ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!

โอกาสตั้งครรภ์ ข้อดี ข้อเสีย ของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ยังไม่อยากท้อง...ต้องรู้!

    ก่อนที่สาว ๆ จะยอมมีอะไรกันกับแฟนหนุ่ม(หรือแฟนแก่ก็เหอะ ฮ่า...) ดึงสติกลับมาสักห้าวินาที แล้วถามตัวเองก่อนนะคะว่า “วันนี้... เราพร้อมที่จะท้องแล้วหรือยัง?”

วิธีไหนป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%?

ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

                

                อ่านซ้ำวนไปให้ขึ้นใจเลยค่ะ

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

                “ไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใด ๆ ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%”

 

 แล้ววิธีอื่นๆ ล่ะ ป้องกันการตั้งครรภ์ได้บ้างหรือไม่?

Q: หลั่งนอกก็ท้องได้เหรอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

A: ได้ค่ะ

Q: ใช้ถุงยางก็ท้องได้เหรอ

A: ได้ค่ะ

Q: กินยาคุมรายเดือนประจำ ไม่เคยลืมกินเลย ก็ท้องได้เหรอ

A: ได้ค่ะ

Q: รีบกินยาคุมฉุกเฉินทันทีหลังมีอะไรกัน ก็ท้องได้เหรอ

A: ได้ค่ะ

Q: แล้วต้องทำยังไงถึงจะมั่นใจว่าไม่ท้องแน่ๆ?

A: อย่ามีเพศสัมพันธ์ค่ะ

!!???!!!!???!!?!!

 

 

                เอ๊า... ไม่ได้กวนจริง ๆ นะคะ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็หมายถึง มีโอกาสท้องได้เสมอ การป้องกันการตั้งครรภ์แต่ละวิธีทำได้แค่ช่วยลด “ความเสี่ยง” เท่านั้น มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ว่าวิธีนั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และใช้ได้ถูกต้องหรือไม่

 

 

                ถ้ารู้ตัวว่ายัง “ไม่พร้อม” ที่จะตั้งครรภ์ เช่น...

  • อยู่ในวัยเรียน ซึ่งคงไม่มีใครอยากจะเป็น “คุณแม่วัยใส” ถ้าไม่ “พลาด” เพราะมันไม่ใช่เรื่องสนุกเลยนี่นา
  • ยังไม่แต่งงานหรือที่บ้านยังไม่รับรู้ บางคนแม้จะทำงานและรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้แล้ว แต่ก็อดกลัวไม่ได้ว่าพ่อแม่จะเสียใจและผิดหวังถ้ามีเหตุการณ์ท้องก่อนแต่งขึ้นมา
  • ความพร้อมทางการเงินยังไม่มากพอ เพราะลูกเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไหนจะค่าผ้าอ้อม ค่านม ค่าขนม ค่าเสื้อผ้า ค่ายา ค่าแป๊ะเจี๊ยะ โอ๊ย... จิปาถะ เพราะฉะนั้น การมี “โซ่ทองคล้องใจ” ในเวลาที่สถานะทางการเงินยังไม่พร้อม อาจกลายเป็น “โซ่หนักหักคอ” ก็เป็นได้
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น มีความเสี่ยงที่จะป่วยหรือกำลังป่วยด้วยโรคบางอย่าง หรือมีการใช้ยาบางชนิดอยู่

                หรือ เพราะเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย

 

                หากจะมีเพศสัมพันธ์ ต้องถามตัวเองค่ะว่ารับความเสี่ยงที่จะท้องได้มั้ย ถ้าสาว ๆ รับได้... โอเค อะไร ๆ ที่ทำค้างอยู่ เชิญต่อเลยค่ะ ขออภัยที่ทำให้เสียจังหวะและอารมณ์สะดุด (ฮ่า...) 

                ถ้ารับความเสี่ยงไม่ได้ แต่ก็ห้ามใจไม่อยู่ (ฮ่า...) ก็ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ให้ดีนะคะ ดูว่ามีวิธีใดบ้าง แต่ละวิธีมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน ควรเลือกใช้ยังไงเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  • "ควรให้ใครเป็นฝ่ายป้องกันดีคะ แล้วควรใช้วิธีไหนดี?"

                อันที่จริง เรื่องอย่างนี้ไม่ควรผลักภาระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนะคะ ในเมื่อมีสุขร่วมเสพ มีความเสี่ยงก็ต้องร่วมป้องกัน (ฮ่า) จึงควรต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผลค่ะ ควรจะใช้วิธีคุมกำเนิดแบบไหน ไม่มีคำตอบตายตัวหรอกนะคะ เพราะแต่ละคู่ก็มีความความจำเป็นหรือข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ลองพิจารณาประสิทธิภาพ รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของการคุมกำเนิดแต่ละวิธีดูนะคะ

       
       
       
       

***ตัวเลขจะต่ำในกรณีที่ใช้ได้ถูกต้อง และสูงขึ้นหากใช้ผิดวิธีหรือไม่เหมาะสม***

 

                เมื่อเปรียบเทียบกันที่ประสิทธิภาพของการป้องกันการตั้งครรภ์ จะเห็นได้ว่า “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่หลาย ๆ คนนิยมใช้ ไม่ใช่ทางเลือกที่ “ดีที่สุด” เลยค่ะ เพราะฉะนั้น ก็ควรเลือกใช้ทางเลือกที่ “ดีกว่า” มาใช้ก่อน เช่น ถุงยางอนามัยผู้ชาย ซึ่งนอกจากจะป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย แถมสาว ๆ ก็ไม่ต้องทนผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดหรือคอยกังวลว่าจะลืมกินยาคุมมั้ยหรือกินถูกต้องหรือเปล่า วู้ย... เริ่ดค่ะ

                ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกและการใช้ถุงยางได้ที่บทความนี้นะคะ “ฉลาดเลือก-ฉลาดใช้ ถุงยางอนามัย

 

 

  • "แฟนไม่ชอบใช้ บอกว่ามันไม่ฟีลกู้ดดดด...น่ะค่ะ"

               

                แหม... ถุงยางสมัยนี้เค้าพัฒนาแล้วค่า... มีรูป รส กลิ่น สี ที่หลากหลายให้เลือกสนุก เอ๊ย! เลือกสรร นี่หมายถึงถุงยางที่มีเครื่องหมาย อย. นะคะ มีทั้งรุ่นบางเฉียบแบบใส่ก็เหมือนสด (ฮ่า) หรือรุ่นที่มีผิวไม่เรียบ เพิ่มสัมผัสปลุกเร้าอารมณ์ หรือใครที่อยากลองอะไรที่แปลกใหม่ไม่จำเจ ก็เลือกรุ่นที่มีสี มีกลิ่น หรือมีรสต่าง ๆ ก็ยังได้ ไม่ต้องไปเสี่ยงกับถุงยางหวือหวาที่ไม่มีมาตรฐานรับรองเลยค่ะ ลองช่วยกันเลือกช่วยกันลอง (ฮ่า) หารุ่นที่ฟีลกู้ดร่วมกันสิคะ

 

 

  • "มีอะไรกันไม่บ่อย คิดอยู่ว่าน่าจะใช้ถุงยาง จะได้ไม่ต้องคอยกินยาคุมรายเดือนตลอดทุกวัน แต่ถ้าแฟนไม่ยอมใช้ถุงยางล่ะคะ"

 

                ผู้ชายที่ไม่พร้อมให้แฟนตั้งท้อง แต่ตัวเองไม่ยอมใช้ถุงยาง โดยอ้างว่าอายเวลาซื้อหรือไม่มีความสุขเวลาใช้ บ่งบอกว่าเป็นคนขี้ขลาด ไม่ฉลาด ขาดความรับผิดชอบ และเห็นแก่ตัวค่ะ ถ้าเจอแบบนี้ สาว ๆ ควรคบต่อมั้ย...ถามใจดูนะคะ (อ้าว... ยุให้แตกแยกซะงั้น!! ฮ่า...)

 

 

  • "แต่ต่อให้ใช้ถุงยางก็ยังไม่มั่นใจ กลัวปัญหาถุงยางแตกรั่วค่ะ"

 

                ถ้าอย่างนั้น ก็ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือก็ได้ค่ะ ไหน ๆ ก็มีสุขร่วมเสพกันแล้ว (ฮ่า) เช่น ฝ่ายชายก็ใช้ถุงยาง ฝ่ายหญิงก็ใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งต่างก็มีประสิทธิภาพสูงกันทั้งคู่ถ้าใช้ถูกต้อง ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพลาด เช่น ถุงยางฉีกขาด หรือลืมกินยาคุม ก็ยังอุ่นใจได้ว่าการป้องกันของอีกฝ่ายยังป้องกันได้อยู่ หรือต่อให้พลาดพร้อม ๆ กันทั้งคู่ ก็ยังเหลือการใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นปราการด่านสุดท้าย

                เอาเซ่!... ป้องกันรัดกุมแน่นหนาขนาดนี้แล้ว ถ้าเด็กจะดื้อมาเกิดให้ได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไป ...ยอมใจค่ะ (ฮ่า)

 


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Pros and Cons of the Birth Control Pill. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-pill-pros-vs-cons-906927)
How to Pick the Birth Control Method That’s Right for You. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/how-to-pick-the-birth-control-method-thats-right-for-you/)
Birth Control Pros & Cons: Hormonal, Barrier, IUDs, Morning After. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-options#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป