ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD

ประโยชน์ของการนวดไทยและสิ่งที่ควรระวัง

รู้ความแตกต่าง นวดไทย นวดน้ำมัน นวดประคบ ประโยชน์ของการนวด และสิ่งที่ควรระวังเพื่อให้นวดได้อย่างปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประโยชน์ของการนวดไทยและสิ่งที่ควรระวัง

ในประเทศไทย การนวดมีจารึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นศาสตร์และศิลป์ในการรักษาโรคแบบไทย เพื่อฟื้นฟูและรักษาระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียนนวดจำเป็นต้องรู้วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเป็นพื้นฐานที่สำคัญ จึงจะทำให้การรักษาโรคหรือบรรเทาอาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น

นวดไทย-นวดน้ำมัน ต่างกันอย่างไร?

นวดไทยจะเน้นใช้นิ้วมือในการกดจุดตามแนวเส้นในร่างกาย เน้นการรักษาเป็นหลัก เพื่อบังคับเลือดและลมจากตำแหน่งหลอดเลือดแดงใหญ่ (จุดเปิดประตูลม) ส่งไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายต่างๆ ส่วนนวดน้ำมันจะใช้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติเข้าไปกระตุ้นระบบต่างๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อการผ่อนคลาย บรรเทาอาการเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นิยมใช้ฝ่ามือในการนวด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

น้ำมันที่ใช้นวดมีอะไรบ้าง?

ส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำมันนวดที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น จากพืชที่มีกลิ่นหอม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ลาเวนเดอร์ ผิวมะกรูด ตะไคร้ ผิวส้ม หรือกลิ่นจากยูคาลิปตัส อาจจะใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา หรือน้ำมันมะกอกแทนได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูง

ถ้าไม่สะดวกใช้น้ำมันจากธรรมชาติ หรือใช้แล้วมีอาการแพ้ แนะนำให้ใช้เบบี้ออยล์แทน ซึ่งหาซื้อง่าย ปลอดภัย และอ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย ทั้งนี้น้ำมันต่างๆ มีคุณสมบัติที่คล้ายกัน ช่วยลดการเสียดสีบริเวณผิวหนังเวลานวด

นวดแล้วจำเป็นต้องประคบร้อนหรือไม่?

การนวดไม่จำเป็นต้องทำควบคู่กับการประคบร้อนเสมอไป แต่หากประคบด้วย ความร้อนก็จะช่วยลดอาการระบมและช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี โดยสามารถประคบร้อนก่อนหรือหลังนวดก็ได้

หากประคบก่อนนวด จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่ต้องลงน้ำหนักในการนวดมาก จึงลดการระบมได้ ส่วนการประคบหลังการนวด นอกจากจะช่วยลดอาการระบมได้แล้ว ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้ด้วย หากไม่สามารถหาลูกประคบได้ สามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบแทนได้เช่นกัน

เด็ก คนท้อง คนแก่ นวดได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง?

การนวดในกลุ่มเด็ก คนท้อง คนแก่ มีข้อควรระวังแตกต่างกัน ดังนี้

  • การนวดในเด็ก ส่วนใหญ่จะเน้นการลูบเบาๆ บริเวณมือ ลำตัว ขาและฝ่าเท้า เป็นการปลอบประโลม ช่วยกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสุขภาพที่ดี ข้อระวังคือไม่ควรนวดหนักและนวดบริเวณเดิมนานจนเกิดไป เพราะอาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
  • สตรีตั้งครรภ์ ควรรับการนวดจากผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม การเรียนการสอนที่ได้รับมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข และควรเลือกสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ไม่ควรนวดในระยะ 1-12 สัปดาห์แรกระหว่างตั้งครรรภ์ เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตรมากที่สุด
  • ผู้สูงอายุ นิยมนวดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยฟื้นฟูระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ควรนวดแบบเบามือ และควรขยับข้อต่อต่างๆ อย่างระมัดระวัง เช่น ข้อต่อสะโพก ข้อเข่า ทั้งนี้ควรนวดทั่วทั้งตัวและสังเกตความผิดปกติภายนอกร่างกาย รอยช้ำ บาดแผลต่างๆ ไปด้วยขณะนวด

เวลานวดแล้วมีเสียงดังกร๊อบ! อันตรายหรือเปล่า?

การนวดจะทำให้เลือดและลมในร่างกายไหลเวียนสะดวกขึ้น คล้ายกับการจัดกระดูก อาจทำให้มีเสียงลั่นตามข้อต่างๆ ไม่เป็นอันตราย แต่ไม่ควรบิด ดัด สลัดข้อเอง จนทำให้เกิดเสียง (เหมือนกับการหักกระดูกนิ้วมือ) เพราะอาจทำให้ข้อหลวม เนื่องจากผิวของกระดูกเสียดสีกันเอง และหากกระดูกลั่นเองบ่อยครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นวดหนักมีผลเสียต่อกล้ามเนื้ออย่างไร?

สิ่งแรกที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนหลังจากนวดหนักๆ คือ เกิดอาการระบมหลังการนวด ปวดกล้ามเนื้อ ไม่อยากเคลื่อนไหว อาการระบมดังกล่าวสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 วัน หากอาการรุนแรงอาจมีไข้ร่วมด้วยได้ นอกจากนี้อาจทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด ซึ่งร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บโดยการสร้างพังผืดขึ้น ทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ จนกล้ามเนื้อบริเวณนั้นแข็งตึง และเกิดอาการปวดตามมา

ดังนั้นการนวดที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้แรงนวดมาก เพียงแค่ต้องรักษาใหถูกจุด ถูกกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการระบมได้

การนวดช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

การนวดสามารถให้ประโยชน์แก่ระบบต่างๆ ของร่างกายได้ดังต่อไปนี้

  1. ช่วยให้เกิดการหลั่งสารเอนโดรฟิน ช่วยลดอาการปวดและผ่อนคลายความเครียด ทั้งของกล้ามเนื้อและของผู้ที่ถูกนวด
  2. ทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระตุ้นการขับเหงื่อและไขมันที่เป็นของเสียออกมา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นและกระชับกว่าเดิมอีกด้วย
  3. ช่วยให้กล้ามเนื้อไม่แข็งตึง คลายพังผืดใต้ผิวหนัง ลดการเกร็งกล้ามเนื้อ ลดความเมื่อยล้าและอาการปวดจากการทำงานหรือการออกกำลังกายหนัก ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้นด้วย
  4. ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ช่วยลดการคั่งของกรดแลคติก ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวด ในขณะเดียวกัน เลือดก็นำสารอาหารใหม่ๆ เข้ามาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยทำให้การเผาผลาญในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย
  5. การนวดทำให้ระบบประสาทถูกกระตุ้น ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงาน โดยเฉพาะอาการของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 

ข้อแนะนำและข้อควรระวังการนวด

แม้การนวดจะมีประโยชน์หลายด้าน แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ดังนี้

  1. สตรีมีครรภ์ ไม่แนะนำให้นวดในท่านอนคว่ำ และไม่ควรนวดบริเวณท้องหรือท้องน้อย
  2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ควรนั่งพักให้ความดันเข้าสู่สภาวะปกติก่อน แล้วจึงรับการนวด เพราะหากนวดขณะความดันสูงอาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือภาวะอุดตันในเส้นเลือดได้
  3. หลังจากนวดแล้วไม่ควรทำงานหนัก ยกของหนัก หรือออกกำลังกาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นได้เต็มที่
  4. หลังนวดควรงดรับประทานอาหารแสลงที่จะทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าวเหนียว หน่อไม้ ของหมักดอง เครื่องในสัตว์ แอลกอฮอล์
  5. หากมีอาการระบม ควรประคบร้อนหลังจากการนวดไปแล้ว 24 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น เพราะอาการจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน

ผู้มีภาวะเหล่านี้ ไม่ควรนวด

  1. ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคที่เกี่ยวข้องกับเลือด เช่น โรคเส้นเลือดเปราะ เลือดออกกระปริบกระปรอย หรือโรคเลือดแข็งตัวผิดปกติ โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ รวมไปถึงผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับข้อ ข้ออักเสบ ข้อเคลื่อน ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด กระดูกแตก หัก ปริ ร้าวกระดูกที่ยังไม่ติด
  2. ผู้ที่มีไข้เกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือมีไข้พิษ ไข้อีสุกอีใส ไข้งูสวัด การนวดจะเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย อาจทำให้ไข้เพิ่มสูงขึ้นได้
  3. ผู้ที่เป็นที่มีการติดต่อทางผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน โรคลมพิษ หรือผู้ที่มีบาดแผลเปิด และโรคติดต่อทางการหายใจ เช่น วัณโรค หากไม่มั่นใจว่าโรคประจำตัวที่เป็นอยู่สามารถนวดได้หรือไม่ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รวมร้าน นวดตัว ตามแนว BTS และ MRT, (https://hdmall.co.th/c/clinics-and-hospitals-for-massage-services-nearby-bts-mrt-bangkok-thailand).
นวดสปามีอะไรบ้าง? ช่วยอะไร?, (https://hdmall.co.th/c/recommended-massage-and-spa).
นวดแผนไทย เพื่อสุขภาพ มีประโยชน์ยังไงบ้าง? , (https://hdmall.co.th/c/thai-massage).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนวด...กับสตรีตั้งครรภ์
การนวด...กับสตรีตั้งครรภ์

ระหว่างการตั้งครรภ์สามารถนวดได้ไหม หรือต้องรอให้คลอดก่อนแล้วจึงนวดได้ ข้อควรระวังในการนวดระหว่างตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ

ทำความรู้จักการนวดแผนไทย ประโยชน์ของการนวดไทย และลิสต์ผู้ที่เข้าข่ายไม่ควรนวด

อ่านเพิ่ม