กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สถานที่รับบริจาคเลือดในกรุงเทพฯ พร้อมที่อยู่และการเดินทาง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สถานที่รับบริจาคเลือดในกรุงเทพฯ พร้อมที่อยู่และการเดินทาง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สถานรับบริจาคโลหิตในปัจจุบันตั้งอยู่ตามโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์หลายสาขา
  • วันเวลาในการเปิดรับบริจาคโลหิตของสถานรับบริจาคแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน บางที่เปิดบริการทุกวันเวลาเดิม บางที่จะปิดให้บริการเร็วขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • มีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่มากมายที่คุณสามารถไปบริจาคโลหิตใกล้บ้านได้ ให้คุณลองโทรสอบถามกับทางสภาพกาชาดไทยดูอีกครั้ง
  • ผู้บริจาคโลหิตควรเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนไปบริจาค และตรวจสอบว่า ร่างกายตนเองสามารถบริจาคโลหิตได้หรือไม่ เช่น อายุ 17-70 ปีบริบูรณ์ ไม่ได้สัก หรือเจาะผิวหนังมามากกว่า 12 เดือน ไม่ได้ตั้งครรภ์
  • หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้คุณบริจาคโลหิตได้ คือ มีร่างกายแข็งแรง คุณจึงต้องรักษาสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ และควรไปตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

หากใครกำลังมองหาสถานที่รับบริจาคเลือดในกรุงเทพกันอยู่ วันนี้เราได้รวบรวม 8 สถานที่รับบริจาคเลือดในกรุงเทพฯ มาแนะนำกัน พร้อมที่อยู่ และการเดินทางที่จะทำให้คุณสามารถเดินทางไปบริจาคเลือดตามสถานที่เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะมีที่ไหนบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

เป็นสถานที่รับบริจาคเลือดโดยตรง ซึ่งคุณสามารถเดินทางเพื่อไปบริจาคเลือดที่นี่ได้เลย โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลเรื่องการบริจาคเลือดคอยให้บริการ 

เมื่อไปถึง คุณจะต้องทำตามขั้นตอนที่ทางศูนย์บริการกำหนด นั่นก็คือ กรอกแบบฟอร์ม วัดความดันโลหิต ลงทะเบียน ตรวจความเข้มของโลหิต จากนั้นก็เตรียมพร้อมบริจาคโลหิตได้เลย ซึ่งก็เป็นขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเพียงไม่นาน ส่วนเวลาทำการในแต่ละวันจะมีดังต่อไปนี้

วันเวลาทำการ 
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 08.00-16.30 น.
วันพฤหัสบดี เวลา 07.30-19.30 น.
วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-15.30 น.
ที่อยู่: 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
การเดินทาง: นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินมาลงที่สามย่าน ขึ้นทางฝั่งจามจุรี สแควร์ และเดินเข้าทางประตูด้านสถานเสาวภา (สวนงู)
เบอร์ติดต่อ: 02-256-4300

2สวนจตุจักร

สวนจตุจักรจะมีหน่วยเคลื่อนที่ของสภากาชาดที่คุณสามารถไปคอยให้บริการรับบริจาคโลหิตได้ทุกวันเสาร์ โดยรถจะจอดให้บริการอยู่บริเวณจุดบริการประชาชน และนักท่องเที่ยว

ใครที่มักจะไปเดินเที่ยวสวนจตุจักรเป็นประจำ และอยากบริจาคเลือดก็สามารถไปได้ทุกวันเสาร์ แต่แนะนำว่าควรจะมีคนไปเป็นเพื่อนด้วยสักคน เพราะหลังบริจาคเลือด อาจมีอาการอ่อนเพลียทำให้ไม่สามารถขับรถเองได้ 

เวลาทำการ: ทุกวันเสาร์ เวลา 11.00-15.00 น.
ที่อยู่:
ถนนกำแพงเพชร 1 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
การเดินทาง:
นั่งรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีหมอชิต จากนั้นให้ใช้ทางออกที่ 1
เบอร์ติดต่อ: 
0-2279-3764 

3. มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก

เป็นจุดรับบริจาคเลือดที่ไม่เพียงแต่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บริจาคเลือดเท่านั้น แต่บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าไปบริจาคเลือดได้เหมือนกัน โดยจะรับบริจาคบริเวณอาคาร C ชั้น 10 ใครที่อยากบริจาคเลือดก็ลองแวะไปที่นี่กันดู ซึ่งจะให้บริการประจำทุกวันจันทร์ และวันอังคาร

เวลาทำการ: ทุกวันจันทร์ และอังคาร เวลา 09.00-15.00 น.
ที่อยู่: 
436 รามคำแหง 34 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
การเดินทาง:
มีรถตู้ และรถเมล์คอยให้บริการจากหลายสาย ให้ดูรถตู้หรือรถเมล์ประจำทางที่ระบุว่าไป ม.ราม1
เบอร์ติดต่อ:
 02-743 9999 ต่อ 5061

4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จะมีสาขาบริการโลหิตแห่งชาติเป็นธนาคารโลหิตตั้งอยู่ คุณสามารถเข้าไปสอบถามโดยตรงได้เลยว่า ต้องการมาบริจาคโลหิต ซึ่งที่นี่สามารถเข้าไปติดต่อขอบริจาคโลหิตได้ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ 

เวลาทำการ: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 8.00-15.30น.
ที่อยู่:
504 ถนน สมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวง บุคคโล เขต ธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
การเดินทาง:
นั่งรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีวงเวียนใหญ่ ฝั่งทางออกที่2 จากนั้นนั่งแท็กซี่ต่อไปยังโรงพยาบาล
เบอร์ติดต่อ: 
02-475-2924

5. โรงพยาบาลรามาธิบดี

เป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลในกรุงเทพ ที่มีสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ ให้บริการรับบริจาคโลหิตภายในโรงพยาบาล โดยคุณสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อขอบริจาคเลือดกับทางโรงพยาบาลได้โดยตรง ซึ่งมีจุดรับบริจาคอยู่ที่ห้องรับบริจาคโลหิต อาคาร 1 ชั้น 2 และอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ชั้น 3 

การบริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจะแบ่งเป็น 2 ส่วน และมีเวลาทำการดังต่อไปนี้
บริจาคโลหิตจากผู้บริจาคทั่วไป และญาติผู้ป่วย: เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
บริจาคจากผู้ป่วยเพื่อใช้ในการผ่าตัด เปิดบริการในเวลาราชการ: เวลา 08.30-16.30 น.

ที่อยู่: 270 ถ.พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
การเดินทาง: สำหรับการเดินทางไปยังโรงพยาบาลรามาธิบดี จะมีรถประจำทางหลายสาย คือ สาย 8, 44, 67, 92, 97, 157, 171, 509, 538 จากถนนพระราม 6 และสาย 12, 28, 108, 542, 539, 515 จากถนนราชวิถี
เบอร์โทรติดต่อ:
 02-201-1219, 02-201-1229

6. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

เป็นอีกโรงพยาบาลที่มีธนาคารเลือดสำหรับรับบริจาคเช่นกัน แต่เพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้มาบริจาคโลหิต คุณควรโทรสอบถาม และแจ้งให้ทราบก่อนว่า จะเข้ามาบริจาคโลหิต โดยตัวธนาคารเลือดจะตั้งอยู่ที่ห้องธนาคารเลือด ชั้น 3 ตึกพยาธิวิทยา

เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น"
การเดินทาง:
หากให้เดินทางสะดวกที่สุด ให้นั่งรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แล้วหาป้ายรถเมล์เกาะราชวิถี แล้วใช้บริการรถเมล์สาย 515 18 28 56 108 539 542 มาลงป้ายหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จากนั้นเดินต่อมาที่โรงพยาบาลได้ หรือจะนำรถส่วนตัวขับไปจอดก็ได้
เบอร์โทรติดต่อ: 
02-244-3126-8

7. โรงพยาบาลศิริราช

คุณสามารถไปบริจาคโลหิตได้ที่ห้องรับบริจาคเลือด ชั้น 3 ตึก 72 ปีได้ ที่นี่น่าจะเป็นโรงพยาบาลที่หลายคนเดินทางไปมาสะดวก และยังศูนย์การแพทย์สำคัญอีกแห่งของกรุงเทพมหานครด้วย

เวลาทำการ: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30-16.00 น.
ที่อยู่:
 เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
การเดินทาง:
คุณสามารถใช้บริการรถไฟใต้ดิน MRT ไปลงสถานีอิสรภาพ หรือสถานีบางขุนนนท์ ออกประตู 2 แล้วต่อรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้างไปได้ ส่วนรถไฟฟ้า BTS คุณสามารถลงที่ป้ายสะพานตากสิน แล้วใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาที่มุ่งหน้าไปทางนนทบุรี
จากนั้น ให้คุณลงเรือลำไปทางวัดสิงขร แล้วขึ้นที่ท่าเรือวังหลัง หรือท่าศิริราช

8. ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์

ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ก็มีบริการบริการเคลื่อนที่มารับบริจาคเลือดเช่นกัน โดยจะให้บริการทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน บริเวณลานโยโย่ชั้น 3 โซนโลตัส

เวลาทำการ: ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน เวลา 11.00-15.00 น.
ที่อยู่:
55 Srinakarin Road แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
การเดินทาง:
สามารถเดินทางได้จากหลายสาย ซึ่งจะมีรถประจำทางคือรถเมล์สาย 145 หรือจะนั่งรถไฟฟ้า BTS ไปลงที่สถานีอ่อนนุช และต่อรถสองแถวไปที่ซีคอนฯ ก็ได้
เบอร์ติดต่อ:
02-721-8888

9. ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค

สำหรับใครที่อยู่ใกล้กับเดอะมอลล์ บางแค ก็สามารถไปบริจาคโลหิตที่นี่ได้เหมือนกัน บริเวณชั้น P ล้อบบี้ 5 ใกล้กับศูนย์พระเครื่องนั่นเอง 

เวลาทำการ: ทุกวัน เวลา 12.00-18.00 น.
ที่อยู่:
518 ถนนเพชรเกษม แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
การเดินทาง:
การเดินทางไปเดอะมอลล์ บางแค จะมีรถประจำทางให้บริการหลายสาย ขึ้นอยู่กับว่าคุณขึ้นจากจุดไหน เช่น จากอนุสาวรีย์ จะมีรถเมล์ 171, 509 และ 157
เบอร์ติดต่อ:
 0-2487-1000

ยังมีสถานที่รับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่อีกหลายแห่งที่คุณสามารถติดต่อสอบถามผ่านทางเบอร์ของสภากาชาดไทย 0-2263 9600-99 และ 0-2256 4306 ได้ บางทีคุณอาจจะไม่ต้องเดินทางไกลจากบ้าน และยังได้บริจาคโลหิตตามที่ตั้งใจไว้ได้อีก

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว บริจาคเลือด ที่ สภากาชาด เชียงใหม่ | HDmall

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การบริจาคและสิทธิประโยชน์ - สภากาชาดไทย. หน้าหลัก - สภากาชาดไทย | The Thai Red Cross Society. (https://www.redcross.or.th/donate/)
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. หน้าหลัก - สภากาชาดไทย | The Thai Red Cross Society. (https://www.redcross.or.th/category/news/information/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2/)
Home - Blooddonation. ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ. (https://blooddonationthai.com/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)