้ว คนเหล่านี้ยังสามารถบริจาคอวัยวะให้ได้กับทุกคนด้วย (universal organ donors)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนผู้ที่รับเลือดได้ทุกหมู่  (universal recipients) คือ ผู้ที่มีหมู่เลือดที่สามารถรับเลือดหมู่ใดก็ได้โดยไม่มีปฏิกิริยาจากแอนติเจน พวกเขายังสามารถปลูกถ่ายอวัยวะจากคนที่มีหมู่เลือดใดๆ ก็ได้อีกด้วย

การบริจาคเลือด

การบริจาคเลือดนั้นยังคงมีความต้องการและการรักษาระดับเลือดสำรองให้เพียงพอก็ขึ้นอยู่กับความเอื้อเฟื้อของประชาชน คนหนึ่งคนที่เริ่มบริจาคเลือดตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นจะสามารถบริจาคเลือดได้มากกว่า 40 แกลลอนที่ใช้ช่วยชีวิตผู้อื่นได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหากคุณพิจารณาว่าผู้บาดเจ็บคนหนึ่งอาจต้องการเลือดมากกว่าสี่สิบถุง หากจะบริจาคเลือดคุณต้องมีสุขภาพแข็งแรง มีอายุอย่างน้อย 17 ปี และหนักไม่ต่ำกว่า 110 ปอนด์

นอกเหนือไปจากคุณสมบัติขั้นต้น ทางสภากาชาดอเมริกันได้จัดทำเกณฑ์คุณสมบัติที่เหมาะสมเอาไว้แล้ว (สภาวะและประวัติพิเศษบางอย่างที่อาจต้องระงับการให้บริจาคเลือด) อย่ากังวลไปว่าคุณจะเป็นผู้บริจาคเลือดได้ได้หรือไม่ พยาบาลที่ศูนย์รับบริจาคเลือดจะช่วยแนะนำคุณได้และช่วยตัดสินว่าคุณเป็นผู้บริจาคได้หรือไม่

บางสภาวะที่ห้ามการบริจาคเลือด ได้แก่

  • HIV
  • ตับอักเสบ (Hepatitis)
  • ตั้งครรภ์
  • วัณโรคระยะแพร่เชื้อ
  • ไข้
  • การติดเชื้อที่ยังเป็นอยู่
  • เดินทางไปยังประเทศที่อาจมีเชื้อ
  • มาลาเรียหรือการติดเชื้ออื่นๆ
  • มะเร็ง

ทาง CDC เพิ่งจะเปลี่ยนกฎเกณฑ์การรับบริจาคเลือดของชายรักร่วมเพศ ในอดีตชายรักร่วมเพศจัดเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงและไม่ได้รับอนุญาตให้บริจาคเลือด ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
cdc.gov, blood-transfusions-and-blood-donation (https://www.cdc.gov/bloodsafety/basics.html)
medlineplus.gov, blood-transfusions-and-blood-donation (https://medlineplus.gov/bloodtransfusionanddonation.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กรุ๊ปเลือดคืออะไร...ทำไมถึงสำคัญ?
กรุ๊ปเลือดคืออะไร...ทำไมถึงสำคัญ?

กรุ๊ปเลือดหรือหมู่เลือดที่แบ่งออกโดยระบบ ABO จะประกอบด้วยหมู่เลือด A B AB และ O การรู้หมู่เลือดจำเป็นมากสำหรับการรักษาที่ต้องมีการให้เลือด

อ่านเพิ่ม