กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ก่อนจะเข้าใจปัญหา “เปลือกตาอักเสบ” ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเปลือกตาเบื้องต้น เปลือกตาหรือหนังตาของเราเป็นส่วนสำคัญที่คอยปกป้องดวงตา แผ่นเปลือกตาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนด้านหน้า (หรือด้านนอก) เป็นผิวหนังที่บางที่สุดในร่างกาย ปกคลุมด้วยขนตา ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อเหมือนผิวหนังส่วนอื่นๆ
  • ส่วนด้านหลัง (หรือด้านใน) ที่เป็นเยื่อบุตา เปลือกตามีกล้ามเนื้อ ต่อมต่างๆ เส้นเลือด และเส้นประสาทจำนวนมาก โดยเชื่อมโยงกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาตัวเป็นแผ่น เรียกว่าทาร์ซัส (Tarsus) ในส่วนนี้มีต่อมไขมันที่สำคัญ เรียกว่าต่อมมัยโบเมียน (Meibomian glands) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตไขมัน ที่กลายมาเป็นส่วนของชั้นน้ำตา 

เปลือกตาทำหน้าที่ของผิวหนัง คือเป็นส่วนที่ห่อหุ้มปกป้องอันตรายแก่อวัยวะที่อยู่ภายใน ดังนั้น เปลือกตาจึงเป็นด่านหน้า แม้จะสามารถกะพริบเปิดปิดป้องกันลูกตาได้อย่างรวดเร็วก็จริง แต่ตัวเปลือกตาเองก็เสี่ยงจะได้รับอันตรายจากสภาพแวดล้อม มลพิษ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เครื่องสำอาง สี ยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคหรืออาการอักเสบที่กระทบกระเทือนสุขภาพผิวหนังส่วนอื่นๆ ก็มีผลต่อเปลือกตาได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิด Eczema ก็ทำให้เกิดอาการคันตา น้ำตาไหลได้ เชื้อแบคทีเรียจำพวกที่ทำให้เกิดสิวก็ทำให้เกิดตุ่มหนองหรือกุ้งยิงได้ เป็นต้น

โรคเปลือกตาอักเสบเป็นโรคเรื้อรัง พบได้บ่อยว่าเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองตา ไม่สบายตา รู้สึกว่ามีผงอยู่ในตา โดยอาจสังเกตเห็ฯว่าตาแค่ดูแดงระเรื่อๆ จนถึงเป็นสีแดงจัดก็ได้

โรคเปลือกตาอักเสบนี้แปลกตรงที่ ความรุนแรงของอาการอักเสบที่แพทย์ตรวจพบไม่ค่อยจะสัมพันธ์กับอาการที่คนไข้รู้สึก คนไข้บางคนมาพบแพทย์ด้วยอาการไม่สบายตา เจ็บตาอย่างมาก แต่กลับตรวจพบว่าอาการอักเสบที่เปลือกตามีเพียงเล็กน้อย

ในขณะที่บางรายมาด้วยอาการขอบตาดูแดงๆ แค่คันขอบตาเล็กน้อย แต่กลับตรวจพบว่าเปลือกตาอักเสบอย่างมาก จนเป็นแผลที่ขอบตา มีทั้งแผลใหม่และแผลเป็น ทำให้เปลือกตาเป็นพังผืด ขนตาม้วนเข้าแทงกระจกตา ตาแห้งอย่างรุนแรงก็มี

สาเหตุของเปลือกตาอักเสบอาจเป็นมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การที่แบคทีเรียเพิ่มจำนวนที่ขอบตา จากการพามาโดยมือของคนไข้เอง ซึ่งหยิบโน่นจับนี่แล้วมาขยี้ตา หรือการติดเชื้อปรสิตเกิดจากตัวไรชื่อเดโมเดกซ์ (Demodex) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุได้ทั้งเปลือกตาอักเสบส่วนหน้าและส่วนหลัง การตรวจหาตัวไรชนิดนี้ จักษุแพทย์ต้องนึกถึงและตรวจหาอย่างถูกต้องจึงจะพบได้ โดยอาจตรวจพบได้ในผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการเปลือกตาอักเสบเลยก็ได้ 

แนวทางการรักษาโรคของเปลือกตาอักเสบเรื้อรังก็คล้ายโรคผิวหนังอักเสบ คือมักจะต้องรักษาต่อเนื่อง นัดพบแพทย์เป็นระยะ ใช้ยา เพิ่มยา ลดยา ปรับเปลี่ยนยา ขณะรักษาอาจต้องงดใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางบางอย่าง ร่วมกับดูแลสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่อนข้างเป็นอุปสรรค ถ้าคนไข้ไม่ตระหนักถึงปัญหาหรือไม่ร่วมมือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดีที่สมัยนี้กล้องตรวจตาและเครื่องมือทันสมัยต่างๆ สามารถถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอได้ ทำให้คนไข้ได้เห็นสภาพตาที่แท้จริง เป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และช่วยเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการรักษาได้เป็นอย่างดี มีส่วนกระตุ้นให้คนไข้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเปลือกตาที่ดีขึ้น 

โรคเปลือกตาอักเสบ 2 ประเภท

โรคเปลือกตาอักเสบแบ่งตามตำแหน่งที่อักเสบเป็น 2 ประเภท คือ เปลือกตาส่วนหน้าอักเสบ กับเปลือกตาส่วนหลังอักเสบ แต่ละประเภทมีรายละเอียดของอาการ การรักษา และการป้องกัน แตกต่างกันดังนี้

1. เปลือกตาส่วนหน้าอักเสบ (Anterior Blepharitis)

ผู้เป็นเปลือกตาส่วนหน้าอักเสบ มักพบสะเก็ดขาวๆ มันๆ ลักษณะเหมือนรังแคสะสมอยู่ตามโคนขนตา ทำให้ขนตาร่วงบ่อย แต่ก็งอกใหม่ได้ พบร่วมกับผู้ที่มีผิวหนังอักเสบประเภทที่มีรังแคที่หนังศีรษะ (Seborrheic Dermatitis) หากมีเชื้อแบคทีเรียมากจนเปลือกตาอักเสบ จะเห็นเป็นสะเก็ดเหลืองๆ หรือแห้งๆ ติดแน่นที่โคนขนตา หรือพบแผลเล็กๆ ที่ขอบตา อาจก่อให้เกิดอาการคัน เจ็บ น้ำตาไหลมาก หรือแพ้แสงได้

หากปล่อยให้เปลือกตาส่วนหน้าอักเสบไปเรื่อยๆ ไม่รักษาตั้งแต่ยังเป็นแบบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง เปลือกตาที่เป็นแผลประจำอาจเกิดพังผืดที่โคนขนตา ทำให้โคนขนตาบิดเบี้ยว งอกผิดทิศ ย้อนกลับเข้าหาตา และขูดผิวตาให้ยิ่งระคายเคืองได้ และการที่เปลือกตาอักเสบบ่อยๆ ยังทำให้ขอบตาบวมหนา มีน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลให้ขอบตาหย่อนห้อยลงมา เกิดตาปิดไม่สนิท น้ำตาไหลง่าย และหกออกมานอกตาได้

สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการรักษาและป้องกันเปลือกตาส่วนหน้าอักเสบ จำเป็นต้องทราบก่อนเรื่องการใช้ยา คือการดูแลสุขลักษณะเปลือกตา สะเก็ดที่ติดกรังอยู่ตามโคนขนตาต้องถูกฟอกออก ขนตาตรงที่เป็นแผลต้องดึงออก อาจใช้แชมพูสระผมเด็ก (เพราะเข้าตาไม่แสบ) เจือจางลงครึ่งหนึ่งโดยผสมน้ำเปล่า ฟอกเปลือกตา หรือจะเรียกว่าสระขนตาก็ได้ หากมีสะเก็ดมากจะใช้ไม้พันสำลีช่วยฟอกก็จะสะอาดขึ้น หรือใช้โฟมสำหรับฟอกเปลือกตาโดยเฉพาะที่มีขายก็ได้ หลังจากนั้นควรใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาหรือป้ายตาตามแพทย์สั่ง ประคบอุ่นที่เปลือกตา งดขยี้ตา ถ้ามือยังไม่สะอาด

2. เปลือกตาส่วนหลังอักเสบ (Posterior Blepharitis)

เปลือกตาส่วนหลังอักเสบมักก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำตา และส่งผลให้กระจกตาอักเสบได้ อาการแสดงทั้งหลายมักเกิดตามมาจากสมดุลของสภาพผิวตาผิดเพี้ยนไป และก่อให้เกิดภาวะน้ำตาที่เคลือบผิวตาไม่สามารถคงตัวอยู่ได้นาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มักพบว่าผู้เป็นเปลือกตาส่วนหลังอักเสบมีอาการเจ็บตาได้บ่อย กว่าผู้เป็นเปลือกตาส่วนหน้าอักเสบ โดยอาจมีอาการแสบตา ฝืดๆ หนักๆ ตา เวลากะพริบตา แพ้แสง และขอบตาบริเวณเปลือกตาแดง คัน เป็นสะเก็ด ลอก เป็นๆ หายๆ อาการมักจะแย่ที่สุดในช่วงเช้า 

ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ ถ้ามีเปลือกตาอักเสบมักจะทำให้ไม่สบายตาเวลาใส่คอนแทคเลนส์ และทนต่อการใช้คอนแทคเลนส์ได้น้อยลง 

ผู้เป็นเปลือกตาส่วนหลังอักเสบมักมาพบจักษุแพทย์ด้วยอาการ 2 อย่าง ได้แก่ ต่อมมัยโบเมียนผิดปกติ จะเห็นเป็นเม็ดใสๆ ติดอยู่ที่ขอบเปลือกตา ทำให้ระคายเคืองมากเหมือนมีเศษผงติดตา หรืออาการต่อมมัยโบเมียนอักเสบ ซึ่งเปลือกตาจะบวมหนาขึ้น แต่มักจะไม่เจ็บมาก หากมาพบแพทย์ นอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว แพทย์มักจะต้องช่วยด้วยการพยายามบีบเปลือกตาเอาไขมันที่คั่งค้างอยู่ในต่อมมัยโบเมียนออกมา อาการบวมจะได้ยุบเร็วขึ้น 

การรักษาเปลือกตาส่วนหลังอักเสบคล้ายกับเปลือกตาอักเสบด้านหน้า อาจต้องหยอดตาและรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากมีอาการตาแห้งจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วย

ในคนไข้บางราย เปลือกตาจะมีอาการบวมมากและเป็นนานหลายๆ สัปดาห์หรือเป็นเดือน จนกลายเป็นซีสต์หรือ “Chalazion” ซึ่งแพทย์มักจะใช้คำว่า “ต่อมไขมันอุดตัน” คนไข้มักจะคลำพบก้อนกลมๆ ลักษณะเป็นซีสต์บริเวณเปลือกตา กดไม่เจ็บ ไม่มีอาการตาแดงหรือมีขี้ตาแต่อย่างใด เป็นมานานแล้ว แต่ก้อนจะไม่แตกออก ลักษณะก้อนของ Chalazion จะต่างจากกุ้งยิง เพราะถ้าเป็นกุ้งยิง เปลือกตาจะบวมแดงขึ้นมาอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน และกดเจ็บมาก เพราะกุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อติดเชื้อต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลายวันเข้าก็จะแตกเองได้โดยภายในจะเป็นหนองไหลออกมา แต่ Chalazion จะไม่แตกเอง 

การรักษาต่อมไขมันอุดตันที่เป็นซีสต์หรือ Chalazion แนะนำให้ไปปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อพิจารณาวิธีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละราย เช่น เปลือกตายังอักเสบมากหรือไม่ ซีสต์ก้อนใหญ่หรือเล็ก และเป็นมานานแล้วหรือยัง หากยังเป็นขนาดเล็กๆ หรือยังนุ่ม แพทย์จะแนะนำให้ประคบอุ่น นวดตา และใช้ยาไปก่อน แต่หากเป็นมานานแล้ว การใช้ยามักไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีเจาะซีสต์ หรือฉีดยาเข้าไปเพื่อให้ซีสต์ฝ่อลง

ในผู้สูงอายุ หากมีเปลือกตาอักเสบเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน อาจกลายเป็นมะเร็งของต่อมมัยโบเมียน Meibomian cell carcinoma แม้ว่าจะพบได้น้อยมาก แต่หากมีก้อนโตผิดปกติบริเวณเปลือกตาก็ควรจะนึกถึงไว้ด้วย 

โรคของเปลือกตาแม้จะว่าจะดูเล็กน้อย ไม่น่ากลัว แต่หากปล่อยปละละเลย คนไข้เองก็ไม่สุขสบาย สิ้นเปลืองไปมากกับซื้อยาหยอดตามาบรรเทาอาการแต่ไม่หาย และมีผลตามมาอย่างอื่นเช่นขนตาแทงตา เปลือกตาผิดรูป ตาแห้งเรื้อรังได้ หากคุณสังเกตได้ว่ามีอาการคัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือคันบริเวณขอบเปลือกตา หรือมักมีเม็ดใสๆ ที่ขอบเปลือกตา แนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันเสียตั้งแต่เรื่องยังเล็ก ดีกว่าต้องรักษากันไปอีกนาน


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blepharitis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/blepharitis/)
Blepharitis | National Eye Institute. National Eye Institute. (https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/blepharitis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เคยประสบอุบัติเหตุรถชน เปลือกตาบนด้านซ้ายเนื้อหลุดหายไปทำให้ตาปิดไม่สนิทและดูโตกว่าอีกด้านหนึ่ง ไม่ทราบพอสีวิธีการรักษาหรือศัยกรรมให้ดูเป็นปกติหรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตาเป็นกุ้งยิงไม่หายสักทีเป็นๆหาย หายแล้วก็กับมาเป็นอีกทำไงดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตาข้างหนึ่งแปลกๆ เหมือนตาดำมันขึ้นไปติดเปลือกตาแล้วแล้วจ้องอะไรนานๆจะมีอาการเมื่อยๆปวดตาแล้วก็ปวดหัวด้วย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อนากถามเรื่องตากุ้งยิง ตาอักเสบค่ะ เป็นมา 2 เดือนแล้วไม่หายเมื่อก่อนเคยเป็นแล้วหายแต่ตอนนี้ไม่หายเลยจะทำอย่างไรได้บ้างต้องผ่าออกหรือเปล่าค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ค่ะ คือขอบใต้ของหนูมันมักสีคล้ำคล้ายๆๆคนอดนอนทั้งๆๆที่นอนเยอะนะค่ะเปนแบลนี้มานานแล้วตั้งแต่เด็กๆอยากทราบครีมหรืออะไรที่ง่ายๆๆให้ทีค่ะ thak you.
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาตาแห้ง น้ำตาน้อย รู้สึกระคายเคืองตาบ้าง มีวิธีการรักษาหรือดูแลด้วยตนเองหรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)