กะทือ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กะทือ

ชื่อท้องถิ่น : กะทือป่า , กะแวน , แฮวดำ (ภาคเหนือ) , เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช
กะทือเป็นพืชที่พบได้ตามบ้านในชนบท เป็นพืชล้มลุก ฤดูแล้งจะลงหัว เมื่อถึงฤดูฝน จะงอกใหม่หัวมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ต้นสูง 3 – 6 ศอก ใบเรียวยาว ออกตรงข้ามกัน ดอกเป็นช่อกลม อัดกันแน่นสีแดง และแทรกด้วยดอกสีเหลืองเล็กๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัวหรือเหง้าแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บยา : ช่วงฤดูแล้ง

รสและสรรพคุณยาไทย : รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

วิธีใช้
หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง โดยใช้หัวหรือเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การศึกษาพิษกึ่งเฉียบพลันของสารสกัดกระทือ (ภาษาไทย). บัญชีนวัตกรรมและเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (http://innovation.dmsc.moph.go.th/InnovationV1.6/ProfileProject.php?ROW_REF=206&PERSON_ID=589)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)