ห่วงคุมกำเนิด (IUD)

เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ห่วงคุมกำเนิด (IUD)

ก่อนการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ คุณควรต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเอง ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรู้จักห่วงคุมกำเนิดหรือ IUD มากขึ้น

ห่วงคุมกำเนิดคืออะไร?

ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device) หรือเรียกสั้นๆ ว่า IUD เป็นอุปกรณ์พลาสติกชิ้นเล็กรูปตัว T มีขนาดประมาณหนึ่งในสี่ของมดลูก ใช้โดยการสอดเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดย IUD มี 2 ประเภท คือ ห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยสารทองแดง และห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ห่วงคุมกำเนิดทำงานอย่างไร?

ห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยสารทองแดงป้องกันการตั้งครรภ์ได้โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในโพรงมดลูกจนทำให้เชื้อของฝ่ายชายไม่สามารถผ่านไปผสมกับไข่ได้หรือสูญเสียความสามารถในการผสมพันธุ์ไป ส่วนห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำงานในลักษณะที่คล้ายกัน  นอกจากนี้ยังทำให้เมือกบริเวณช่องคลอดหนาขึ้นและทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้อสุจิปฏิสนธิกับไข่และฝังตัวบริเวณผนังมดลูกได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิดหนึ่งยังสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยลดปริมาณประจำเดือนได้ กรณีที่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการมีประจำมามากผิดปกติและมีอาการปวดท้องน้อยมากๆ

ห่วงคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเพียงใด?

IUD ทั้ง 2 ประเภทถือว่าเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพมากอย่างหนึ่ง จากสถิติพบว่าเพียง 1 จาก 100 คู่รักมีโอกาสตั้งครรภ์จากการใช้ห่วงคุมกำเนิดในปีแรกที่ใช้

โดย IUD จะมีผลในการคุมกำเนิดตั้งแต่สอดอุปกรณ์เข้าไปและทำงานได้เป็นเวลานาน อย่าง IUD แบบเคลือบด้วยสารทองแดงมีประสิทิภาพในการคุมกำเนิดได้นานถึง 10 ปี ส่วน IUD แบบเคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถทำงานได้นาน 3-5 ปีขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ด้วยประสิทธิภาพที่สามารถคุมกำเนิดได้อย่างยาวนานจึงเป็นสาเหตุให้ IUD ได้รับความนิยมมากสำหรับหญิงสาวที่ยังไม่พร้อมจะมีครอบครัว แม้ IUD จะทำงานได้นานแต่แพทย์ก็สามารถนำมันออกมาได้เสมอตามที่ผู้ใช้ต้องการ

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

ห่วงคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นหากมีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเพื่อป้องกัน โดยก่อนที่จะมีการใช้ห่วงคุมกำเนิดแพทย์จะตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อน หากพบว่ามีการติดเชื้อใดๆ ในขณะที่มีการใช้ห่วงคุมกำเนิด อาจจะส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานได้

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ (abstinence)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ห่วงคุมกำเนิด ดังนี้

  • มีเลือดออกกะปริดกะปรอยในช่วง 1-2 เดือนแรกที่เริ่มใช้
  • การใช้ IUD แบบเคลือบด้วยสารทองแดง อาจทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติและมีอาการปวดท้องน้อยมาก
  • การใช้ IUD แบบเคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยและมีระยะสั้นลง หรืออาจมีภาวะประจำเดือนขาด
  • การใช้ IUD แบบเคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อาจทำให้เกิดอาการ PMS ได้เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ และปวดคัดเต้านม

ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้น้อย

  • การหลุดของห่วงคุมกำเนิด ซึ่งห่วงคุมกำเนิดอาจหลุดได้โดยไม่ตั้งใจ โดยที่สาวๆ ไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่เกิดจากการหลุดของห่วงนั้นถือว่ามีน้อยมาก โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร คุณสามารถตรวจเช็คได้ว่า IUD ยังคงอยู่ในช่องคลอดหรือไม่ โดยการสอดนิ้วสัมผัส ซึ่งแพทย์จะอธิบายวิธีการตรวจเช็คด้วยตนเองที่ถูกต้องให้กับคุณได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หากคุณมีภาวะตกขาวผิดปกติ ปวดท้องน้อยมาก มีไข้ หรือระยะเวลาการใช้ห่วงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คุณจำเป็นต้องกลับไปพบแพทย์อีกครั้งในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากใช้ IUD ครั้งแรก ซึ่งแพทย์จะตรวจเช็คว่าห่วงยังอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่
  • การเจาะมดลูก มีความเสี่ยงน้อยมาก เพียง 1 ใน 1,000 เท่านั้นที่ห่วงอาจรอดผ่านผนังมดลูกได้ในขณะที่กำลังสอดห่วงเข้าไป
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน พบว่ามีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียในมดลูกระหว่างการใส่ห่วงคุมกำเนิด ซึ่งการติดเชื้อที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 20 วันแรกหลังจากการสอดห่วง

ห่วงคุมกำเนิดเหมาะกับใคร

การใช้ห่วงคุมกำเนิดเป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับผู้หญิงทุกคน อย่างไรก็ตาม IUD อาจไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีเงื่อนไขต่อไปนี้

  • หญิงที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรือผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์
  • หญิงที่มีปัญหาบริเวณช่องคลอด เช่น เป็นโรคหรือมีความผิดปกติบริเวณช่องคลอด และมีเลือดออกมากผิดปกติเมื่อเป็นประจำเดือน

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การใช้ห่วงคุมกำเนิดเหมาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงสาวหรือวัยรุ่น เนื่องจากมีระยะเวลาการคุมกำเนิดที่ยาวนาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการลืมทานยาเม็ดคุมกำเนิด ทั้งยังให้ประสิทธิผลในการคุมกำเนิดที่ดีมาก นอกจากนี้ ห่วงคุมกำเนิดแบบใหม่ๆ ที่ถูกผลิตออกมานั้นมีขนาดเล็กและมีปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่น้อยลง โดยจะเป็นทางเลือกที่ดีมากต่อหญิงสาวที่ยังไม่เคยมีบุตร

จะหาซื้อห่วงคุมกำเนิดได้จากที่ไหน?

แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้นที่จะสามารถสอดห่วงอนามัยให้กับคุณได้ ซึ่งสามารถทำได้ในช่วงที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตามแพทย์สามารถสอดห่วงในช่วงเวลาใดของรอบเดือนก็ได้ตราบที่คุณไม่ได้มีการตั้งครรภ์ โดยห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยสารทองแดงจะมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ส่วนห่วงคุมกำเนิดที่เคลือบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้นจะมีอายุการใช้งานที่ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ

หากคุณสนใจที่จะใช้ห่วงคุมกำเนิด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าการคุมกำเนิดชนิดนี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับคุณหรือไม่

ราคาของห่วงคุมกำเนิด

การใช้ห่วงคุมกำเนิดจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 12,000 – 25,000 บาท ซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการแพทย์และการตรวจติดตามซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามแผนประกันสุขภาพหลายแผนมีการครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการคุมกำเนิดและการรับบริการจากคลินิกหรือโรงพยาบาลของรัฐก็จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

เนื่องจากห่วงคุมกำเนิดให้ผลในการคุมกำเนิดเป็นเวลาหลายปี ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อครั้งเมื่อคำนวนแล้วจะมีค่าใช้จ่ายพอๆ กันกับการคุมกำเนิดแบบรายเดือนหรือแบบอื่นๆ อย่างการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือวงแหวนคุมกำเนิด เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/contraception-iud.html


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Intrauterine device (IUD). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/iud-coil/)
Which IUDs are the best? Benefits, risks, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323230)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม