กระชายดำ

รวมข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวังของกระชายดำ พร้อมไขคำตอบว่ากินกระชายดำแล้วช่วยอะไร มีอันตรายหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กระชายดำ

กระชายดำ” พืชที่มีสรรพคุณทางยาและได้รับความนิยมในการนำมาปรุงอาหารหลากหลายชนิด กระชายดำได้ฉายาว่า “โสมเมืองไทย” เนื่องจากอุดมด้วยสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะด้านช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อพ้อง Kaempferia rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle

ชื่ออังกฤษ Black galingale

ชื่อท้องถิ่น ขิงทราย (มหาสารคาม) กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)

หมายเหตุ : กระชายมีหลากหลายชนิด จึงทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นชนิดเดียวกัน กระชายดำที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับกระชายเหลือง (Fingerroot) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda L. Mansf. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระชายดำ

กระชายดำเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 40 เซนติเมตร ไม่มีลำต้นบนดิน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่สีเขียวเข้ม ทองใบและโคนก้านใบสีม่วงแดงและสีเขียวเข้มตลอดทั้งต้น ดอกเดี่ยวออกจากเหง้า โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อทรงกรวย ปลายแยกเป็นกลีบสีขาว ด้านในสีม่วง

ความแตกต่างระหว่างกระชายดำและกระชายเหลือง

เหง้าของกระชายดำจะมีลักษณะเป็นเหง้าทรงกลม ออกติดกันเป็นแพ มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นทรงกลม มีก้านเล็กยาว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีดำ รสและกลิ่นเผ็ดคล้ายพริกไทย แตกต่างจากเหง้าของกระชายเหลือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเหง้าสั้นแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก จึงเรียกว่า “นมกระชาย” รากอวบรูปทรงกระบอกหรือกระสวย ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเฉพาะ

สรรพคุณของกระชายดำ

  • แพทย์ไทยโบราณกล่าวว่า ทั้งกระชายดำและกระชายเหลืองสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากมีสรรพคุณใกล้เคียงกัน คือ มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดมวนในท้อง แก้อาการปวดบิดในลำไส้ แก้ท้องเสีย
  • ส่วนเหง้าของกระชายดำ แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำหนัด บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย สรรพคุณคล้ายโสมและกระชายเหลือง
  • แก้มือเท้าเย็น ชาตามปลายมือปลายเท้า บำรุงประสาท
  • แก้ตานทรางในเด็ก (โรคที่พบในเด็กเล็ก พบเป็นเม็ดขึ้นในช่องปากและลำคอ)
  • ตามสรรพคุณยาโบราณกล่าวว่า กระชายมีรสเผ็ดร้อนขม แก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล
  • แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะพิการ โดยใช้หัวปิ้งให้สุก รับประทานกับน้ำปูนใส แก้บิด แก้ปวดมวน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แนวทางการใช้กระชายเพื่อสุขภาพ

  • สมัยโบราณนำเหง้าของกระชายดำมาล้างให้สะอาด จากนั้นผึ่งแดดจนกลายเป็นเหง้าแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง จากนั้นจึงเทน้ำผึ้งใส่เล็กน้อย แล้วปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน นำมารับประทานเพื่อบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด และเป็นยาอายุวัฒนะ
  • นำเหง้ากระชายแห้งบดเป็นผง แล้วกวาดคอเด็กที่เป็นเป็นเม็ดขึ้นในช่องปากและลำคอ
  • โบราณนำเหง้ากระชายมาปอกเปลือกให้เหลือแต่เนื้อใน จากนั้นนำมาปิ้งไฟให้พอสุก แล้วแช่ในน้ำสุรา โบราณเรียก “เหล้าโรง” หรือ “เหล้า 40 ดีกรี” 1 คืน จากนั้นหมกในข้าวเปลือกไว้ 3 คืน นำเหง้ามาบีบเอาน้ำหยอดใส่ตา แก้โรคตาฝ้าฟาง ตามัว
  • กรณีมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ นำเหง้ากระชายมาสับเป็นแว่น ตำ หรือปั่นให้ละเอียด นำมากรองหรือคั้นเอาแต่น้ำ ดื่มเป็นน้ำกระชาย จะช่วยบรรเทาอาการแวดมวนท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • กรณีท้องเสีย และปวดบิดในลำไส้ นำเหง้ากระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใส คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง

การปรุงอาหาร

เหง้ากระชายดำมีรสและกลิ่นเผ็ดคล้ายพริกไทย จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของอาหารอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า เป็นต้น เมนูยอดนิยมที่ทุกคนนึกถึงกระชาย นั่นก็คือ เมนูผัดฉ่าที่มีกลิ่นกระชายนำ

กระชายดำสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือไม่

ในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศของกระชายดำ พบว่าสารสกัดจากเหง้ากระชายดำมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลอง และสามารถเพิ่มขนาดของอวัยวะเพศของสัตว์ได้ ส่วนการศึกษาในคนพบว่า สารสกัดกระชายดำมีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม ทำให้หลั่งน้ำกามเร็วขึ้น และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำ

ข้อควรระวัง

แม้จะมีข้อมูลรายงานการวิจัยว่ากระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริง แต่การศึกษาในคนยังมีจำนวนไม่มาก จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีบางรายงานที่ระบุว่า การรับประทานกระชายดำในปริมาณมากไปทำให้ตับเกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับจึงควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ทางที่ดีควรรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อรัญญา ศรีบุศราคัม, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย, 2560.
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, ไม้เทศเมืองไทย, 2522.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, เครื่องยาไทย 1, 2552.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กระชายดำ ช่วยอะไร อันตรายไหม? ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง
กระชายดำ ช่วยอะไร อันตรายไหม? ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง

รวมข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวังของกระชายดำ พร้อมไขคำตอบว่ากินกระชายดำแล้วช่วยอะไร มีอันตรายหรือไม่

อ่านเพิ่ม