หญ้าแพรก (Bermuda grass)

หญ้าแพรก พืชริมทางที่มีสรรพคุณมากกว่าที่คุณคิด อ่านประโยชน์และวิธีนำหญ้าแพรกมาบริโภคได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หญ้าแพรก (Bermuda grass)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หญ้าแพรก คือ หญ้าที่เราเห็นทั่วไปตามริมถนน ไร่นา หรือพื้นที่ที่มีความชื้น เนื่องจากหญ้าแพรกเติบโตและแพร่กระจายได้ง่าย
  • หญ้าแพรกมีรากและลำต้นใต้ดินยาวได้ถึง 2 เมตร ลำต้นบนดินสามารถสูงขึ้นจากพื้นได้ประมาณ 1 เมตร มีใบยาว 2-16 เซนติเมตร แต่มักจะโค้งงอขนานไปกับพื้น จึงเห็นเป็นกลุ่มหญ้ารุงรังอย่างที่คุ้นตา
  • หากนำมาล้างให้สะอาด ต้มน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดการติดเชื้อในลำไส้
  • แต่ควรมั่นใจก่อนกินว่าหญ้าแพรกที่เก็บมานั้นปราศจากสารปนเปื้อนและยากำจัดศัตรูพืช หรืออาจเลือกกินเป็นอาหารเสริมแทนก็ได้
  • แม้หญ้าแพรกจะเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกมาก อาจต้องใช้การสวนล้างลำไส้เพื่อบรรเทาอาการ (ดูแพ็กเกจ Detox สวนล้างลำไส้ได้ที่นี่)

หลายคนคงคุ้นเคยกับหญ้าแพรกเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นพืชที่พบเห็นได้ง่ายในประเทศไทย แต่รู้หรือไม่ว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์มากมายกว่าที่คุณคิด คงเป็นเรื่องดีหากรู้วิธีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ

หญ้าแพรกคืออะไร?

หญ้าแพรกเป็นพืชในวงศ์ Poaceae (Gramineae) ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Cynodon dactylon (L.) Pers.

หญ้าแพรกมีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น Bermuda grass, Creeping-cynodon, Lawn grass, Wire grass แต่ในประเทศไทยมักเรียกกันว่า หญ้าแพรก หรือหญ้าแผด

หญ้าแพรกสามารถขึ้นได้ง่ายหลากหลายสภาพอากาศ แต่จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษเมื่ออยู่ในไร่นาที่มีความชื้น อาจขึ้นพร้อมต้นข้าว มีอายุยืนยาวข้ามปี

ลักษณะของหญ้าแพรก

หญ้าแพรกประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ มีลักษณะดังนี้

  • รากและลำต้นใต้ดิน หญ้าแพรกมีรากลึกลงใต้ดินได้มากกว่า 2 เมตร แต่ส่วนมากมักไม่เกิน 60 เซนติเมตร ลำต้นใต้ดินของหญ้าแพรกสามารถเจริญเติบโตได้ง่าย กระจายไปตามพื้น หากโตสักระยะ อาจสังเกตเห็นรากโผล่พ้นดิ้นขึ้นมาเล็กน้อย
  • ลำต้น สูงขึ้นจากพื้นดินได้ประมาณ 1 เมตร แต่จะโค้งงอขนานกับพื้น ลักษณะลำต้นเป็นข้อๆ บริเวณข้อที่พ้นดินขึ้นมาจะมีรากงอกออกมา ส่วนข้ออื่นๆ จะแตกกิ่งก้านเป็นใบออกมาแทน
  • ใบ งอกออกมาจากข้อตามลำต้น มีความยาว 2-16 เซนติเมตร กว้าง 3-5 มิลลิเมตร แต่ละข้อจะมีใบงอกออกมาเพียง 2 ใบเท่านั้น ลักษณะใบเรียบมีขนเนื้อบาง ปลายแหลม
  • ดอก ออกเป็นช่อ ประกอบไปด้วยช่อย่อยเล็กๆ 3-6 ช่อ ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ช่ออาจมีสีม่วง เทา หรือเขียว ช่อดอกย่อยมีดอกเล็กๆ เรียงขนานกัน 2 แถว หญ้าแพรกสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผล เมล็ดหรือผลของหญ้าแพรกมีขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตรเท่านั้น มีสีน้ำตาล ใช้ในขยายพันธุ์ได้

สรรพคุณของหญ้าแพรก

หญ้าแพรกเป็นพืชที่มีสรรพคุณมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ ดังนี้

  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานและกำลังคุมระดับน้ำตาลให้กลับสู่สมดุล
  • มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน หญ้าแพรกมีสารประกอบทางเคมีที่ชื่อ Cynodon dactylon protein fraction (CDPF) ซึ่งโปรตีนที่มีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านไวรัสและจุลินทรีย์ที่อาจเป็นภัยกับร่างกาย
  • ช่วยให้สุขภาพปากดีขึ้น หญ้าแพรกอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีฤทธิ์ช่วยลดบาดแผลในปาก ลดอาการเลือดออกตามไรฟันและเหงือก ช่วยให้สุขภาพฟันแข็งแรง รวมถึงลดกลิ่นปากได้อีกด้วย
  • บรรเทาอาการท้องผูก หญ้าแพรกเป็นยาระบายอ่อนๆ การดื่มน้ำหญ้าแพรกต่อสักระยะ จะช่วยลดความเสี่ยงที่ลำไส้จะทำงานผิดปกติ อาจใช้เป็นยาถ่ายพยาธิบางชนิดได้อีกด้วย
  • ช่วยปรับสมดุลเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่หลายใบ หญ้าแพรกถือเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลของประจำเดือนสำหรับผู้ที่เป็นอาการเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome: PCOS)
  • รักษาปัญหาผิว หญ้าแพรกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ สามารถนำหญ้าแพรกแบบผงมาผสมผงขมิ้นพอกบริเวณที่เป็นผื่น คัน กลาก โรคเรื้อน หรือโรคหิด
  • สร้างเม็ดเลือดแดง การดื่มน้ำหญ้าแพรกสามารถเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงหลงจากเป็นประจำเดือน หรือมีเลือกออกได้ รวมถึงยังเพิ่มระดับฮอร์โมนฮีโมโกลบิน (Hemogobin) ลดความเสี่ยงของโรคโลหิตจางได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม: ฟลาโวนอยด์คืออะไร?

อ่านเพิ่มเติม: ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

วิธีนำหญ้าแพรกมาบริโภค

หญ้าแพรกสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนและหลายวิธีการ ดังนี้

  • นำรากหญ้าแพรกมาล้างให้สะอาด สามารถนำไปต้มกับน้ำ จากนั้นกรองรากออก ใช้ดื่มเป็นยาได้
  • นำใบไปต้มกับน้ำและคั้นออกมาดื่มรักษาอาการติดเชื้อทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ
  • ปัจจุบันมีการนำหญ้าแพรกมาทำเป็นผง สามารถใช้ผงพอกตามผิวหนังได้
  • รับประทานหญ้าแพรกในรูปแบบอาหารเสริม
  • ใช้ใบเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารได้
  • สกัดน้ำหญ้าแพรก ใช้ผสมเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะพร้าว หรือน้ำผึ้ง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับหญ้าแพรก

หญ้าแพรกเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ง่าย ทนทานต่อทุกสภาพดิน แพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้อาจกระทบกับการปลูกพืชทางการเกษตร เช่น ข้าว

รวมถึงปัจจุบันมีการสารกำจัดวัชพืชจำนวนมาก อาจเป็นไปได้ที่หญ้าแพรกที่รับมาจะได้รับสารปนเปื้อน ฉะนั้นหากต้องการรับประทานหญ้าแพรก ควรปลูกเองตามบ้าน หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
องค์ความรู้เรื่องข้าว, หญ้าแพรก, (http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=18-2.htm).
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, หญ้าแพรก, (http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2134), 21 เมษายน 2556.
HealthBenefitstimes, Bermuda Grass health benefits and uses, (https://www.healthbenefitstimes.com/bermuda-grass/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)