กระถิน พืชผักสมุนไพรที่น่าสนใจและควรรู้

ประโยชน์ของกระถิน ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพและข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 11 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กระถิน พืชผักสมุนไพรที่น่าสนใจและควรรู้

พืชผักและสมุนไพรของไทยเรียกได้ว่าดีเลิศ ไม่แพ้ยาแพทย์แผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วย และพืชผักสมุนไพรของไทยก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด แต่สำหรับกระถิน ถือเป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในการนำมารับประทานอย่างมากทีเดียว แล้วกระถินแบ่งเป็นกี่ชนิด มีสรรพคุณและประโยชน์อะไรต่อสุขภาพบ้าง มีวิธีการกินการใช้อย่างไร รวมถึงข้อควรระวังต่างๆ ที่สำคัญ บทความนี้มีคำตอบให้ไปติดตามกันได้เลย

รู้จักกระถิน

กระถิน (Leucaena leucocephala) เป็นพืชตระกูลถั่วอีกหนึ่งชนิด ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลาง กระถินถือว่าเป็นไม้ที่โตได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะปลูกได้ในทุกๆ รูปแบบ แต่ความพิเศษนอกเหนือจากนี้คือ ถึงแม้ว่าภายในพื้นที่บริเวณนั้นจะมีโรคหรือมีแมลงระบาด รวมทั้งสภาพอากาศที่แย่ แต่กระถินก็สามารถที่จะเติบโตได้ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชนิดของต้นกระถิน

สำหรับต้นกระถินนั้นสามารถที่จะแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่

1. กระถินยักษ์

ได้นำเข้ามาปลูกเมื่อในประเทศไทยปี พ.ศ. 2509 ลักษณะของต้นกระถินยักษ์จะมีรูปแบบตามชื่อ คือ มีขนาดลำต้นที่สูงใหญ่ 15-20 เมตรแต่ก็สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยจะมีสายพันธุ์ของซัลวาดอร์และเปรู

2. กระถินพื้นเมือง

กระถินพันธุ์นี้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งจะเป็นพันธุ์ฮาวาย มีขนาดลำต้น 3-5 เมตร ซึ่งเล็กกว่ากระถินยักษ์มากพอสมควร ในเรื่องของการเจริญเติบโตนั้นก็สามารถที่จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน และเป็นกระถินที่ประเทศไทยนิยมปลูกกันมากอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

กระถินปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พลังงาน 128 กิโลแคลอรี่, คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม, โปรตีน 12 กรัม, ไขมัน 6.5 กรัม, ธาตุเหล็ก 3.0 กรัม, ฟอสฟอรัส 100 มิลลิกรัม, แคลเซียม 1,500 มิลลิกรัม, วิตามินเอ  17800 ui, วิตามินบี 64 มิลลิกรัม, วิตามินซี 64 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระถิน

สำหรับสรรพคุณของต้นกระถิน สามารถที่จะแบ่งได้ตามแต่ละส่วนของต้นกระถิน ดังนี้

1. เมล็ด เมล็ดของต้นกระถินถือเป็นยาอายุวัฒนะชั้นดี โดยอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสสูงทำให้เสริมสร้างกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับลมในลำไส้เป็นยารักษาระบบทางเดินอาหาร เมล็ดแก่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. ดอก ดอกกระถินมีรสมันช่วยบำรุงตับ และช่วยแก้โรคเกล็ดกระดี่ขึ้นตาได้

3. ฝัก ช่วยแก้อาการท้องร่วง ฝักอ่อนยังสามารถช่วยแก้อาการกระหายน้ำ และช่วยให้เจริญอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้บำรุงหัวใจได้อีกด้วย

4. ยอดอ่อน ยอดอ่อนของกระถินมีระดับฟอสฟอรัสสูงเช่นเดียวกันกับเมล็ดจึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก ภายในยอดอ่อนก็ยังมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5. ใบ ใบกระถินนั้นมีเบต้า-แคโรทีนอยู่มาก จึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้ และช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ใบและเมล็ดช่วยแก้โรคเบาหวาน ความดันโลหิต และช่วยแก้โรคท้องร่วง

ประโยชน์ของกระถิน

1. ใช้เป็นยา กระถินเป็นผักพื้นบ้านที่คนสมัยก่อนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะมีสรรพคุณเป็นยา โดยสามารถนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ และใช้ในการบำรุงดูแลผิว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีสุขภาพดี รวมถึงภายในเมล็ดของกระถินก็ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยป้องกันมะเร็งได้

2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ สำหรับต้นกระถินนั้นจะใช้ในส่วนของยอด ฝัก และใบในการนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ให้กับวัว ไก่ และแพะ

3. ใช้เพื่อการเกษตร กระถินถือว่าเป็นต้นไม้ที่อุดมไปด้วยประโยชน์ในการใช้เพื่อการเกษตร เพราะอย่างแรกกระถินสามารถที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักให้กับต้นไม้ได้ เนื่องจากภายในลำต้นนั้นจะมีไนโตรเจนและโพแทสเซียม จึงเป็นอาหารที่ดีให้กับต้นไม้ นอกจากนี้ ลำต้นของกระถินยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นด้ามจับให้กับอุปกรณ์ทางการเกษตร หรือสำหรับบางคนก็อาจจะนำมาทำเป็นน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในการไล่แมลงให้กับต้นไม้

4. ปลูกเป็นรั้วกันลมรอบบ้าน กระถินสามารถที่จะนำมาใช้ปลูกเป็นรั้วบ้านได้ โดยเฉพาะกระถินยักษ์ ซึ่งจะมีขนาดลำต้นใหญ่พอสมควร ดังนั้นหากนำมาปลูกเป็นแนวรอบรั้วบ้านก็จะช่วยทำแนวกันลมให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญไม่จำเป็นที่จะต้องดูแลอะไรมากมาย เพราะกระถินสามารถที่จะเติบโตเองได้ตามธรรมชาติ

5. ประโยชน์การใช้งานด้านอื่นๆ ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้แก่ การนำเปลือกของต้นกระถินมาใช้ในการย้อมสีเส้นไหม การนำเปลือกต้นกระถินมาทำให้เกิดเส้นใย แล้วนำไปใช้เป็นกระดาษ และในส่วนเมล็ดของต้นกระถินเองก็มีประโยชน์ไม่แพ้กัน เพราะสามารถที่จะนำเมล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับ อย่างเช่น สร้อยคอ และเข็มขัดได้

ไอเดียการกินและการใช้เพื่อสุขภาพ

กระถิน พืชผักรอบรั้วบ้านที่มากมายด้วยคุณประโยชน์ ไปดูกันว่าเราสามารถนำกระถินมาใช้เป็นไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพได้อย่างไรบ้าง

ไอเดียการกินเพื่อสุขภาพของกระถิน

1เป็นผักเครื่องเคียงจิ้มน้ำพริก

กระถิน นิยมนำมาใช้เป็นผักเครื่องเคียงจิ้มกับน้ำพริก ซึ่งก็มีประโยชน์และได้คุณค่าสารอาหารสูงไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะกระถินนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย และจะยังคงคุณค่าสูงมากเมื่อทานแบบสดๆ อีกด้วย ดังนั้นลองนำกระถินมาจิ้มกับน้ำพริกกันดู

2ผักเคียงยำปลากระป๋อง

ยำปลากระป๋อง สามารถรับประทานคู่กับผักสดได้หลากหลายชนิด โดยกระถิน ถือเป็นผักเคียงที่ให้ความกรุบกรอบ อร่อยเข้ากันดีมากทีเดียว เรียกว่าเป็นเมนูเพื่อสุขภาพที่ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน

3ทำไข่เจียวกระถิน

นอกจากไข่เจียวมะเขือยาว ไข่เจียวชะอมแล้ว ก็ยังมีไข่เจียวกระถินอีกด้วย ซึ่งวิธีทำก็เหมือนกับการทำไข่เจียวทั่วไป เพียงแต่ใส่ยอดกระถินลงไปด้วย เท่านี้ก็จะได้ไข่เจียวกระถินที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพแล้ว อีกทั้งยังนำมารับประทานร่วมกับน้ำพริกได้อย่างอร่อยสุดๆ อีกด้วย

4นำมารับประทานคู่กับยำ

กระถินสามารถนำมากินเป็นผักเครื่องเคียงกับยำได้ โดยจะให้รสชาติที่กลมกล่อมและเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้กับเมนูยำมากขึ้นไปอีก ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่าได้รับความนิยมมากทีเดียว โดยจะอร่อยและดีต่อสุขภาพมากแค่ไหน ก็ต้องลองหามากินกันดู หรือใครจะลองยำยอดกระถินกินก็ได้เช่นกัน

ไอเดียการใช้เพื่อสุขภาพของกระถิน

สำหรับไอเดียการนำกระถินมาใช้เพื่อสุขภาพ มีไอเดียดังต่อไปนี้

1. รักษาโรคเบาหวาน

เมล็ดกระถินสามารถที่จะนำมาชงเป็นชาเพื่อใช้ในการรักษาและควบคุมโรคเบาหวานได้ แต่ควรที่จะต้องเป็นเมล็ดกระถินแก่และผ่านการตากแห้งแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นนำมาบดและผสมกับน้ำ แล้วดื่มวันละ 1 แก้ว เป็นประจำทุกวัน

2. ใช้รักษาพยาธิ

เมล็กแก่ของกระถินสามารถนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลมได้ 

3. รักษาอาการนอนไม่หลับ

เมล็ดแก่และใบของกระถินสามารถช่วยแก้อาการนอนไม่ไหลับได้ 

4. แก้ร้อนใน

ยอดและฝักของกระถินสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดแก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้

5. ป้องกันภาวะโลหิตจาง

ธาตุเหล็กมีความสำคัญในการสร้างฮีโมโกลบิลในเม็ดเลือดและโดยส่วนใหญ่จะพบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ การขาดธาตุเหล็กจะทำให้เกิดโรคลหิตจางได้ ซึ่งยอดกระถินเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง ดังนั้นผู้ที่รับประทานมังสวิรัติควรบริโภคยอดกระถินเป็นประจำเพื่อช่วยป้องกันโรคโลหิตจางที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ข้อควรระวัง

  • กระถินสามารถดูดซึมซิลิเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้ในปริมาณมาก เมื่อเรารับประทานกระถินเข้าไปมากๆ หรือรับประทานเป็นประจำ อาจจะทำให้เกิดพิษขึ้นในร่างกายได้ เช่น อาการผมร่วงง่าย อาการทางผิวหนังผิวบวมแดงลอก
  • แม้ว่ากระถินจะมีประโยชน์ แต่ก็ควรระมัดระวังในการรับประทานใบกระถินเช่นกัน เพราะในส่วนเมล็ดและใบอ่อนของกระถินนั้น พบสารมิโมซีนในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารพิษจะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ต่อมไทรอยด์โต เกิดโรคคอหอยพอก มีอาการทางประสาท แต่สามารถลดสารนี้ลงได้จากการแช่น้ำหรือการต้มก่อนนำมารับประทาน
  • ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ จะต้องงดเว้นหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานยอดกระถิน เพราะมีกรดยูริคสูงอาจทำให้อาการของโรคเกาต์กำเริบหนักได้
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการบริโภคกระถิน เนื่องจากกระถินที่มีปริมาณโพแทสเซียม (potassium) สูง ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมเกิน (hyperkalemia) ซึ่งจะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น

ได้ทราบกันไปแล้วว่าประโยชน์ของกระถินมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะสรรพคุณทางยาจากการนำมาใช้รับประทาน อย่างไรก็ตาม การรับประทานกระถินก็มีข้อควรระวังตามที่ได้แจ้งไปแล้ว ดังนั้นหากต้องการรับประทานกระถินให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ควรบริโภคตามความเหมาะสมและถ้ามีโรคประจำตัวควรระมัดระวังให้มากขึ้น


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Poonam Sethi and Pushpa R. Kulkarni, Leucaena leucocephala A nutrition profile, United Nations University (http://archive.unu.edu/unupress/food/8F163e/8F163E08.htm)
Medicinal Plant in Singapore, Leucaena leucocephala (http://ntutcm.wikifoundry.com/page/Leucaena+leucocephala)
อนุสรา พงค์จันตา, สวนสาธารณสุขรักษ์สมุนไพร, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)