เบอร์รี่ผลไม้ต้านโรค

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เบอร์รี่ผลไม้ต้านโรค

ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่มีมากมายหลายชนิด ที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ และราสป์เบอร์รี่ นอกจากนี้ยังมีเบอร์รี่ชนิดอื่นๆ อีก ได้แก่ บอยเซนเบอร์รี่ (Boysenberry) ฮัคเคิลเบอร์รี่ (Huckleberry) และ เอลเดอร์เบอร์รี่ (Elderberry)

เบอร์รี่เหล่านี้เป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และจัดว่ามี ค่าออแรค (ORAC Score ย่อมาจาก Oxygen Radical Absorbance Capacity) อยู่ใน 20 อันดับแรก ในบรรดาเบอร์รี่ทั้งสี่ชนิดนี้ บลูเบอร์รี่จัดว่ามีค่าออแรคสูงที่สุด สารอาหารสำคัญในเบอร์รี่คือ วิตามินซี กรดโฟลิก โพแทสเซียม และใยอาหาร รวมทั้ง สารพฤกษเคมีในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ ที่มีชื่อว่า สารโปรแอนโทไซยานิน (Proanthocyanin) และ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ทำให้ผลไม้เบอร์รี่มีสีจัดเข้ม ให้ประโยชน์ในการเพิ่มภูมิต้านทานการป้องกันโรคเรื้อรังมากมาย นอกจากนี้ยังมีแคลอรีต่ำอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลบลูเบอร์รี่มีสีฟลาโวนอยด์สีน้ำเงินที่เรียกว่า แอนโทไซยานินซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอนติออกซิแดนต์สูงเมื่อเทียบกับผักและผลไม้อื่นๆ แอนโทไซยานินในผลบลูเบอร์รี่ช่วยสร้างสารโรดอปซิน (Rhodopsin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญใบจอประสาทตาช่วยทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้ในที่มีแสงน้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองมาก นอกจากนี้บลูเบอร์รี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี ไลโอฟลาโวนอยด์ และเบต้าแคโรทีน ซึ่งให้ประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพตาเช่นกัน

เบอร์รี่ช่วยลดความเสี่ยงโรคเมแทบอลิกซินโดรม

เมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มโรคที่ประกอบด้วยความผิดปกติที่มักพบร่วมกัน ได้แก่ โรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ

การวิจัยใน พ.ศ. 2553 พบว่า การเสริมเบอร์รี่วันละ 150 กรัม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ตับและลดภาวะไขมันสะสมในตับ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease: NAFLD) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในคนอ้วนได้

ประโยชน์อื่นๆที่น่าสนใจของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

  • สารโปรแอนโทไซยานินในบลูเบอร์รี่และแครนเบอร์รี่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ จึงช่วยลดการติดเชื้อในระบบนี้ได้
  • การวิจัยพบว่า ผลไม้เบอร์รี่มีสารพฤกษเคมีอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า กรดเอลลาจิก (Ellagic Acid) ซึ่งอาจช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ผลไม้เบอร์รี่ที่แช่แข็งจะเสียคุณค่าของวิตามินซีเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มีผลเสียต่อสารอาหารอื่นๆ ใยอาหารหรือสารต้านอนุมูลอิสระ
  • สารโปรแทนโทไซยานินทนต่อความร้อน ฉะนั้นน้ำเบอร์รี่ที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์จึงไม่มีผลต่อสารโปรแทนโทไซยานินมากนัก

สารอาหารในเบอร์รี่

ปัจจุบันผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จัดเป็นอาหารฟังก์ชันซึ่งมีสารอาหารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีประโยชน์ในการป้องกันโรคตาเสื่อม หัวใจ มะเร็ง ไขมันสะสมในตับรวมทั้งเพิ่มภูมิต้านทาน ด้วยเหตุนี้ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จึงเป็นผลไม้ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันและติดอันดับซูเปอร์ฟู้ด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blueberries: Health benefits, facts, and research. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/287710)
Neuroprotective effects of berry fruits on neurodegenerative diseases. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4192974/)
The 8 Healthiest Berries You Can Eat. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/8-healthy-berries)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)