ประโยชน์ของเครื่องเทศ แบบไทยๆ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ของเครื่องเทศ แบบไทยๆ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

เครื่องเทศอยู่ติดครัวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล นอกจากช่วยเสริมรสชาติในอาหารให้อร่อยแล้ว การเติมเครื่องเทศลงไปในอาหารยังช่วยเสริมสุขภาพและขับไล่โรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย เพราะในเครื่องเทศมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นการมีเครื่องเทศติดครัวไว้จึงไม่เสียหลายอะไร สำหรับประโยชน์ของแต่ละชนิดจะมีอะไรบ้าง สามารถดูได้ตามด้านล่างนี้

ประโยชน์ของเครื่องเทศ

พริกไทย

พริกไทย ใช้ได้ทั้งเมล็ดหรือนำไปป่นละเอียด โดยใส่เพื่อแต่งกลิ่นอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว ใช้ในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกงและแกงจืด ไม่ว่าจะเป็น แกงเผ็ด แกงพะแนง แกง มัสมั่น แกงป่า เป็นต้น สำหรับสรรพคุณ ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ปวดฟัน และช่วยเจริญอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พริกแห้ง

พริกแห้งส่วนใหญ่จะใช้ในน้ำพริกแกงทุกอย่าง ทั้ง แกงป่า แกงส้ม แกงพะแนง แกงมัสมั่น แกงฉู่ฉี่ นอกจากนี้ยังนำมาคั่วใส่เป็นเครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม หรือโจ๊ก อีกทั้งยังเอามาใส่ในพริกกับเกลือเป็นพริกเกลือรสอร่อยอีกด้วย สำหรับสรรพคุณทางยา ช่วยในการขับเสมหะ ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร และช่วยเจริญอาหาร

ขิง

ขิงมีประโยชน์สำหรับทุกเพศทุกวัย และถือว่าเป็นเครื่องเทศอันดับหนึ่งของระบบอายุรเวท โดยขิงมีฤทธิ์ช่วยให้โพรงจมูกโล่งและป้องกันอาการหวัดคัดจมูก สามารถนำขิงมาประกอบอาหารหรือชงน้ำขิงดื่มแบบไม่ยุ่งยากแต่ประโยชน์เยอะ

ขมิ้น

เครื่องเทศสีเหลืองทองมีชื่อเสียงโด่งดังโดยมีสารเคอร์คิวมินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์แรง ช่วยซ่อมแซมและป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ได้ นอกจากนี้ขมิ้นยังมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อโรค สามารถเติมขมิ้นลงในแกง หรือคลุกกับข้าวก็ได้ทั้งนั้น

อบเชย

เครื่องเทศรสชาติหวานชนิดนี้ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและยังทำให้ร่างกายอบอุ่น จึงเหมาะมากกับหน้าหนาวเป็นพิเศษ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย

ยี่หร่า

การใช้ยี่หร่าต้องทุบก่อนจึงจะหอม ใช้ในการหมักเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาว มักใช้ร่วมกับเมล็ดผักชี โดยนำมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้มีกลิ่นหอม แล้วนำไปป่นละเอียดผสมในเครื่องแกง ได้ทั้ง แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงพะแนง หรือใช้ในการแต่งกลิ่นอาหารประเภทขนมปัง ขนมเค้ก สำหรับสรรพคุณจะช่วยในย่อย ขับระดูขาว ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังเป็นส่วนผสมในยาหอมอีกด้วย

ลูกผักชี

ในการนำลูกผักชีไปปรุงอาหารต้องคั่วเสียก่อน แล้วโขลกในขณะร้อนๆให้ละเอียด สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องแกงของแกงเผ็ดอย่าง พะแนง แกงเขียวหวาน และมัสมั่น มักใช้ร่วมกับเมล็ดยี่หร่า ส่วนสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้อาการปวดท้อง ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และขับปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระวาน

ใบกระวานใช้ฉีกเอาก้านกลางออกแล้วใส่เป็นชิ้นๆ เพียงเล็กน้อย ใช้ในการดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ หรือนิยมใช้ลอยน้ำแกง เช่น แกงมัสมั่น ส่วนลูกกระวาน คั่วก่อนแล้วบีบให้เปลือกแตก ใช้แต่เม็ดใน ดับกลิ่นคาว และทำให้แกงมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริกแกง อย่า แกงเผ็ด แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ แกงพะแนง เป็นต้น สรรพคุณทางยา ใช้ในการขับลม บำรุงเลือด บำรุงธาตุ และแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

กานพลู

ใช้แกะเอาเกสรออกก่อนจึงคั่ว เพื่อให้มีกลิ่นหอมและเผ็ด หากใช้ใส่ในพริกแกงต้องป่นให้ละเอียดก่อน เช่น แกงมัสมั่น หรือจะใช้ทั้งดอก ใส่ในต้มเนื้อก็ได้ สำหรับสรรพคุณ ช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดฟัน

มหาหิงค์

มหาหิงส์เป็นสมุนไพรมีรสชาติคล้ายกระเทียมและมีกลิ่นแรงมาก จึงควรใช้แต่น้อย ประมาณ1/8 ช้อนชาเพื่อจะได้ไม่กลบรสชาติอาหาร สำหรับฤทธิ์หลักของมหาหิงคุ์ คือ ช่วยขับลม


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Benefits of Culinary Herbs and Spices. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30651162)
10 Delicious Herbs and Spices With Powerful Health Benefits. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/10-healthy-herbs-and-spices)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป