อาการผิวซีดจาง (Blanching of skin)

อาการผิวซีดจางคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง และมีวิธีการรักษาอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการผิวซีดจาง (Blanching of skin)

ผิวซีดจาง คืออะไร?

อาการผิวซีดจาง เกิดจากการอุดตันของการไหลเวียนของเลือดชั่วคราว หากคุณกดเบาๆ ลงบนผิวหนัง คุณจะพบว่าผิวบริเวณนั้นมีสีจางลง ก่อนที่จะกลับมาเป็นสีปกติในไม่ช้า

แต่ในบางครั้งอาการผิวซีดจางก็ไม่ได้เกิดแค่ชั่วคราว ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางการแพทย์บางอย่างที่ทำให้อาการเกิดขึ้นระยะยาวหรือถาวร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของผิวซีดจาง

อาการผิวซีดจาง จะทำให้ผิวดูขาวขึ้นหรือซีดกว่าสีผิวปกติของคุณ แต่จะออกมารูปแบบใดขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น ถ้าเกิดจากการไหลเวียนของเลือดบกพร่อง เมื่อสัมผัสบริเวณนั้นจะรู้สึกเย็นกว่าปกติ

สาเหตุของอาการผิวซีดจาง

สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการผิวซีดจาง เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย จนถึงภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เช่น

  • ผิวหนังไหม้ : ทำให้เม็ดสีภายในเซลล์ผิวบริเวณนั้นหายไป
  • ผิวหนังอักเสบหรือระคายเคืองที่ผิวหนัง : ผิวหนังบางส่วนจะแดงและบางส่วนจะซีด
  • ผิวหนังโดนน้ำแข็งกัด (Frostbite) : ทำให้ผิวหนังสูญเสียการไหลเวียนของเลือด
  • โรคเกลื้อน (Tinea Versicolor) : ประเภทของการติดเชื้อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง
  • แผลกดทับ (Pressure Sores) : ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
  • โรคด่างขาว (Vitiligo) : ผิวหนังบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี ทำให้เกิดด่างขาว
  • โรคเรเนาด์ (Raynaud Phenomenon/ Raynaud Disease) : ผู้ป่วยจะมีภาวะหลอดเลือดแดงหดเกร็ง ทำให้เกิดอาการผิวซีดจางและเจ็บปวด โรคดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อนิ้วมือและนิ้วเท้ามากที่สุด
  • ภาวะโลหิตจาง : ภาวะที่เกิดจากการขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือการสูญเสียเลือดอย่างกะทันหัน ก็สามารถทำให้เกิดอาการผิวซีดจางได้

นอกจากนี้ ยังมีภาวะช็อก (Shock) ที่อาจทำให้ผิวหนังซีดจางเมื่อร่างกายไม่ได้รับเลือดหรือออกซิเจนเพียงพอ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มักเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • การสูญเสียเลือดอย่างรุนแรง
  • การบาดเจ็บที่รุนแรง
  • แผลไหม้ระดับที่สาม
  • การขาดน้ำอย่างรุนแรง
  • การติดเชื้อรุนแรง
  • ปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน

การเกิดภาวะช็อก ไม่ได้ทำให้ผิวหนังซีดจางอย่างเดียว แต่ยังมีอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย

  • หายใจเร็วหรือช้าลงกว่าเดิมอย่างมาก
  • ผิวหนังเย็นและชื้น
  • หมดสติ หรือเป็นลม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ความสับสนทางจิต
  • ปัสสาวะไม่ออก

หากสันนิษฐานว่าคุณ หรือคนใกล้ตัวอาจจะเกิดภาวะช็อกขึ้น ควรโทร 1669 เพื่อเรียกรถฉุกเฉินทันที

หากพบว่าผิวซีดจาง ควรไปพบแพทย์หรือไม่?

หากพบอาการผิวซีดจาง ที่มีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • หายใจไม่สะดวก หรือหายใจขัด
  • ผิวหนังโดนไหม้อย่างรุนแรง หรือลึกมาก หรือกว้างมาก
  • ชีพจรต่ำ
  • หมดสติ
  • ผิวซีด และชื้น
  • คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการอาเจียนเป็นเลือด

การวินิจฉัยอาการผิวซีดจาง

แพทย์จะวินิจฉัยอาการผิวซีดจาง ด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจดูผิวหนังที่ผิดปกติ ดูรอบๆ บริเวณที่ซีดจาง และตรวจสอบระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงว่าต่ำเกินไปหรือไม่ เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น

การรักษาอาการผิวซีดจาง

การรักษาอาการผิวซีดจางขึ้นอยู่กับสาเหตุ ตัวอย่างเช่น หากภาวะนี้เกิดจากภาวะโลหิตจาง หรือภาวะช็อก แพทย์จะรักษาโดยการให้ของเหลว สารอาหาร และแร่ธาตุที่สำคัญผ่านสายน้ำเกลือ เป็นต้น

การดูแลที่บ้านสำหรับบริเวณที่เป็นผิวซีดจาง

  • ทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวโดยทำร้ายได้ง่าย
  • รักษาความอบอุ่นของผิวหนัง ด้วยการสวมเสื้อผ้าหลายชั้น ใส่ถุงมือ หรือถุงเท้าอุ่นๆ
  • หลีกเลี่ยงไม่อยู่ในบริเวณที่มีความเย็นนานเกินไป
  • ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นต้องขยับท่าทางบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับในบริเวณต่างๆ จุดกดสำคัญที่มักได้รับผลกระทบ ได้แก่ ก้น ข้อศอก ข้อเท้า และท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงจะเกิดแผลกดทับ (Decubitus Ulcer) มากที่สุด

ที่มาของข้อมูล

Rachel Nall, What causes blanching of skin? (https://www.healthline.com/symptom/blanching-of-skin), February 26, 2015.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Office Techniques for Dermatologic Diagnosis - Clinical Methods. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK212/)
Blanching of the Skin: Causes and When to Seek Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/blanching-of-skin)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)