ไทเก๊ก ดีต่อสุขภาพอย่างไร?

รวมประโยชน์จากการฝึกไทเก๊ก ที่มาของไทเก๊ก มาดูว่าใครควรออกกำลังกายด้วยศาสตร์นี้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ไทเก๊ก ดีต่อสุขภาพอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไทเก๊ก เป็นศิลปะการต่อสู้ซึ่งมีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกความแข็งแรง ผ่านการสร้างสมดุลของจิตใจและลมปราณในร่างกาย
  • ไม่เฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ คนวัยอื่นๆ ก็สามารถฝึกไทเก๊กได้
  • การฝึกไทเก๊กช่วยบรรเทาอาการโรคอัลไซเมอร์ ช่วยปรับสภาวะอารมณ์ของผู้เป็นโรคซึมเศร้า ช่วยฝึกการทำงานร่วมกันของระบบประสาทในผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ความแตกต่างของไทเก๊กกับโยคะ ได้แก่ ถิ่นกำเนิด การเน้นความถูกต้องของการออกท่าทาง แต่การเคลื่อนไหวร่างกายทั้ง 2 แบบมีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือ ลดความเครียด ยืดกล้ามเนื้อ ปรับสภาวะอารมณ์
  • รำไทเก๊กมีกระบวนท่าค่อนข้างช้าและไม่ซับซ้อน ผู้ที่คิดว่าท่าโยคะดูยากเกินไปหรืออาจทำให้บาดเจ็บ สามารถเริ่มฝึกรำไทเก๊กก่อนได้ แล้วค่อยไปฝึกโยคะได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ

ไทเก๊ก คือ หนึ่งในศาสตร์การกำลังกายซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย สามารถพบเห็นการรำไทเก๊กได้บ่อยในบริวเวณสวนสาธารณะ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ

ความเป็นมาของไทเก๊ก

ไทเก๊ก หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า ไท่จี๋เฉวียน (tai ji quan) ภาษาอังกฤษมักเรียกว่า Tai Chi นอกจากนี้ ไทเก๊กยังถูกเรียกได้อีกหลายชื่อและสำเนียง เช่น ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไทชิ ไทจี๋

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไทเก๊กเป็นศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของประเทศจีนที่คิดค้นขึ้นมาในอารามของนักพรตลัทธิเต๋า ในมณฑลเสฉวน เมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อน

ไทเก๊กไม่ใช่การรำแบบที่คนไทยหลายคนพูดติดปาก แต่เป็นศาสตร์มวยป้องกันตัวอีกแขนงหนึ่งต่างหาก หากจะเรียกการเคลื่อนไหวแบบไทเก๊กให้ถูกต้อง การเรียกว่า มวยไทเก๊ก จะถูกต้องกว่า

ไทเก๊กถูกคิดค้นขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝนความแข็งแรงและรักษาอาการบาดเจ็บของร่างกาย ผ่านการสร้างความสมดุลของจิตใจและลมปราณในร่างกาย เพื่อให้สามารถเข้าไปรักษาส่วนที่ไม่แข็งแรงหรืออยู่ในสภาวะบาดเจ็บให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม

นอกจากนี้ไทเก๊กยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฝึกสามารถแยกจิตออกจากอิทธิพลทางอารมณ์ที่เป็นตัวการทำให้เกิดความรู้สึกวุ่นวายได้ ไม่ว่าจะเป็น ความหงุดหงิด ความรำคาญ ความโกรธ ความโลภ ความหยิ่งผยอง

ประโยชน์ของไทเก๊ก

ไทเก๊กมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตหลายอย่าง จึงเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มผู้คนทั่วไปที่อยากออกกำลังกาย และกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อบำบัดอาการบาดเจ็บภายใน

ประโยชน์ของไทเก๊ก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ลดความเครียด

การฝึกไทเก๊กต้องอาศัยการจับจังหวะลมหายใจเข้าออกขณะเคลื่อนไหว ทำให้ผู้ที่มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวลภายในจิตใจต้องเปลี่ยนจากการคิดแต่เรื่องที่ทำให้เครียดมาเป็นการตั้งสมาธิอยู่กับลมหายใจแทน

การฝึกอย่างสม่ำเสมอจึงอาจเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถผลัดเปลี่ยนเรื่องราวที่คิดในแต่ละวันจนเกิดเป็นความเครียดมาเป็นการทำสมาธิอยู่กับตนเองแทนได้มากขึ้น

2. ปรับสภาวะอารมณ์

การฝึกไทเก๊กช่วยปรับสภาวะอารมณ์ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล

เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ มีการจับจังหวะลมหายใจเข้าออก สามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนและสารที่ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า อีกทั้งระบบประสาทของร่างกายยังจะได้รับการฟื้นฟูด้วย

ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เครียดจนนอนไม่หลับ การฝึกรำไทเก๊กยังจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น ไม่ต่างจากการออกกำลังกายที่ทำให้หลายๆ คนนอนหลับได้ง่ายและสบายกว่าเดิม

3. เสริมระบบความจำ

การฝึกไทเก๊กเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากมีส่วนช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ทำงานเกี่ยวกับความจำกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การฝึกไทเก๊กยังเป็นการฝึกสมาธิ ลดอาการอยู่ไม่นิ่งหรือสมาธิสั้นได้ด้วย

4. ลดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

การบำบัดอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อถือเป็นจุดเด่นอีกอย่างของการรำไทเก๊กก็ว่าได้ โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรัง หากผู้ป่วยฝึกไทเก๊กเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยบรรเทาอาการนี้ลงได้

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ขา การรำไทเก๊กยังช่วยเปิดชีพจรสำคัญบริเวณข้อต่อสะโพกกับกระดูกขาส่วนบน ทำให้ผู้ป่วยสามารถหัดเดิน ก้าวขา ยกเข่า ได้อย่างมั่นคงกว่าเดิมด้วย

5. ลดอาการของโรคพาร์กินสัน

การฝึกไทเก๊กจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) สามารถฝึกการทรงตัวด้วยตนเองได้ ช่วยลดความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้ม อีกทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

6. ฝึกความทำงานของระบบประสาท

การฝึกไทเก๊กสามารถช่วยให้ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ที่มีปัญหาด้านการทำงานของระบบประสาท ได้ฝึกให้ระบบประสาทในร่างกายทำงานสัมพันธ์กันมากขึ้น

เพราะการเคลื่อนไหวจะต้องมีกระบวนท่าที่แยกซ้าย-ขวา บน-ล่าง ใน-นอก แนวขวาง-แนวตั้ง วงใน-วงนอก ระหว่างอวัยวะตั้งแต่มือไปจนถึงเท้า

ผู้ที่มีปัญหาทำงานประสานกันของระบบประสาทได้ฝึกไทเก๊ก จึงจะได้ฝึกสมดุล ทำให้ร่างกายทำงานสัมพันธ์ร่วมกันได้ดิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ด้วยความที่การฝึกไทเก๊กใช้การเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ กระบวนท่าไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยที่สภาพร่างกายไม่แข็งแรง อ่อนเพลียง่าย จึงยังสามารถฝึกรำไทเก๊กได้ ซึ่งจะยิ่งช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดี และทำให้รู้สึกสดชื่น กะปรี้กะเปร่ามากขึ้นด้วย

โยคะกับไทเก๊ก ออกกำลังแบบไหนดีกว่ากัน?

ผู้คนมักคิดว่า การออกกำลังกายแบบโยคะมักจะเหมาะกับผู้คนวัยหนุ่มสาว หรือผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อให้มีรูปร่างที่สวยงามกระชับ ส่วนการรำไทเก๊กเหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อมากกว่า แต่นั่นไม่เป็นความจริง

การออกกำลังกายแบบโยคะกับไทเก๊กอาจแตกต่างกันในส่วนของถิ่นกำเนิดและเป้าหมาย โดยโยคะมีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดียตอนเหนือและเน้นความสำคัญในส่วนของความถูกต้องของท่าแต่ละท่า

แต่ไม่ว่าจะเป็นกระบวนท่าโยคะหรือไทเก๊ก การเคลื่อนไหวร่างกายของทั้ง 2 ศาสตร์ล้วนมีจุดมุ่งหมายสำคัญต่อตัวผู้ฝึกเหมือนกัน ได้แก่

  • ปรับสภาวะอารมณ์ให้คงที่มากขึ้น
  • ลดระดับความเครียด
  • ทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยยืดเส้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้แข็งแรงยืดหยุ่นดีขึ้น

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอายุน้อยหรืออายุมาก เป็นเพศหญิงหรือชาย ก็สามารถฝึกไทเก๊กได้ ไม่ควรจำกัดตัวเองว่าการออกกำลังกายชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น

นอกจากนี้ หากใครคิดว่ากระบวนท่าของโยคะดูยากหรืออาจทำให้บาดเจ็บ คุณสามารถเริ่มต้นยืดกล้ามเนื้อโดยฝึกไทเก๊กก่อนได้ เพราะเป็นกระบวนท่าที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ช่วยยืดกล้ามเนื้อได้ดี

การรำไทเก๊กมีกี่รูปแบบ?

ในอดีต มีหลายสำนักในจีนที่ออกแบบกระบวนท่าไทเก๊กซึ่งแตกต่างกันไป และยังเหมาะสมต่อตัวผู้ฝึกแตกต่างกันด้วย

รูปแบบการรำไทเก๊กแบ่งออกได้ 5 รูปแบบ ได้แก่

  1. ไทเก๊กแบบหยาง เป็นการฝึกไทเก๊กที่กระบวนท่าจะช้า การเคลื่อนไหวเน้นเป็นไปอย่างผ่อนคลาย เหมาะสำหรับผู้เพิ่มเริมต้นฝึกรำไทเก๊ก
  2. ไทเก๊กแบบอู๋ เป็นการฝึกไทเก๊กที่กระบวนการฝึกเนิบช้า เรียบง่าย รัดกุม ไม่มีการเคลื่อนไหวยืดเส้นที่กว้างหรือยืดมากเกินไป
  3. ไทเก๊กแบบเฉิน เป็นการฝึกไทเก๊กที่ผสมผสานทั้งกระบวนท่าแบบเคลื่อนไหวเร็วและช้า อาจเป็นรูปแบบโยคะที่ยากสำหรับมือใหม่
  4. ไทเก๊กแบบซุน มีรูปแบบการเคลื่อนไหวคล้ายกับแบบเฉิน แต่อาจมีกระบวนท่าเตะ ต่อย ชก หมอบ ประกอบด้วย อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการฝึกไทเก๊กเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของร่างกาย
  5. ไทเก๊กแบบหาว เป็นรูปแบบการฝึกไทเก๊กที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวจะเน้นฝึกให้กระบวนท่าอยู่ในท่าที่ถูกต้องและฝึกความแข็งแรงของอวัยวะภายในมากกว่า

ตัวอย่างท่าไทเก๊กที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

กระบวนท่าไทเก๊กแบ่งออกได้ถึง 84 กระบวนท่า มีฐานสำคัญของการฝึกอยู่ที่ขา จุดสำคัญอยู่ที่เอว และแต่ละท่ามีความซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป รวมถึงประโยชน์ต่อร่างกายที่ต่างกันด้วย

ตัวอย่างท่าไทเก๊ก

1. ท่ายืนไท่จี๋ หรือท่าเคลื่อนไหวเป็นน้ำพุ

เริ่มจากยืนตรง หายใจเข้าพร้อมยกแขนสองข้างขนานกับพื้นดิน ข้อศอกงอเล็กน้อย ไม่ต้องเหยียดแขนตรง ฝ่ามือคว่ำลงขณะยกแขน ไม่ยกและไม่เกร็งไหล่ เมื่อหายใจเข้าจนสุดแล้ว ให้หายใจออกพร้อมๆ กับย่อตัวลง ทิ้งน้ำหนักข้อศอกกับฝ่าเท้า ทำแบบนี้ทั้งหมด 6 ครั้ง

กระบวนท่านี้มีประโยชน์เกี่ยวกับการรักษาระดับความดันโลหิต ปัญหาโรคหัวใจ อาการตับอักเสบ

2. ท่าระบำสายรุ้ง

เริ่มจากยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะพร้อมหายใจเข้า จากนั้นหายใจออกพร้อมหมุนคอไปทางซ้าย ฝ่ามือขวาวางกลางกระหม่อมเหนือศีรษะขึ้นไป แขนซ้ายยื่นออกไปด้านซ้าย ให้อยู่ระดับเดียวกับไหล่ พร้อมหันหน้าไปทางเดียวกัน น้ำหนักตัวทิ้งไปทางขวาเล็กน้อย

จากนั้นหันหน้าไปทางขวาแล้วทำแบบเดียวกันให้ครบ 6 ครั้ง

ท่านี้ช่วยยืดเส้นลดอาการปวดเมื่อยบริเวณเอว อาการเจ็บหลัง ลดไขมันส่วนเกินซึ่งผลมาจากการยืดเส้นกึ่งกลางลำตัว และยกแขนซึ่งเป็นการเผาผลาญไขมันอย่างหนึ่ง

สองท่าที่กล่าวไปข้างต้นเป็นเพียงแต่ส่วนหนึ่งของกระบวนท่าช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้จากการรำไทเก๊ก นอกจากนี้ยังมีท่าอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บ อาการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ ให้ดีขึ้นได้อีก เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการมึนงง ข้อต่อไหล่อักเสบ อาการปวดตามซี่โครง อาการหอบหืด

ข้อควรระวังในการรำไทเก๊ก

เมื่อฝึกไทเก๊กใหม่ๆ คุณอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือรู้สึกไม่คุ้นเคยการออกกำลังกายอย่างช้าๆ จนอาจรู้สึกหงุดหงิดในช่วงแรก แต่หากฝึกต่อเนื่องไปเรื่อยๆ คุณจะชินไปกับลักษณะกระบวนท่าเหล่านี้เอง

หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการฝึกไทเก๊ก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะเริ่มออกกำลังกายเพื่อความปลอดภัย

การฝึกไทเก๊กมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ไม่ใช่ต่อร่างกายภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการช่วยฟื้นฟูสุขภาพใจ สติ สมาธิให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สถาบันยุทธศาสตร์ ทางปัญญาและวิจัย มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ไทเก๊กเพื่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง (http://164.115.27.97/digital/files/original/b3f6c5af34440c82d18e9a5b9ad94825.pdf), ธันวาคม 2558.
สุวิดา ธรรมมณีวงศ, ไทติชี่กง 18 ท่า (https://sirinajit.files.wordpress.com/2011/06/d_tai-chi-qi-gong.pdf), 25 พฤษภาคม 2552.
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ, การออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊ก (Taichi) (http://www.chulapd.org/th/treatment/detail/11/), 18 กันยายน 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)